Posts

Showing posts from February, 2020

Messier 1 : Crab Nebula

Image
“รัชสมัยจื้อเหอแห่งราชวงศ์ซ่ง วันจี๋โฉ่ว พระจันทร์แรม 5 ค่ำ ดาวผู้มาเยือนปรากฎขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของถวนกวน ในเวลาเช้ามืด.... ” บันทึกจากสมัยราชวงศ์ซ่งในจีน เมื่อเทียบกลับมาเป็นวันสากลจะตรงกับ วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1054 ดาวถวนกวนตรงกับ ซีต้า ทอรี่ ดาวผู้ว่าเยือนก็ตือซุปเปอร์โนว่าที่ก่อให้เกิด แมสซายเออร์ 1 ซึ่งตรงกับการคำนวณย้อนกลับเพื่อหาวันที่เกิดโนว่าจากการขยายตัวของเอ็ม 1 ตัวนี้พอดี “ดาวผู้มาเยือน” สว่างจนมองเห็นในท้องฟ้าตอนที่ยังโพล้เพล้อยู่ 23 วัน ค่อยหรี่แสงลงแต่ยังคงอยู่เป็นเวลา 653 วัน หรือเกือบสองปี นอกจากบันทึกจากเมืองจีนแล้ว ยังพบเบาะแสในญี่ปุ่น เกาหลี ตะวันออกกลางและในอเมริกาเหนือเกี่ยวกับซุปเปอร์โนว่าในครั้งนั้น ที่ปัจจุบันรู้จักในชื่อ SN1054 แมสซายเออร์ 1 หรือ NGC1952 เป็นซากจากการระเบิดของดาวฤกษ์อยู่ตรงดาวซีต้า ทอรี่หรือปลายเขาวัวฝั่งทางทิศใต้ แค่หนึ่งองศาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พบเป็นครั้งแรกโดย จอนห์ เบวิส นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวอังกฤษในปี 1731 เบวิสเพิ่มออบเจคชิ้นนี้ลงไปในแผนที่ท้องฟ้าของเขาที่ชื่อ Uranographia Britanica อีก 27 ปีต่อมาชาร์ล แมสซายเ...

Iota Orionis

Image
อิโอต้าโอไรออนนิสเป็นระบบดาวสามดวง อิโอต้าโอไรออนนิสเอ เป็นดวงหลักสว่างใจกลางภาพ อิโอต้าโอไรออนนิสบี เป็นติ่งเล็กทางด้านบน อิโอต้าโอไรออนนิสซี จากห่างออกไปแถวหนึ่งนาฬิกา ภาพสเก็ทช์โดยผู้เขียน ใครที่เคยดูเอ็ม 42 แบบมุมกว้างผ่านกล้องดูดาว โดยเฉพาะในคืนที่ฟ้าดี มักจมลงไปในความงามของเนบิวล่าจนไม่ทันสังเกตดาวทางทิศใต้ที่อยู่ใกล้ส่วนปลายของปีกเนบิวล่าฝั่งที่เรียกว่า “ดาบ” ดาวสีฟ้าสดใสที่มีค่าความสว่างแมกนิจูด 3 ดวงนี้คือ “อิโอต้า (ι) โอไอรอนนิส” อัญมณีที่ถูกลืม อิโอต้า โอไรออนนิส หรือในชื่อภาษาอาราบิค “Na’ir Al Saif” คำนี้แปลว่า “(ดาว)สว่างที่สุดในดาบ” คำแปลตรงกับความจริง เพราะดาวดวงนี้อยู่ตรงปลายดาบ มองเห็นด้วยตาเปล่าและสว่างที่สุดในดาบของนายพราน คนตาไวจะเห็นว่าดาวดวงนี้มีเนบิวล่าเห็นเป็นแสงฟุ้งโดยรอบ อิโอต้าโอไรออนนิสเป็นระบบดาวหลายดวงที่งดงามตัวหนึ่ง มีดาวดวงน้อย อิโอต้า โอไรออน บี ใกล้ชิดติดกับดวงหลักเป็นภาพที่น่ารักระยะแยก 11 อาร์คเซคั่น (ฟิลิปดา) ในขณะที่อิโอต้า โอไรออน ซีเป็นดาวจางสีแดง อยู่ค่อนข้างไกลไปทางทิศตะวันออก 50 อาร์คเซคั่น ใกล้ๆกัน เราจะมองเห็นดาวคู่ที่ดูง...

IC405 : Flaming Star Nebula

Image
AE Aurigae คือดาวตรงลูกศรชี้ ดาวสว่างเป็นกลุ่มทางทิศตะวันออกเฉียงใต้คือ 16, 17,18, 19 Aur มองเห็นด้วยตาเปล่าเป็นแถบฟุ้งใจกลางกลุ่มดาวออริก้า ดูรายละเอียดได้ที่แผนที่ด้านล่าง ภาพสเก็ทช์ โดยผู้เขียน Flaming Star เป็นเนบิวล่าในกลุ่มดาวออริก้าที่ดูค่อนข้างยาก ทำให้ไม่น่าสนใจนักสำหรับการดูด้วยตา แต่ดาวสว่างในเนบิวลาที่ชื่อเออี (AE) ออริเก กลับน่าสนใจเสียจนยากจะมองข้าม เรื่องเริ่มต้นที่บริเวณโอไรออนเนบิวล่าเมื่อสองล้านห้าแสนปีก่อน เวลานั้นระบบดาวทราเปสเซี่ยมที่ใจกลางโอไรออนเนบิวล่ายังไม่กำเนิดขึ้นมา มีดาวฤกษ์สองดวงกระเด็นออกไปจากเนบิวล่า ด้วยความเร็วกว่า 100 กิโลเมตรต่อวินาทีในทิศทางตรงกันข้าม ดวงหนึ่งไปทางทิศเหนือ ตอนนี้อยู่ในกลุ่มดาวออริก้าหรือสารถีและเป็นที่มาของบทความนี้ “เออี  (AE)  ออริเก” อีกดวงไปทางทิศใต้ในกลุ่มดาวโคลอมบาหรือนกพิราบคือ “มิว (μ) โคลอมเบ” ไม่มีใครทราบแน่นอนว่าเกิดอะไรขึ้น สิ่งที่เป็นไปได้คือระบบดาวคู่ขนาดใหญ่สองระบบชนกัน ทำให้เกิดแรงอะไรบางอย่างเหวี่ยงดาวฤกษ์สองดวงนี้ออกไป เส้นทางการเคลื่อนที่ของเออี ออริเกและมิว โคลอมเบ เริ่มต้นจากบริ...