Posts

Showing posts from June, 2019

NGC4565 : Needle Galaxy

Image
NGC4565 กาแลกซี่ที่หันด้านข้างเข้าหาเรา ทำให้มองเห็นในแนวระนาบพอดีจากโลก หรือที่เรียกว่า “Edge-on galaxy” อยู่ในกลุ่มดาวโคม่าเบเรนิซ หากเราอยากเห็นกาแลกซี่ทางช้างเผือกของเราจากระยะไกลก็เทียบเคียงได้กับตัวนี้ การดูกาแลกซี่ตัวนี้แนะนำให้ใ้กล้องดูดาวตั้งแต่ขนาด 6 นิ้วขึ้นไป สำหรับผมที่ใช้กล้องสะท้อนแสงขนาด 8 นิ้ว ในคืนที่ท้องฟ้าไม่ดีไม่แย่ที่บ้านหมี่ ต้องให้เวลากับดวงตาเราสักพักจะเริ่มมองเห็นได้ดีขึ้น ที่กำลังขยายต่ำ NGC4565 เป้นขีดของแสงที่บางและจาง ยาวเหมือนเข็มและมีใจกลางที่สว่าง ต้องใช้วิธีมองเหลือบและผ้าคลุมหัวเพื่อบังแสงจากรอบด้าน ผมลองเพิ่มกำลังขยายคอนทราสดีขึ้นแต่ท้องฟ้าไม่ดีพอทำให้ยิ่งดูยากตามไปด้วย สำหรับแถบฝุ่นที่แบ่งกาแลกซี่ตัวนี้ออกเป็นสองส่วน ต้องใช้กล้องดูดาวขนาด 12 นิ้วขึ้นไป จึงจะมองเห็น การฮอปหาตำแหน่งนั้นไม่ยากนัก เริ่มจากกระจุกดาวเมลล๊อต 111 ที่มองเห็นด้วยตาเปล่าในกลุ่มดาวโคม่าเบเรนิซ มองหาดาวคู่ทางทิศตะวันออกสุดของกระจุกดาว ที่ชื่อ 17Com NGC4575 จะห่างออกไป หนึ่งองศาครึ่งทางตะวันออก Needle กาแลกซี่เป็นตัวที่น่าดูและสว่างและดูง่ายที่สุดในบรรดากาแลกซี่รูปเ...

Messier105 Galaxy Group

Image
เดือนมีนาคม เวลาหัวค่ำหากเงยหน้ามองฟ้าทางตะวันออกจะพบกับกลุ่มดาวสิงโตพอดี บริเวณท้องของสิงโตมีกลุ่มกาแลกซี่ที่เรียกว่า “ลีโอหนึ่ง (Leo I)” หรืออีกชื่อคือกลุ่มกาแลกซี่เอ็ม 96 Leo I มีกาแลกซี่ที่สว่างและดูได้จากกล้องดูดาวทั่วไปอยู่ราว 6-7 ตัว ใจกลางของกลุ่มคือเอ็ม96 ตัวที่ไกลที่สุดห่างออกไปจากศูนย์กลางราว 4 องศา ตำแหน่งเอ็ม105 อยู่ทางทิศเหนือของศูนย์กลางกลุ่มไม่ถึงหนึ่งองศา ที่พิเศษคือตรงนี้มีแกแลกซี่รวมเป็นกลุ่มเล็ก 3 ตัวใกล้กัน ทำให้บางคนเรียกชื่อกลุ่มย่อยนี้ว่ากลุ่มกาแลกซี่เอ็ม105 แม้ว่าจะเต็มไปด้วยหมอกควันรอบด้าน ดาวที่มองเห็นเหลือน้อยจนแทบจะนับได้ ดาวสว่างที่สุดที่มองเห็นมากกว่าแมกนิจูดสามเล็กน้อย ส่องไฟฉายขึ้นฟ้ามองเห็นเป็นลำสว่างขาวชัดเจน การฮอพตำแหน่งเอ็ม105 ต้องเริ่มจากหาดาวแมกนิจูด 6 ที่ท้องของสิงโตที่ชื่อ “แคปป้า ลีโอนิส (κ Leo)” ให้เจอเสียก่อน หากมองไม่เห็นดาวดวงนี้ก็จำเป็นที่ต้องฮอพมาจากดาวรีกูลัส(α Leo) หรือไม่ก็เธต้า ลีโอนิส(θ Leo)ก็ได้แล้วแต่สะดวก M105 จะห่างจาก κ Leo ไปทางใต้แค่องศาครึ่ง ในเลนส์ตาผมมองเห็นปุยแสงของเอ็ม105 รูปร่างกลมมีใจกลางสว่าง...

Messier 17 : Swan Nebula, Omega Nebula

Image
น่าเสียดายที่ท้องฟ้าทางทิศใต้สวยที่สุดก็เป็นเวลาหน้าฝน เพราะใจกลางทางช้างเผือกบริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนูเต็มไปด้วยอัญมณีมากมาย เนบูล่ารูปหงส์หรือ M17 ก็เป็นหนึ่งในนั้น บันทึกที่ “อาจจะ” กล่าวถึงเนบูล่าตัวนี้เป็นครั้งแรกเป็นของ Philippe Loys de Cheseaux ในักดาราศาสตร์ชาวสวิส ในฤดูใบไม้ผลิปี 1764 ไม่กี่เดือนก่อนที่ชาร์ล แมสซายเออร์จะใส่หมายเลข 17 ให้เนบูล่าตัวนี้ในเดือนมิถุนายนปี 1764 M17 มีชื่อเล่นหลายชื่อ ตั้งแต่ Omega Nebula, Swan ตามแต่นักดาราศาสตร์ที่สังเกตมาก่อนจะมองเห็นเป็นอะไร ภาพสเก็ทช์โดย John Herschel เมื่อปี 1833 เป็นที่มาของชื่อ โอเมก้า ภาพจาก  https://www.messier-objects.com/messier-17-omega-nebula/ ภาพสเก็ทช์โดย Willam Lassell, 1862 ภาพจาก  https://www.messier-objects.com/messier-17-omega-nebula/ ออบเจคตัวนี้เหมาะกับกล้องดูดาวขนาดเล็กหรือไม่ก็กล้องสองตา หากมีฟิลเตอร์ UHC จะช่วยได้มาก ผมสเก็ทช์ M17 ภาพนี้ในคืนที่ฟ้ากลางๆ ไม่ดีไม่แย่ มองเห็นดาวที่จางที่สุกบริเวณนี้ประมาณแมกนิจูดที่ 4 มองไม่เห็นกลุ่มดาวสคูตัมหรือโล่ที่อยู่ใกล้ๆ มีหมอกควันบางอยู...

NGC5139 : Omega Centauri

Image
ภาพที่เห็นจากกล้องดูดาวขนาดเล็กที่กำลังขยายต่ำจะเป็นฝ้ากลม ส่วนกล้องสองตาจะเห็น NGC5139 เล็กและจางกว่า แต่ก็ชดเชยด้วยมุมมองที่กว้างขึ้น โอเมก้าเซ็นทอรี่ (ω Centauri) เป็นกระจุกดาวที่ใหญ่และสว่างที่สุดบนท้องฟ้า อยู่ในกลุ่มดาว Centaurus หรือคนครึ่งม้า สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในที่ไม่มีแสงรบกวนเป็นฝ้ากลมจางๆขนาดเล็กคล้ายดาว(ω Centauri) ถ้ามองไม่เห็นด้วยตาเปล่าจากท้องฟ้าชานเมือง สามารถใช้กล้องสองตาเป็นตัวช่วยได้ และถ้าไม่มีแสงรบกวนและฟ้าดีพอ ด้วยกล้องสองตาเราจะเห็นโอเมก้าเซ็นทอรี่มีขนาดราวดวงจันทร์เต็มดวง เมื่อใช้กล้องดูดาวขนาด 4 นิ้วจากชานเมือง ที่กำลังขยายต่ำโอเมก้าเซ็นทอรี่มองเห็นเป็นฝ้ากลมใจกลางสว่าง รายละเอียดของดาวในตัวกระจุกจะเริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อเพิ่มกำลังขยาย และขึ้นกับท้องฟ้าว่ามีหมอกควันแค่ไหน หากใสพอจะเริ่มมองเห็นเม็ดดาวในกระจุกได้ที่กำลังขยายสูงราว 100 เท่า แต่หากใช้กล้องดูดาวขนาดใหญ่ขึ้นเช่น 8 นิ้ว ที่กำลังขยายสูงราว100เท่าขึ้นไป จะเห็นดาวในกระจุกเกาะกลุ่มรวมตัวกันหนาแน่นเป็นจำนวนมาก มีดวงที่สว่างน้อยกว่ามากกว่าเต็มไปหมดจนยากจะจับรูปร่างได้ ภาพสเก็ทช...

NGC5128 : Centaurus A, Hamburger Galaxy

Image
ราวห้าทุ่มต้นเดือนเมษายน มองไปทางใต้กลุ่มดาวเซ็นทอรัสหรือคนครึ่งม้าปรากฎให้เห็นเต็มตัว กลุ่มดาวกางเขนใต้สว่างเด่นใต้ท้องของเซ็นทอร์พอดี คืนนี้ที่บ้านหมี่แม้จะเห็นเซ็นทอร์ แต่ก็มองไม่เห็นกระจุกดาวทรงกลมโอเมก้าเซ็นทอรี่ที่มีค่าความสว่างแมกนิจูด 3.7 ด้วยตาเปล่า ทั้งที่โดยปกติหากอยู่ชานเมืองขนาดเล็กอย่างบ้านหมี่ควรมองเห็นได้สบาย หมายความว่าท้องฟ้าที่เห็นยังมีหมอกควันคลุมอยู่ทั่วไป ผมหยิบกล้องสองตากวาดไปมา โอเมก้าเซ็นทอรี่ยังยังสว่างเป็นฝ้ากลมอยู่บนหลังเซ็นทอร์ จากนั้นมองหากาแลกซี่ Centaurus A หรือ NGC5128 ที่อยู่ห่างออกไปทางทิศเหนือ 4.5 องศา  มองไม่เห็นอะไร ย้ายมาดูที่กล้องดูดาว การฮอบด้วยกล้องดูดาวไม่ยากเลย ยิ่งถ้าใช้เม้าท์แบบอิควอเทอเรียลก็ยิ่งง่าย จากโอเมก้าเซ็นทอรี่ ล็อคแกน RA แล้วขยับแกน DEC ไปทางเหนือ 4.5 องศาก็จบ   แม้ว่า NGC5128 เป็นกาแลกซี่ที่สว่างเป็นอันดับห้าบนท้องฟ้าแต่คืนนี้ ภาพในเลนส์ตาจางมาก ทำให้ผมต้องเช็คกับภาพสเก็ตช์ของนักดูดาวท่านอื่นเพื่อยืนยันสิ่งที่เห็นว่าใช่หรือเปล่า ที่กำลังขยาย 111 เท่า ปรากฎฝ้าจางเป็นคล้ายแ...

Messier 3

Image
ในเรื่องสั้นชื่อ Nightfall (1941) ของไอแซค อาสิมอฟ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกที่มีดวงอาทิตย์หกดวงสลับผลัดเปลี่ยนฉายแสงบนท้องฟ้า เป็นพิภพที่ไม่เคยขาดแสงสว่างหลายช่วงอารยธรรม แล้ววันหนึ่งมีข่าวลือว่าดวงอาทิตย์ทั้งหกดวงเกิดคราสพร้อมกัน จะทำให้ทั้งพิภพตกอยู่ใน “ รัตติกาล ” ครั้งแรก ผู้คนไม่รู้จักความมืดว่าเป็นอย่างไรและหวาดกลัวกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น เกิดความปั่นป่วนไปทั่ว เมื่อความมืดมาเยือน กลายเป็นว่าดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ใจกลาง ” กระจุกดาวทรงกลม ” ขนาดใหญ่ ท้องฟ้ากลับเต็มไปด้วยดวงดาวสว่างนับไม่ถ้วน เอตันนักจิตวิทยาตัวเอกของเรื่องถึงกับอุทานทั้งน้ำตาว่า “ เราไม่รู้อะไรเลย เราคิดว่าทั้งเอกภพมีดวงอาทิตย์หกดวง แต่ความจริงแล้วมีอยู่นับไม่ถ้วน เราไม่รู้อะไรเลย ” เริ่มต้นเล่าเรื่อง Nightfall ก็เพราะวันนี้ผมจะแนะนำกระจุกดาวทรงกลมตัวที่สวยที่สุดตัวหนึ่งคือ แมสซายเออร์ 3 M3 ค้นพบโดยแมสซายเออร์ในเดือนพฤษภาคมปี 1764 ในเวลานั้นยังไม่รู้จักกระจุกดาวทรงกลม แมสซายเออร์ยังอธิยาน M3 ว่าเนบูล่ากลมที่ใจกลางสว่างไม่มีดาวอยู่ภายใน   20 ปีต่อมา วิลเลี่ยม เฮ...

Messier 13 : Great Hercules Cluster

Image
ภาพสเก็ตช์แบบ Composite  ของ Messier 13 ที่กำลังขยาย 111 เท่า วาดรายละเอียดเพิ่มที่ 133 เท่า กระจุกดาวทรงกลมในกลุ่มดาวเฮอคิวลิส เป็นหนึ่งในห้ากระจุกดาวทรงกลมที่สวยที่สุดบนท้องฟ้า เอ็ดมันด์ ฮัลเล่ย์เป็นคนแรกที่กล่าวถึงว่า “it shows itself to naked eye when the sky is serene and the Moon absent” ห้าสิบปีต่อมาแมสซายเออร์ได้ใส่ไว้ในแคตตาลอคเป็นลำดับที่ 13 แต่เดิมเอ็ม13 ได้รับการระบุว่าเป็นเนบูล่าทรงกลมที่มีใจกลางสว่าง เซอร์วิลเลี่ยม เฮอร์เชลล์เป็นคนแรกที่เปิดเผยความจริงว่าเอ็ม 13 เป็นกระจุกดาว โดยใช้กล้องดูดาวขนาดใหญ่ที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้น ในปี 1974 กล้องโทรทรรศน์วิทยุ Arecibo ได้เลือกเอ็ม 13 เป็นเป้าหมายแรกที่จะส่งข้อความออกไปจากโลกเพื่อติดต่อภูมิปัญญาอื่นที่อยู่ไกลออกไป เหตุที่เลือกเอ็ม13ก็เพราะมีดาวฤกษ์อัดกันอย่างหนาแน่น อาจเป็นได้ที่จะมีดาวเคราะห์และใครสักกลุ่มหนึ่งอยู่ที่นั่นแต่กว่าพวกเขาจะได้รับข้อความก็ต้องรอไปอีกราว 25000 ปี ภาพที่รู้จักกันในชื่อ "Arecibo Message" เป็นข้อความแรกที่มนุษย์ส่งไปยังอวกาศ ข้อความที่ส่งออกไปเช่น ตัวเลข องค์ประกอบ DN...