Lunar Dome Kies Pi

เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาฟ้าเปิด กลางฟ้ามีพระจันทร์อายุ 9 วันหลังเดือนมืด ผมใช้กล้องดูดาวสำรวจไล่ตามแนวรอยต่อของเงามืดและแสงสว่างบนดวงจันทร์ พบหลุมเล็กๆหลุมนึงดูน่าสนใจ ด้านในหลุมมีเงาของแสงแดดส่องสลับกับเงามืด แสดงว่าขอบของหลุมจะต้องมีความสูงต่ำไม่เท่ากันจึงมีช่องว่างแสงถึงลอดมาได้ ในแผนที่ดวงจันทร์บอกชื่อหลุมคือ Kies ภาพซ้ายหลังจากเดือนมืด 9 วัน ภาพขวาหลังจากเดือนมืด 10 วัน คียส์พายเป็นเนินเขาเล็กๆตรงลูกศรชี้ ภาพโดยผู้เขียน หลุมนี้ตั้งตามชื่อ Johann Kies เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันมีชีวิตอยู่ในคริสตศตวรรษที่ 18 เป็นคนแรกๆที่เผยแพร่ผลงานของนิวตัน ค้นไปค้นมาเครเตอร์ที่รูปร่างเหมือนแว่นขยายอันนี้ ไฮไลท์กลับเป็น เนินเขาเล็กๆที่กว่างราว 10 กิโลเมตร สูงแค่ 100 เมตร ทางทิศตะวันตกของหลุมคียส์ที่เรียกกันว่า Kies Pi Kies Pi เป็นเหมือนกับภูเขาไฟแบบโล่บนโลก ภูเขาไฟแบบโล่คือภูเขาไฟที่ไม่มีการประทุระเบิด แต่มีลาวาไหลออกมาทำให้เกิดเป็นเนินเขาเล็กๆเตี้ยๆ ในบ้านเราก็มีหลายที่อย่างเช่น ภูเขาไฟกระโดงที่บุรีรัมย์ แต่คืนนี้ Kies Pi ยังอยู่ในเงามืด ผมต้องรออีกหนึ่งคืน การดูดวงจันทร์ทำให้...