Posts

Showing posts from August, 2020

Messier 7 : Ptolemy Cluster

Image
M7 Digital Sketch โดยผู้เขียน บ้านเราอยู่ในเขตร้อนชื้นใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้เดือนสิงหาคมมีเมฆมาก ฝนชุก ต่างกับประเทศที่ตั้งอยู่ละติจูดสูงขึ้นไปจะเป็นฤดูร้อน ทำให้พวกเราไม่คุ้นเคยกับกลุ่มดาวในฤดูนี้เท่าไหร่ ทั้งที่ป็นช่วงที่ท้องฟ้าสวยงามที่สุดช่วงหนึ่งของปี อาทิตย์ก่อนฟ้ามีจังหวะฟ้าเปิดแม้เป็นเวลาสั้นๆ2-3 วัน ตอนหัวค่ำทางทิศใต้เต็มไปด้วยดาวเต็มฟ้า คนแบกงูยืนเหยียบแมงป่องที่ตะแคงข้างอยู่ใต้ฝ่าเท้า กาน้ำชาเอียงรินพวยกาลงมาที่หางแมงป่อง เป็นภาพสวยงามแม้จะมีแสงจากเมืองใหญ่รบกวนมากก็ตาม หากอยู่ไกลตัวเมืองสักหน่อย จะเห็นทางช้างเผือกบริเวณหางแมงป่อง พาดผ่านพวยกาน้ำชาข้ามฟ้าไปทางเหนือ เหนือหางแมงป่องไปทางตะวันออกเฉียงเหนือมีฝ้าฟุ้ง นี่คือกระจุกดาวแมสซายเออร์หมายเลข 7 เอ็ม 7 มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าทำให้เป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ ปรากฎในหนังสือเก่าแก่ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 130 “Almagest” โดย “Ptoleme” มีข้อความกล่าวถึงไว้ว่า “เนบิวล่า ที่ปลายหางของแมงป่อง” ซึ่งก็อาจจะหมายถึงเอ็ม 6 ก็เป็นไปได้ ปัจจุบัน “กระจุกดาวปโตเลมี” หมายถึง เอ็ม 7 ในขณะที่เอ็ม 6 ที่อยู่ใกล้ๆเรียกกันว่า ”กระจุกดาวผีเสื้อ” ในกล้อง...

Alpha Scopii : Antares

Image
แอนทาเรส บี มองเห็นเป็นตุ่มขนาดจิ๋วบนแอรี่ดิสก์วงในสุด ภาพสเก็ทช์โดยผู้เขียน “แอนทาเรส” ดาวสีแดงที่อยู่ในตำแหน่งหัวใจของแมงป่องดวงนี้มีชื่อภาษาไทยว่า “ปาริชาต” เป็นดาวสว่างลำดับที่ 16 บนฟ้า เป็นหนึ่งในสี่ดาวสว่างแมกนิจูดที่หนึ่งที่เกาะไม่เกินห้าองศาจากแนวสุริยะวิถีทำให้มีโอกาสเกิดการบังโดยดวงจันทร์หรือดาวเคราะห์ได้ แอนทาเรสเป็นดาวคู่ที่สวย น่าสนใจและดูยากดวงหนึ่งเพราะความสว่างที่ต่างกันมาก แอนทาเรส บีดวงจิ๋วมักจะได้รับการบอกเล่าจากนักดาราศาสตร์สมัครเล่นว่ามีสีเขียว-ฟ้า หลังจากที่รอมาเป็นเดือนในที่สุดผมก็มีโอกาสได้ลองดูแอนทาเรสแบบจริงจัง อันที่จริงระยะแยกที่ 2.6” ไม่ได้ถือว่าเกิดความสามารถของกล้องดูดาวที่ใช้อยู่ แต่แอนทาเรสสว่างมา ที่กำลังขยาย 85 เท่า ก็มี airy disk แล้ว ผมเพิ่มกำลังขยายขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึง 256 เท่า แอนทาเรสเป็นสีขาวอมเหลือง แอรี่ดิสก์สามวงซ้อนกันเป็นสีแดง แต่เอียงไปฝั่งหนึ่งแสดงว่าตัวกล้องดูดาวมีปัญหาเรื่อง Alignment เล็กน้อย เมื่อดูให้ดีที่แอรี่ดิสก์วงในสุดมองเห็น แอนทาเรสบีครับ แต่โดนสีแดงของแอนทาเรสกลบหมด ดูสีไม่ออก เรียกว่าดูค่อนข้างยากแต่ก็สามารถแยกทั้งคู่ออกมาได้ ...

Messier 2

Image
ภาพสเก็ทช์เอ็ม 2 จากกกล้องสะท้อนแสง 8" ที่ 266 เท่า โดยผู้เขียน คืนนั้นฟ้าขุ่นดูยาก เชื่อว่าสามารถมองเห็นได้จากในเมือง กลุ่มดาวราศีกุมภ์เป็นกลุ่มดาวที่มีรูปร่างซับซ้อนและไม่ค่อยสว่าง ทำให้แม้จะรู้ตำแหน่งกลุ่มดาวก็ยังค่อนข้างยาก กระจุกดาวทรงกลมแมสซายเออร์ 2 อยู่ในเขตกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำการหาให้เจอเป็นความท้าทายทั้งในเมืองและนอกเมือง การหาตำแหน่งเอ็ม 2 ทำให้เราได้เรียนรู้ ทำความคุ้นเคยกับกลุ่มดาวสองกลุ่มคือ “ม้าเปกาซัส” และ “คนแบกหม้อน้ำ”หรือราศีกุมภ์ กลุ่มดาวเปกาซัสสังเกตง่ายกว่าเพราะมีดาวเรียงรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่เป็นลำตัวของม้า จากมุมทางตะวันตกที่สุดของรูปสี่เหลี่ยม (อัลฟ่า (α) เปกาชิ) เส้นกลุ่มดาวจะไปสุดที่ “แอพซิลอน (ε) เปกาชิ” ในตำแหน่งจมูกม้า ส่วนกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำซึ่งเป็นกลุ่มดาวที่จางและรูปร่างไม่ชัดเจน ในแผนที่ดาวจะเป็นรูปผู้ชายแบกไหใส่น้ำที่กำลังไหลรินไว้บนไหล่ขวา ดาวสว่างที่พอจะมองเห็นได้มี “อัลฟ่า-α”(แมกนิจูด 2.4) เป็นไหล่ขวา “เบต้า-β” (แมกนิจูด 2.4) เป็นไหล่ซ้าย และ “ซีต้า1-ζ1” (แมกนิจูด 3.7) เป็นไหหรือหม้อน้ำแต่จะจางกว่าอัลฟ่าและเบต้ามาก กลุ่มดาวเพกาซัส แอพซิลอนอยู...

Cr 399 : Coat Hanger

Image
ภาพดิจิตอลสเก็ทช์จากกล้องดูดาว 80มม ความยาวโฟกัส 600 มม ที่ 15x โดยผู้เขียน มีดาวสองดวงที่มีสีส้มแดง ภาพจำลอง Coathanger - Cr399 เมื่อดูผ่านกล้องสองตา ภาพจาก Stellarium ในพื้นที่ของกลุ่มดาววัลเปกคูล่าหรือสุนัขจิ้งจอกนอกจากดัมเบลล์เนบิวล่ายังมีกระจุกดาวอีกตัวที่น่าชม CR399 - Coathanger CR399 เป็นที่ทราบกันในปัจจุบันว่าไม่ใช่กระจุกดาว แต่เป็นดาวสว่างแมกนิจูด 6-7 ราวหนึ่งโหลที่บังเอิญเรียงตัวเป็นรูปไม้แขวนเสื้อเมื่อมองจากโลก เราเรียกกลุ่มของดาวเล็กๆที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกันแบบนี้ว่า “ดาวเรียง” หรือ “Asterism” ดาวเรียงตัวนี้มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นฝ้าฟุ้งขนาดจิ๋วราวเกือบครึ่งทางระหว่างดาวเวก้ากับอัลแตร์ ทำให้มีบันทึกไว้ตั้งแต่ 964 ก่อนคริสตศักราชโดย อัล ซูฟี เชื่อว่าน่าจะรู้จักกันมาก่อนหน้านั้นแต่ไม่มีบันทึกไว้ ในศตวรรษที่ 17 ค้นพบอีกครั้งโดย โฮเดียน่านักดาราศาสตร์ชาวอิตาเลี่ยน น่าแปลกใจที่วัตถุชิ้นนี้ไม่ปรากฎทั้งในแมสซายเออร์, เฮอร์เชลและ NGC แคตตาลอค ในปี 1920 D.F. Brocchi นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวอเมริกัน ที่กำลังทำแผนที่ดาวให้สมาคมผู้สังเกตดาวแปรแสงอเมริกา - American Association of Vari...