Posts

Showing posts from January, 2020

NGC281 : Pacman Nebula

Image
ปลายมกราคม ค่อนข้างช้าไปสักหน่อยแล้วสำหรับออบเจคในกลุ่มดาวแคสสิโอเปีย ทำให้ต้องรีบดูตั้งแต่หัวค่ำ เพราะตัวเอ็มเริ่มตะแคงข้างแล้ว ไม่ถึงสององศาทางทิศตะวันออกของดาวสีแดงสด “ชีดาร์” ที่เป็นยอดแหลมสูงของตัวเอ็ม ผมพอเห็นแสงฟุ้งจางในกล้องเล็งรอบดาวดวงหนึ่งที่มีหมายเลข HD5005 NGC281 เนบิวล่าที่คล้ายตัวละครในวีดีโอเกมส์ “แพคแมน” ภาพในเลนส์ตากำลังขยายต่ำจากกล้องสะท้อนแสงขนาด 8 นิ้ว มองเห็นท้องฟ้าสว่างขาวจากหมอกควันสะท้อนแสงไฟจากอำเภอบ้านหมี่ แต่ก็ยังมีดาวสว่างน้อยใหญ่จำนวนหนึ่งพอให้หายเหงา มีแสงจางสีขาวที่ฟุ้งรอบดาวดวงหนึ่งและเมื่อเทียบรูปแบบดาวกับแผนที่ทำให้มั่นใจว่าไม่ผิดตัว ผมเปลี่ยนเลนส์ตาเพิ่มกำลังขยาย สีท้องฟ้าเข้มขึ้น คอนทราสดีขึ้น มองเห็นดวงจางอีก 2 ดวงที่เป็นสมาชิกของระบบดาว HD5005 ถ้ามองเหลือบจะเห็นดาวเพิ่มอีกสองสามดวงและแสงฟุ้งที่มาจากกระจุกดาวที่จางและเล็กจิ๋ว IC1590  เมื่อใช้ฟิลเตอร์ UHC คอนทราสดีขึ้นมาก เนบิวล่าสว่างขึ้นเป็นวงกลมรอบ HD5005 ลองใช้ผ้าทึบแสงคลุมศรีษะเพื่อกันแสงรอบด้านที่เข้าตา ทำให้เห็นรายละเอียดเพิ่มและดูง่ายขึ้น เนบิวล่ามีลักษณะตัวอักษร "J...

Messier 42 : Orion Nebula

Image
ภาพสเก็ทช์กลุ่มดาวนายพรานโดยผู้เขียน ในกลุ่มดาวนายพราน “บีเทลจูส” กำลังอยู่ในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต แต่บริเวณที่เรียกกันว่า “ดาบ” หรือ “Sword” ใต้เข็มนายพราน กลับเป็นแหล่งของดาวเคราะห์เกิดใหม่ที่สว่างไสวที่สุดจุดหนึ่งบนท้องฟ้า “A Single Misty Star” อาจแปลว่า “ดาวหมอก” เป็นคำอธิบายดาวดวงกลางของ “ดาบ” ดาวดวงนี้ดูฟุ้งแปลกกว่าดวงอื่น เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจว่ากาลิเลโอผู้เปิดศักราชดาราศาสตร์ยุคกล้องดูดาวก็ไม่ได้กล่าวถึงเนบิวล่าตัวนี้เลย “The Great Nebula” หรือ “เนบิวล่าสว่างใหญ่” เนบิวล่าที่น่าจะรู้จักดีที่สุดในโลก การค้นพบจะให้เกียรติกับ Nicolas Peiresc ในปี 1611 และปี 1656 Cristian Huyghens เป็นคนแรกที่ให้ความสนใจกับใจกลางเนบิวล่าที่มีดาวสว่างหลายดวงเป็นพิเศษ ในปี 1769 ชาร์ล แมสซายเออร์ใส่หมายเลข 42 ให้วัตถุชิ้นนี้ในรายการชุดแรกของเขา Sword of Orion เมื่อดูจากกล้องดูดาวที่กำลังขยายต่ำ "ดาวหมอก" หรือ M42 คือจุดที่เป็นฝ้าฟุ้งกลางภาพ ภาพสเก็ทช์โดยผู้เขียน หากใช้กล้องสองตาหรือกล้องดูดาวขนาดเล็กที่กำลังขยายต่ำส่องดู จะพบว่าบริเวณ “ดาวหมอก” ของนายพรานเต็มไปด้...

NGC2244, NGC2237 : Rosette Nebula

Image
ภาพสเก็ทช์เนบูล่าโรเซ็ทท์โดยผู้เขียน กลุ่มดาวม้ายูนิคอร์นหรือโมโนเซรอสเป็นกลุ่มดาวจางมองเห็นค่อนข้างยาก แต่ก็เป็นแหล่งเพาะฟักตัวอ่อนดาวฤกษ์ขนาดใหญ่จุดหนึ่งบนฟ้า เรียกว่า Monoceros Nebula Complex ทั้งยังมีเนบูล่า กระจุกดาว จำนวนมาก เช่นเนบูล่าโคนและกระจุกดาวต้นคริสตมาส เนบูล่ากุหลาบหรือ Rosette Nebula ก็เป็นหนึ่งในนั้น ตัวเนบูล่ามีขนาดใหญ่และซับซ้อน ประกอบด้วย กระจุกดาว NGC2244 อยู่ตรงกลาง ล้อมด้วย NGC ถึง 4 ตัวคือ 2237 2238 2239 และ 2246 โดยทั่วไปเราจะใช้ชื่อ NGC2244 สำหรับกระจุกดาวที่ใจกลางและ NGC2237 หมายถึง Rosette Nebula ทั้งตัวซึ่งกินบริเวณราวหนึ่งองศา กระจุกดาว NGC2244 ที่ใจกลางกลางมองเห็นได้ง่ายจากกล้องสองตาและกล้องเล็ง เป็นดาวสว่างเรียงตัวยาวและแคบสว่างเด่นชัด เนบูล่าที่เป็นรูปดอกกุหลาบจางมากวอลเตอร์ สก็อตบอกว่าสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าและกล้องสองตาที่ดีได้ใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม สำหรับการสังเกตด้วยกล้องดูดาว เนื่องจากมีเนบูล่าขนาดใหญ่ทำให้ต้องใช้กล้องดูดาวที่ทางยาวโฟกัสไม่มากเกินไป เริ่มจากกำลังขยายต่ำ ใช้เลนส์ตามุมกว้างและฟ้าต้องดีพอ เพื่อให้ได้มุมมองที่กว้างที่สุด ...

Messier 45 : Pleiades

Image
เอ็ม45 สเก็ทช์โดยผู้เขียน จากภาพที่เห็นในกล้องดูดาว อากาศยามโพล้เพล้กำลังสบาย ดวงดาวเริ่มส่องประกายพราวฟ้า คุณตาชี้ให้หลานชายดูดาวกระจุกหนึ่งบนฟ้าระหว่างเดินเล่น “เห็นดาวลูกข่อยมั๊ย” หลายชายแหงนมองฟ้าคอตั้งบ่าแต่ก็ยังมองไม่เห็น “ไหนครับ?” คุณตาฉวยโอกาสกำหมัดต่อยคางหลานเบาๆ “ดาวลูกข่อยก็ต่อยลูกคางไง” "ตางลูกข่อย" หรือดาวลูกข่อยที่คุณตาตั้งใจแปลงคำให้สอดคล้องกับ "ดาวลูกไก่" สว่างโดดเด่นมองเห็นด้วยตาเปล่า เป็นที่รู้จักอย่างน้อยก็ 750 ปีก่อนคริสตศักราชจากมหากาพย์โอดิสซี่ มีการอ้างถึงในคัมภีร์ ตำนาน บทกวีและนิทานปรำปราในหลากหลายวัฒนธรรม ทั้งยุโรป ฮิบรู ตะวันออกกลาง อินเดีย จีน ญี่ปุ่น อัฟริกา บอเนียว อบอริจิน อินเดียนแดง แอซแทก มายัน โพลินีเชี่ยน ฯลฯ นอกจากนั้นยังพบว่าเป็นสัญลักษณ์ฤดูเกษตรกรรม ฤดูดอกไม้บาน เป็นส่วนของเทศกาลเฉลิมฉลองในบางที่ เชื่อมโยงกับโลกแห่งความตายในบางแห่ง เกี่ยวข้องกับทิศของปิระมิดของชาวแอซแทก วิหารในกรีกและอื่นๆอีกมาก เรียกว่ามนุษยชาติรู้จักและให้ความสำคัญกับกระจุกดาวลูกไก่มาตั้งแต่โบราณ ชื่อเรียกมีหลากหลายตามวัฒนธรรมเช่นดาวลูกไก่ในไทย ก...

NGC2264 : Christmas tree Cluster

Image
บนทางช้างเผือกจางๆระหว่างเท้าของพอลลักซ์หรือดาวซาย เจอมิโนรุมกับเขายูนิคอร์นหรือดาว 13 โมโนเซโรติส มีกระจุกดาวที่สว่างจนมองเห็นด้วยตาเปล่า ด้วยกล้องสองตาจะพบว่ามีรูปร่างเหมือนต้นคริสตมาสหรือหัวลูกศร นี่คือกระจุกดาว NGC2264 หรือ Christmas tree cluster ค้นพบโดยวิลเลี่ยม เฮอร์เชลล์เมื่อปี 1784 ในยุคปัจจุบันพบว่า NGC2264 มีทั้งกระจุกดาวขนาดใหญ่ที่เรียกกันว่ากระจุกดาวต้นคริสตมาส มีเนบูล่าขนจิ้งจอกหรือ Fox Fur และเนบูล่ารูปกรวยที่มีชื่อเสียง Cone Nebula เป็นเนบูล่ามืดรูปกรวยอยู่บนยอดของต้นคริสมาตพอดี วิลเลี่ยม เฮอร์เชลล์บันทึกไว้ในปี 1785 เมื่อกลับมาสังเกต NGC2264 อีกครั้ง พบว่ามีเนบูล่าจางมากสีน้ำนม ผมเคยดูผ่านกล้องดูดาวหักเหแสง 5" TOA130 ตัวเนบูล่าต้องใช้ฟิลเตอร์ UHC เป็นตัวช่วยและมองเห็นแค่แสงฟุ้งรอบดาวแบบในภาพสเก็ตช์ แต่ก็เป็นไปได้ว่าหากกล้องดูดาวตัวใหญ่พอและท้องฟ้่าเป็นใจ เราอาจมองเห็นทั้ง Fox Fur และ Cone ได้ด้วยกล้องดูดาวขนาด 13 นิ้วและฟิลเตอร์ UHC เหมือนรายงานบนเวบไซด์ Cloudynight ( คลิก ) ในการศึกษาในช่วงคลื่นอินฟราเรดพบว่า NGC2264 เป็นแหล่งอนุบาลดาวฤกษ์จำนวนมาก ภาพจา...