Posts

Showing posts from April, 2020

Tegmine : ζ Cancri

Image
ดาวที่อยู่บนฟ้าส่วนหนึ่งมีชื่อสามัญเช่น ไรเจล บีเทลจูส ซิริอุส พอลลักซ์ คาสเตอร์ เกือบทั้งหมดเป็นดาวที่เด่นสว่างและจะอยู่ในเส้นรูปร่างของกลุ่มดาว ในกลุ่มดาวปูหรือแคนเซอร์มีดาวพิเศษดวงหนึ่งที่มองแทบไม่เห็นและไม่ได้อยู่ในเส้นรูปร่างแต่ก็ยังมีชื่อเฉพาะนั่นคือ “แทกมินอี” แทกมินอีหรือซีต้า (ζ) แคนครี่เป็นดาวสว่างแมกนิจูด 6 ทำให้ไม่ง่ายที่หาดาวดวงนี้ให้เจอด้วยตาเปล่า คำว่าแทกมินอีเป็นภาษาละตินหมายถึงกระดองปู อันที่จริงชื่อดาวที่ถูกไวยากรณ์ภาษาละตินจะต้องเป็น “แทกเมน (Tegmen)“ แต่มีเหตุผลบางอย่างทำให้ต้องใช้คำผิดไวยากรณ์มาจนบัดนี้ ประวัติของดาวดวงนี้นั้นในปี 1756 โยฮานน์ เบเยอร์เป็นผู้พบว่าดาวดวงนี้เป็นดาวคู่ ได้รับชื่อเป็น ซีต้า1 และซีต้า2 ในปี 1781 วิลเลี่ยม เฮอร์เชลล์พบว่าซีต้า1 มีคู่ของตัวเองทำให้แทกมินอีกลายเป็นระบบดาวสามดวง และพบดวงที่สี่ที่มองไม่เห็นจากการคำนวณในศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันคาดว่ามีดาวในระบบอีกสองสามดวงที่ยังซ่อนอยู่อีกในระบบ สำหรับนักดูดาวแทกมินอีเป็นระบบดาวสามดวงที่ดาวทั้งสามสว่างใกล้เคียงกันประมาณมัคนิจูด 6 มีสีแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ความน่าสนใจอยู่ที่คู่ AB ที่มี...

Iota Cancri

Image
จากกระจุกดาวรวงผึ้งแต่เป็นในทิศทางตรงกันข้ามกับเอ็ม 67 ดาวที่เป็นก้ามปูทางทิศเหนือ “อิโอต้า แคนครี่” ถึงแม้ว่า ι เป็นตัวอักษรลำดับที่ 23 ของกรีก แต่อิโอต้ากลับสว่างเป็นลำดับที่สองในกลุ่มดาวปู ในกลุ่มดาวแคนเซอร์เรียง 4 ลำดับแรกของความสว่างดาวแบบเบเยอร์ดังนี้ เบต้า อิโอต้า เดลต้า อัลฟ่า... จะเห็นว่าชื่อดาวไม่ได้เรียงตามลำดับความสว่างอย่างปกติ ทำให้ชวนสงสัยว่าเบเยอร์อาจมีวิธีการไล่เรียงชื่อดาวแบบอื่นที่เราไม่ทราบก็ได้ อิโอต้าแคนครี่เป็นดาวสว่าง 4 มัคนิจูดที่ไม่มีชื่อสามัญคล้ายว่าไม่ได้รับความสำคัญในยุคเก่า แต่ดาวดวงนี้เป็นดาวคู่ที่มีสีตัดกันสดใส ดูง่ายที่สุดคู่หนึ่งบนท้องฟ้า ดาวหลัก อิโอต้าแคนครี่ เอ มีสีเหลืองทอง (G7.5) สว่าง 4 มัคนิจูด ส่วนดวงรอง อิโอต้าแคนครี่ บี สีฟ้าสดใส (A3) สว่าง 7 มัคนิจูด คู่นี้มีระยะแยกที่ 30.6 อาร์คเซั่นหรือ 30 ฟิลิบดา ห่างกันมากทีเดียวทำให้ดูได้ง่าย แต่ด้วยกล้องสองตาขนาด 8x40 ของผมก็ยังแยกไม่ได้ มองเห็นเป็นดาวเดี่ยวสีเหลืองใสกระจ่าง ภาพสเก็ทช์เป็นภาพที่มองเห็นจากกล้องดูดาวหักเหแสง 5 นิ้วที่กำลังขยาย 100 เท่า แต่กล้องหักเหแสง 4 นิ้วที่กำลังขยายต่ำแค...

Messier 67

Image
จากกระจุกดาวรวงผึ้งไปทางตะวันอกเฉียงใต้ราว 9 องศา เป็นตำแหน่งของดาวชั้น A5 สีฟ้า-ขาวที่ชื่อว่า “อคูเบน” คำนี้แปลว่าก้ามปู ดาวดวงนี้สว่างอันดับสี่ในกลุ่มดาวแคนเซอร์แต่กลับได้ชื่อตามระบบของเบเยอร์ว่า “อัลฟ่า แคนครี่” หมายถึงดาวสว่างที่สุดในกลุ่มดาวแคนเซอร์ ทางตะวันตกของ อคูเบนเกือบ 2 องศา ในคืนที่ฟ้าดีและไกลจากตัวเมืองสักหน่อยเราจะเห็นฝ้ากลมจางด้วยกล้องสองตา กะจุกดาวเปิดอีกตัวในกลุ่มดาวปู แมสซายเออร์ 67 มีขนาดเล็กกว่าพระจันทร์เต็มดวงเล็กน้อย สว่าง 7 มัคนิจูดทำให้ค่อนข้างยากสำหรับชานเมืองใหญ่ที่มีมลภาวะทางแสงสูง ไม่นานนี้ผมดูด้วยกล้องหักเหแสง 4 นิ้วจากบางพลี แต่ท้องฟ้าค่อนข้างสว่างทำให้คอนทราสไม่ดี ต้องเพิ่มกำลังขยายเพื่อให้คอนทราสดีขึ้น ทำให้ภาพจางตามไปด้วย ที่กำลังขยาย 85 เท่ามองเห็นดาวราว 10-20 ดวง แต่ก็จางมาก ต่างจากที่เคยดูที่หมูสี เชิงเขาใหญ่ด้วยอุปกรณ์ชุดเดียวกัน ครั้งนั้นแค่กำลังขยายต่ำกระจุกดาวก็สว่างดูง่าย แถมยังมองเห็นได้จากกล้องสองตาขนาด 8x40 ด้วย กระจุกดาวตัวนี้ค้นพบโดยโยฮานน์ ก็อตฟรายด์ โคห์เลอร์ก่อนปี 1779 แต่บันทึกไว้ว่าเป็นเนบิวล่า แมสซายเออร์พบกระจุกดาวตัวนี้ใ...

ไปให้สุดที่รวงผึ้ง

Image
อาทิตย์สุดท้ายของเดือนเมษายนใกล้เข้ามา หกเหลี่ยมฤดูหนาวที่เคยมองเห็นได้เต็มวงมาตอนนี้ลับขอบฟ้าไปบางส่วนแล้ว กลุ่มดาวนายพรานแตะแคงข้างใกล้ลับฟ้าทางตะวันตก ดาวพอลลักซ์และคาสเตอร์ยังค่อนข้างสูงบนฟ้า กลางศรีษะมีดาวสว่างเด่นชื่อเรกูลัสดาวดวงนี้อยู่ในตำแหน่งหัวใจของสิงห์ในกลุ่มดาวสิงโตพอดี พื้นที่ว่างระหว่างเรกูลัสและคู่แฝดพอลลักซ์กับคาสเตอร์มีกลุ่มดาวจางกลุ่มหนึ่ง กลุ่มดาวแคนเซอร์หรือปูกลุ่มดาวประจำเดือนกรกฏาคม ที่แม้จะมองไม่เห็นแต่ก็หาตำแหน่งได้ง่าย กลุ่มดาวแคนเซอร์หรือกรกฎหรือปู กระจุกดาวจะเกาะกับเส้นสมมติระหว่างดาวสองดวงด้านบน ทำให้ดูเหมือนรวงผึ้งเกาะกับกิ่งไม้ กลุ่มดาวกลุ่มแคนเซอร์เป็นกลุ่มที่ท้าทายสำหรับมือใหม่ ดาวในกลุ่มเรียงเป็นตัวอักษร “Y” จางทีเดียวมองได้ยากแม้จะอยู่ชานเมืองเล็กๆ ใจกลางกลุ่มดาวปูมีกระจุกดาวเปิดขนาดใหญ่ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในที่มืดสนิท กระจุกดาวเปิด Preasepe (พรี-ซี-พี) หรือกระจุกดาวรวงผึ้ง ดูผ่านกล้องสองตาจะสวยที่สุดและทำให้ทราบที่มาของชื่อ “รวงผึ้ง” ได้ เพื่อนสมาชิกน่าจะเคยดูกระจุกดาวรวงผึ้งมาก่อน แต่คราวนี้หากฟ้าเปิดลองหยิบเกล้องดูดาว...

ดาวศุกร์ ดาวประกายพรึกและดาวประจำเมือง

Image
ภาพสเก็ทช์ดาวศุกร์ในวันที่ 2 เมษายน 2563 จะเห็นว่าดาวศุกร์มีเสี้ยวสว่างน้อยกว่าครึ่งเล็กน้อย สเก็ทช์จากกล้องหักเหแสง 4" ที่กำลังขยาย 170 เท่า โดยผู้เขียน ภาพสเก็ตช์ดาวศุกร์และกระจุกดาวลูกไก่ โดยผู้เขียน เมื่อต้นเดือนเมษายน 2563 หน้าฟีด เพจ กลุ่มและข่าวดาราศาสตร์เต็มไปด้วยดาวศุกร์สุกสว่างผ่านเข้าไปในกระจุกดาวลูกไก่ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกแปดปี  ดาวศุกร์หรือดาวประจำเมืองของไทยเราในวันนั้น หากดูด้วยกล้องดูดาวจะเป็นเสี้ยวสว่าง เล็กกว่าครึ่งดวงเล็กน้อย กาลิเลโอคือผู้พบเสี้ยวดาวศุกร์เป็นคนแรกด้วยกล้องดูดาวที่ทำขึ้นเอง การสังเกตเสี้ยวดาวศุกร์ทำให้กาลิเลโอสรุปว่าโลกและดาวศุกร์โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ชั้นใน หมายถึงอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก การที่อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ความสัมพันธ์ของตำแหน่งระหว่างโลก ดาวศุกร์และดวงอาทิตย์ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นดาวศุกร์แบบเต็มดวงจากโลกได้ แล้วเหตุใดดาวศุกร์หรือดาวประจำเมืองที่เห็นตอนหัวค่ำถึงย้ายข้างไปเป็นดาวประกายพรึกในตอนเช้ามืดได้ เรามาทำความเข้าใจจากภาพวงโคจรของดาวศุกร์รอบดวงอาทิตย์กัน ความส...

ติดอยู่บ้านทัวร์ดาวคู่

Image
แม้จะต้องติดอยู่กับบ้านแต่เทวดายังสงเคราะห์ให้ฟ้าเปิดทุกวัน ท่ามกลางแสงสว่างจากเมืองและที่อยู่อาศัยตามชานเมือง ออบเจคอย่าง “ดาวคู่” เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ เมื่อเริ่มดูดาวผมไม่มองดาวคู่เลย เนบิวล่าหรือกระจุกดาวน่าสนใจกว่ามาก แต่เมื่อสถานะการณ์บังคับต้องมาดู “ดาว” จริงๆแบบนี้ ก็พบความประหลาดใจว่าดาวคู่มีดีกว่าที่คิด ยกกล้องดูดาวออกมาดูกันดีกว่า เริ่มที่เท้าซ้ายของโอไรออนหรือ “ไรเจล” ดาวสีน้ำเงิน-ขาวที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวโอไรออน คู่ของไรเจลเรียกว่า ไรเจล บี สว่างแค่ 7 มัคนิจูดแตกต่างจากจากไรเจล เอ 500 เท่า ทำให้แยกได้ยาก ผมเริ่มเห็นเป็นสองดวงที่กำลังขยาย 85 เท่าจากกล้องหักเหแสงสี่นิ้ว เป็นภาพที่น่ารักดีเหมือนแม่กระเตงลูกตัวน้อยไว้ตลอดเวลา ภาพสเก็ทช์ไรเจลหรือเบต้าโอไรออนนิสจากกล้องดูดาว 8" f5 @56x โดยผู้เขียน มองเห็น ไรเจล บี ดวงจิ๋วอยู่ทางทิศใต้ของดาวหลัก ภาพนี้จะใกล้เคียงจากกล้องหักเหแสง 4” ที่ 85x ขยับไปที่ “32 อิริดานิ” ดวงนี้ถ้าไม่เห็นกลุ่มดาวแม่น้ำจะฮอบยากหน่อย คำแนะนำคือเริ่มจากดาวเคอร์ซ่าที่เป็นเหมือนตาน้ำข้างไรเจล แล้วไล่ตามแม่น้ำจนพบดาวเคอิดและเบอิด เป้...