Posts

Showing posts from September, 2019

Binocular

Image
ลมหนาวใกล้มาเยือน อีกไม่นานท้องฟ้าจะปลอดโปร่ง ดวงดาวจะกลับมาเกลื่อนฟ้าหลังอาทิตย์ตกดิน หากอยู่ไกลจากตัวเมืองไร้มลภาวะทางแสง  จุดสว่างเหมือนมณีหลากสีพราวเต็มตา ดวงเล็กดวงใหญ่ต่างกันไป บางพื้นที่สว่างคล้ายเมฆบาง บางพื้นที่มืดมิดไร้ดาว เราสามารถซึมซับความงามของท้องฟ้าได้โดยตาเปล่า แต่หากคุณมีกล้องสองตาอยู่ในเป้เรียกว่าโชคเข้าข้างอย่างยิ่ง กล้องสองตาหรือ Binocular จะให้ภาพมุมกว้างและมองเห็นดาวได้ลึกและชัดกว่าตาเปล่า เวลาส่องดูแถบใจกลางทางช้างเผือกเราจะเห็นดาวระยับเหมือนเม็ดทรายสะท้อนแวววาวบนพื้นผ้ากำมะหยี่สีเข้ม ความงามแบบนี้จะไม่เห็นจากกล้องดูดาวที่มุมแคบกว่ามาก แถมด้วยขนาดที่เล็กทำให้เราพาติดตัวไปได้ทุกที่ ต่างกับกล้องดูดาวที่อย่างน้อยรถต้องเข้าถึง ภาพจำลองกระจุกดาวลูกไก่ ภาพซ้ายเวลามองจากกล้องสองตา ภาพขวาจากกล้องดูดาว จะเห็นว่าภาพจากกล้องดูดาวพอดีฟิลด์เกินไปทำให้ ไม่เกิดภาพกระจุกดาวเด่นออกมาจากดาวพื้นหลัง เนื่องจากกล้องสองตาให้ภาพมุมกว้างราว 7-8องศา ทำให้มีวัตถุบนท้องฟ้าหลายตัวที่ดูได้ด้วยกล้องสองตาถึงจะงาม เช่น กระจุกดาวลูกไก่ ในกลุ่มดาววัว Kemble’s Cascade ในกลุ่มดาว...

Eyepiece

Image
เปรียบเทียบขนาดเลนส์ตา 2", 1.25" และกล้องสองตา เลนส์ตาตัวใหญ่ที่สุดในรูปขนาดราวกระป๋องน้ำอัดลม เมื่อเราซื้อกล้องดูดาวเป็นชุดมักจะมีเลนส์ตาแถมมาให้ 1-2 ตัว โดยมากจะเป็นกำลังขยายปานกลางเอาไว้ดูเนบูล่าและกำลังขยายสูงขึ้นมาหน่อยไว้ดูดาวเคราะห์ เมื่อเราเริ่มจะสนใจหาเลนส์ตาชุดใหม่มาเสริมหรือเปลี่ยนให้คุณภาพดีขึ้น จะพบว่าการเลือกเลนส์ตาเป็นเรื่องที่ยากกว่าเลือกกล้องดูดาวเสียอีก กล้องดูดาวจะมีชุดเลนส์หรือกระจกทำหน้าที่รวบรวมแสงมาที่จุดโฟกัส จากนั้นก็จะเป็นหน้าที่ของเลนส์ตาขยายแสงให้ออกมาเป็นภาพในระยะและกำลังขยายที่ต้องการ แต่เลนส์ตานั้นมีความหลากหลายมาก ราคาเริ่มตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลายหมื่น เลนส์ตาบางรุ่นก็เหมาะกับกล้องดูดาวที่ f สูง และเราไม่สามารถลองได้ทุกตัว ทำให้การเลือกเลนส์ตาเป็นเรื่องยาก ตัวอย่าง Specification ของเลนส์ตา Televue Nagler สิ่งที่ต้องรู้เบื้องต้น Barrel  หรือ ขนาด จะขึ้นอยู่กับโฟกัสเซอร์หรือที่ปรับความชัดซึ่งปัจจุบันที่นิยมจะมีขนาด 1.25 นิ้วและ2 นิ้ว หากกล้องดูดาวใช้โฟกัสเซอร์เป็นขนาด 2 นิ้ว ก็จะใช้ได้กับเลนส์ตาทั้งสองขนาด แต่ต้องมีอแดปเตอร์หากต้...

Telescope for visual observer 2

Image
"กล้องดูดาว"  อุปกรณ์ที่คนถามถึงกันมากที่สุด บทความนี้จะเน้นเรื่องข้อดีและข้อเสียของกล้องดูดาวแต่ละประเภท และแนะนำการเลือกสำหรับดูด้วยตา จากประสบการณ์ของผมเอง แต่ก่อนอื่นจำเป็นต้องปูพื้นเรื่องกล้องดูดาวเล็กน้อยเผื่อบางท่านที่ยังไม่ทราบ แต่ไม่ลงรายละเอียดเพราะมีคนเขียนไว้มากแล้ว กล้องดูดาวหรือ Telescope แยกประเภทหลักๆได้ 3 ประเภท แบบหักเหแสงหรือ Refracter แบบสะท้อนแสงหรือ Reflector บางครั้งก็เรียกว่า Newtonian เพราะคนที่คิดคือไอแซค นิวตัน แบบสุดท้ายเรียกกันว่าแบบ Cassigrain คล้าย reflector แต่จะสะท้อนแสงกลับมาด้านท้ายกล้อง ไม่ใช่ที่หัวกล้องเหมือน Reflector กล้องดูดาว 3 แบบจากซ้ายไปขวา Refracter, Reflector และ Cassigrain Refracter  หรือแบบหักเหแสง กล้องดูดาวแบบนี้เป็นแบบดังเดิมตั้งแต่สมัยกาลิเลโอ การดูแลไม่ยุ่งยาก ตัวเลนส์ถูกยึดอยู่ใน Len Cell มั่นคงแข็งแรง ไม่ต้องกังวลเรื่องการขยับเคลื่อนของตัวเลนส์เวลาขนย้าย บางยี่ห้อมีรุ่นที่ตัวเนื้อแก้วและวิธีการเคลือบผิวเลนส์ดีกว่า จะมีตัวอักษร ED หรือ APO อยุ่ในชื่อรุ่น ภาพที่ได้จะสว่าง ใส คมชัด แต่ต้องแลกด้วยค่าตัวที่มากกว่าปกติ ...

Telescope for Visual observer

Image
ดาว เนบูล่า หรือกาแลกซี่บนท้องฟ้าอยู่ไกลแสนไกลจนเกินคิด นับเป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่แม้จะไกลขนาดเป็นหมื่นเป็นแสนเท่าจากอายุเฉลี่ยของมนุษย์ เรายัง “มองเห็น” ได้ด้วยตาเปล่า หรืออาศัยอุปกรณ์ช่วยอย่างกล้องสองตาหรือกล้องดูดาว หน้าที่ของกล้องดูดาวไม่ใช่ขยายภาพแต่เป็นการรวบรวมอนุภาคแสงจางๆให้มีความเข้มข้นมากขึ้น เพื่อที่เราสามารถมองเห็นได้ไม่ว่าด้วยเรติน่า ฟิลม์ถ่ายรูปหรือ CCD สมัยใหม่ เพราะอย่างนี้ขนาดของเลนส์หรือกระจกที่ใหญ่ขึ้นก็จะรวบรวมแสงได้มากขึ้น ภาพที่ได้ก็ยิ่งสว่างง่ายกับการมอง ส่วนกำลังขยายนั้นมาจากเลนส์ตา ยิ่งใช้เลนส์ตาที่ทางยาวโฟกัสสั้นลง กำลังขยายยิ่งมากขึ้นและผลที่ตามมาคือภาพจะมืดลงไปด้วย ว่ากันโดยทฤษฎี กำลังขยายสูงสุดที่ใช้ได้กับกล้องดูดาวจะอยู่ที่ 50 หรือ 60 เท่าของขนาดเลนส์(หน่วยเป็นนิ้ว)และขึ้นกับคุณภาพของกล้องดูดาวด้วย ดังนั้นหากเราต้องการกำลังขยายที่มากขึ้นเพื่อดูวัตถุชิ้นเล็ก ขนาดกล้องกล้องดูดาวก็ต้องใหญ่ตามไป จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องการขนย้ายเพราะขนาดกับน้ำหนักจะมากตาม Borg 101ED (ซ้าย) และ GSO 8" f5 (ขวา) เช่นกล้องดูดาวหักเหแสง Borg 101ED มีขนาดเลนส์ 4 นิ้ว มีก...

Eyepiece FOV

Image
ก่อนอื่นเราต้องรู้จักค่าและชื่อเรียกของตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณเสียก่อน Telescope lens or mirror diameter : ขนาดกระจกหรือเลนส์ของกล้องดูดาว หน่วยเป็นมิลลิเมตร Telescope focal length : ทางยาวโฟกัสของเลนส์หรือกระจกหลัก หน่วยเป็มมิลลิเมตร Focal ratio : อัตราส่วนระหว่าง focal lenght/lens diameter เช่นกล้องดูดาวหักเหแสงขนาดเลนส์ 80มม ทางยาวโฟกัส 640มม, F ratio : 640/80 = f8  Eyepiece focal length : ทางยาวโฟกัสของเลนส์ตา AFOV -Apparent field of view : เป็นตัวเลขที่ได้มาจากผู้ผลิต ขึ้นกับการออกแบบเลนส์ตาตัวนั้น วิธีคำนวณกำลังขยายและขอบเขตการมองเห็น Maginify  (กำลังขยาย) =  Telescope Focal Length/EP Focal Length Field of View  (FOV) =  AFOV/Magnification ไม่ว่ากล้องดูดาวจะเป็นแบบไหนก็ใช้วิธีคำนวณแบบเดียวกัน เช่นกล้องดูดาว GSO แบบสะท้อนแสงขนาดกระจก 8” หรือ 200 มม ทางยาวโฟกัส 1000มม f5 เลนส์ตา Meade plossel 24mm ทางยาวโฟกัส 24มม AFOV ตามผู้ผลิตแจ้งคือ 52 องศา เมื่อจับคู่กันจะได้กำลังขยาย = 1000/24 =  42เท่า , FOV = 52/24 =  1.2 ...