Posts

Showing posts from March, 2021

IC418 : Spirograph Nebula

Image
เนบิวล่าดาวเคราะห์ที่ถูกมองข้ามในกลุ่มดาวกระต่ายป่า ตำแหน่งประมาณครึ่งทางระหว่างไรเจลกับอาร์เนบ (อัลฟา ลีปุริส) ดาวสว่างที่เป็นคอของกระต่าย มีรายงานว่ามองเห็นได้จากกล้องสองตาถ้าฟ้ามืดพอ ลักษณะเด่นที่ได้รับการพูดถึงบ่อยๆก็คือดาวตรงกลางสว่างมองเห็นง่าย ตัวเนบิวล่าขอบด้านนอกที่สว่าง และสีของเนบิวล่าที่นักดูดาวที่ใช้กล้องขนาดใหญ่บางคนเห็นเนบิวล่าเป็นสีเทาอมส้มทำให้ได้รับชื่อว่า “Rasberry” ส่วนชื่อ Spirograph มาจากภาพถ่ายของ Hubble ที่แสดงให้เห็นลวดลายภาพในของเนบิวล่ามีลักษณะคล้ายลายเส้นปากกาที่วาดจากไม้บรรทัดสไปโรกราฟสมัยก่อน เนบิวล่าดาวเคราะห์ตัวนี้ป็นตัวที่สว่างและน่าสนใจมากตัวหนึ่ง และเป็นเรื่องแปลกที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก แม้จะเล็กแต่สว่างจนมองเห็นได้จาก Borg 4” จากบางพลีที่กำลังขยาย 33x เป็นจุดแสงคล้ายดาวแต่มีสีฟ้าอมเขียวทำให้รู้ว่าไม่น่าจะใช่ดาว แถมยังเติมกำลังขยายเข้าไปได้เรื่อยๆชนิดที่เหมือนไม่มีที่สิ้นสุด ใน Borg ผมไปจบที่ 170x มองเห็นเป็นแผ่นดิสก์สีเทาขนาดจิ๋ว ไปที่ Mewlon 210 กล้องดูดาวแบบผสมขนาด 8” ระยะโฟกัสที่ยาว (2415mm)ทำให้คอนทราสดีกว่าใน Borg มาก ที่กำลังขยายต่ำเป็นเหมือนด...

NGC1851

Image
NGC1851, Mewlon 210 @ 320x, Sketch by Chol ท้องฟ้าที่บางพลีตอนนี้ค่อนข้างแย่ ขุ่นขาวด้วยฝุ่นควันและเมฆจนแทบมองไม่เห็นดาว ซิริอัสที่ปกติสว่างเจิดจ้าก็หม่นสลัว ไม่ต้องพูดถึงดวงอื่น หวังว่าที่อื่นๆจะดีกว่านะครับ ย้อนไปเมื่อต้นเดือนมีนาถึงฟ้าแย่เหมือนกันแต่ก็ยังดีกว่าตอนนี้มาก ผมเห็นคาโนปุสสว่างโดดเดี่ยวอยู่เหนือหลังคาบ้านตรงข้าม ดูในแผนที่มีกระจุกดาวทรงกลมตัวหนึ่งห่างไปทางตะวันตกและที่ตอนนี้อยู่สูงกว่าคาโนปุสพอประมาณ สูงพอที่จะลองแวะไปชม... ผมขยับกล้องดูดาวไปที่เป้าหมาย แสงสว่างฟุ้งของบอลจิ๋วปรากฏในเลนส์ตา ผมไม่ได้คิดว่า NGC1851 จะสว่างขนาดนี้สว่างกว่า M79 ในกลุ่มดาวกระต่ายป่าที่อยู่เหนือขึ้นไปเสียอีก น่าแปลกที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักนัก จาก Mewlon ผมย้ายไปที่ Borg101ED ที่วางอยู่คู่กัน ที่กำลังขยายต่ำท้องฟ้าเป็นสีขาวมองไม่เห็นอะไรแม้แต่ดาวสักดวง เรียกว่าคราวนี้ต้องยกให้ Mewlon 210 ขนาดใหญ่กว่า ความยาวโฟกัสมากกว่า ช่วยให้คอนทราสดีกว่าหลายเท่า เมื่อย้ายกลับมาที่มิวล่อนผมเพิ่มกำลังขยายไปได้ถึ...

NGC2360 : Caroline’s Cluster

Image
ในยุคที่ชาลล์ แมสซายเออร์จัดทำแมสซายเออร์แคตตาลอคอยู่ในฝรั่งเศส ทางฝั่งอังกฤษก็มีวิลเลี่ยมและแคโรไลน์ เฮอร์เชล สองพี่น้องชาวอังกฤษเชื้อชาติเยอรมัน ทั้งสองสำรวจท้องฟ้าและจัดทำรายการที่เรียกว่า “Catalogue of Naebula and Cluster of Stars” ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1786 มีทั้งหมด 1,000 ตัว ในปี 1810 วัตถุใน Catalogue of Nebula and Cluster of Stars ก็เพิ่มเป็น 2,500 ตัว และยังไม่จบแค่นี้ งานชิ้นนี้ได้รับการส่งผ่านไปยังจอห์น เฮอร์เชลลูกชายชองวิลเลี่ยม ในปี 1864 จอห์น เฮอร์เชล ตีพิมพ์รายการ “General Catalogue of Naebula and Cluster of Stars” ที่มีรายการวัตถุทั้งหมด 5,079 ตัว ต่อมาอีกยี่สิบปี จอห์นดรายเยอร์ รวบรวมรายการวัตถุจากครอบครัวเฮอร์เชลและจากแหล่งอื่นเข้าด้วยกัน แล้วตีพิมพ์อีกครั้งในปี 1888 เรียกว่า “New General Catalogue” มีทั้งหมด 7,840 ตัว ซึ่งก็คือรายการวัตถุบนท้องฟ้า “NGC” ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้นี่เอง เกริ่นมายาวเพื่อจะบอกว่า แคโรไลน์ เฮอร์เชล เป็นใครและสำคัญอย่างไรต่อโลกดาราศาสตร์ ออบเจคแรกที่เธอพบด้วยตัวเองก็คือ NGC2360 ในปี 1783 ด้วยกล้องดูดาวแบบสะท้อนแสง 4.2” ที่วิลเลี่ยมทำให้ เ...