Posts

Showing posts from December, 2019

NGC869, NGC884 : Perseus Double Cluster

Image
“ …the color, the winding patterns as the dense cores of the cluster thin out slowly to merge finally into the star-rich background of the galaxy itself.” “…สีและลวดลายที่สลับซับซ้อน จากใจกลางกระจุกดาวที่อัดแน่น ละลายหายไปกับดาวนับล้านดวงของทางช้างเผือก”   Walter Scott Houston, Deep-Sky Wonder, Sky&Telescope Publishing 1999 บนทางช้างเผือกระหว่างกลุ่มดาวแคสสิโอเปียกับกลุ่มดาวเพอร์เซอุส ท่ามกลางดาวระยิบมีรอยฟุ้งของแสงที่เด่นชัดที่สุดอยู่จุดหนึ่ง นี่คือ “กระจุกดาวคู่เพอร์เซอุส” หรือ “Perseus Double Cluster” กระจุกดาวที่เป็นที่รู้จักดีคู่หนึ่งบนท้องฟ้า กระจุกดาวคู่เพอร์เซอุสประกอบด้วยกระจุกดาวเปิดสองตัวคือ NGC869 และ NGC884 เป็นที่รู้จักอย่างน้อยก็ตั้งแต่ 130 ปีก่อนคริสตศักราช  Hipparchus และ Ptoleme อธิบายว่าคือ Nebula ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลว่าเมฆหมอก เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่าทำไมถึงไม่ถูกรวมเข้าไปใน Messier catalog ทั้งที่เป็นที่รู้จักแล้วในยุคนั้น ทั้งสองห่างจากโลกประมาณ 7500 ปีแสง และอายุยังน้อย NGC884 อายุประมาณ 5.6 ล้านปี ขณะที่ NGC869 ผู้พี่อายุราว 8...

Messier 78 : Ghost Nebula

Image
เนบูล่าเป็นกลุ่มกาซและฝุ่นในอวกาศ เราจะมองเห็นต่อเมื่อมีแหล่งกำเนิดแสงอย่างดาวฤกษ์อยู่ใกล้เคียง หากพลังงานมีความเข้มข้นมากพอจะสามารถกระตุ้นให้อะตอมของกาซแตกตัวและเรืองแสงขึ้นได้ เราเรียกเนบูล่าแบบนี้ว่าเนบูล่าเรืองแสง เนบูล่ากลุ่มนี้มักจะมีสีออกไปทางแดงเพราะมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก แต่หากพลังงานไม่พอที่จะกระตุ้นให้กาซเรืองแสง แสงก็จะกระเจิงหรือสะท้อนออกมา เนบูล่ากลุ่มนี้จะจางกว่าแบบแรกและมักจะมีสีโทนฟ้า กระบวนการกระเจิงของแสงนี้จะคล้ายกับที่เรามองเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้า แต่หากไม่มีแหล่งกำเนิดแสงอยู่ใกล้เคียงก็เป็นกลุ่มกาซที่มืดและเย็นลอยในอวกาศเรียกกันว่าเนบูล่ามืด ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วไปเต็มทางช้างเผือกของเรา แมสซายเออร์ 78 เป็นเนบูล่าชนิดสะท้อนแสงที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้า ค้นพบโดยปิแอร์เมอร์แชนท์ในปี 1780 ข้อมูลในปัจจุบันระบุว่าเอ็ม 78 เป็นส่วนหนึ่งของ Orion Nebula Complex ที่อยู่ห่างออกไปจากเราประมาณ 1600ปีแสงหรือ 1.51368454 × 10^16 กิโลเมตร ตำแหน่งอยู่ไม่ไกลนักจากเข็มขัดของนายพรานหรือดาวไถที่เรารู้จัก ที่จริงเอ็ม78 ห่างจากดาวซีต้าโอไรออนนิส (ζ Ori)หรืออัลนิทัคแค่สององศาครึ่ง...

Messier 77 : Cetus A

Image
ซีตัสเป็นกลุ่มดาวขนาดใหญ่ที่พาดผ่านเส้นศูนย์สูตรฟ้า ดาวในกลุ่มพอเห็นแต่ไม่ค่อยเด่นทำให้ต้องใช้เวลามองหา ซีตัสเป็นสัตว์ประหลาดลูกผสมที่มีหัวเป็นสัตว์บกและลำตัวกับหางเป็นปลา รูปร่างของกลุ่มดาวมีส่วนหัวและลำตัวแยกจากกันและมีคอที่ออกจะยาวสักหน่อย บริเวณคอของซีตัสมีดาวสว่างแมกนิจูด 4 ชื่อเดลต้าเซติ (δ Ceti) เด่นอยู่หนึ่งดวง ห่างออกไปแค่หนึ่งองศาทางตะวันออกของเดลต้าเซติก็คือกาแลกซี่ที่แมสซายเออร์ให้หมายเลข 77 ถูกค้นพบเมื่อปี 1780 โดยปิแอร์ เมอร์แชนท์ผู้ช่วยของแมสซายเออร์ ได้รับคำอธิบายที่ยังเป็นข้อกังขาทั้งจากแมสซายเออร์และเฮอร์เชลล์ว่าเป็นกระจุกดาวที่มีเนบูล่า จนกระทั่งในปี 1850 ลอร์ดโรสได้ระบุว่าเป็นกาแลกซี่แบบกังหัน ลักษณะพิเศษของเอ็ม 77 คือเป็นกาแลกซี่แบบก้นหอยที่มีใจกลางสว่างกว่าปกติประมาณ 100 เท่า นักดาราศาสตร์เรียกกาแลกซี่แบบนี้ว่ากาแลกซี่เซเฟิร์ต ที่เป็นแบบนี้เพราะเอ็ม 77 มีหลุมดำยักษ์เป็นใจกลาง ยืนยันได้จากที่เป็นแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุกำลังค่อนข้างแรง ทำให้เอ็ม 77 รู้จักกันอีกชื่อว่า “ซีตัส เอ” หรือแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุ 3C71 เอ็ม 77 อยู่ใกล้กับเดลต้าเซติทำให้หาตำแหน่งได้ง...