Posts

Showing posts from October, 2019

Daemon Star, Algol

Image
อัลกอลขณะความสว่างปกติ ภาพโดยคุณตระกูลจิตร จิตตไสยพันธุ์ มีดาวอยู่ดวงหนึ่งบนฟ้าที่เดี๋ยวหรี่เดี๋ยวสว่าง นักดาราศาสตร์ช่างสังเกตมองเห็นการเปลี่ยนแปลงมาหลายพันปีแล้ว ดาวดวงนั้นคืออัลกอล - Algol ตาข้างขวาของหัวเมดูซ่าที่อยู่ในมือของเพอร์เซอุสบนฟากฟ้า อัลกอลหรือเบต้าเพอร์เซอิ (β Persei) ดาวสว่างอันดับสองในกลุ่มดาวเพอร์เซอุสเป็นดาวแปรแสงชนิดคู่คราส การแปรแสงของดาวเกิดจากดาวในระบบดาวคู่เข้าคราสหรือบังซึ่งกันและกัน มีค่าความสว่างในเวลาปกติ 2.1 แมกนิจูดและ 3.4 แมกนิจูดเวลาเกิดคราส คาบการเกิดคราสทุก 2.87 วัน นับเป็นการเกิดคราสที่ไกลมากคือ 93 ปีแสง แถมยังมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อัลกอลเป็นระบบดาว 3 ดวง ดาวหลักคือ Algol A ดาวสว่าง สีฟ้า-ขาว ส่วนคู่คือ Algol B สีส้มแดง จางกว่า A แต่มีขนาดใหญ่กว่า ดวงสุดท้าย Alcol C จางกว่ามาก มีสีขาว โคจรรอบคู่ AB อีกทีมีคาบการโคจร 1.86ปี Algol B โคจรรอบ Allgol A ทุก 2 วัน 20 ชั่วโมง 49 นาที และคราสจะเกิดทั้งแบบ B บัง A และ A บัง B คราสหลักจาก B บัง A ความสว่างของอัลกอลจะลดลงเหลือ 3.4 แมกนิจูด คราสรองที่เกิดจาก A บัง B ความสว่างจะลดลงเล็กน้อยแค่ 1/10 แมกนิจู...

Lyra, The Harp

Image
Lacerta, Cygnus, Lyra, Vu;pecula and Anser : Sydney Hall (1788-1831) Cr: Wiki Commons  Click "ไลรา" หรือ "พิณ" กลุ่มดาวที่ขนาดพอดีกับฟิลด์กล้องสองตา แม้จะเล็กแต่หาง่ายเพราะมีดาว “วีก้า” เปล่งประกายสีขาวใสสุกสกาว ตำนานของไลร้าเป็นหนึ่งในนิทานกรีกที่รู้จักกันดี ไลร้าเป็นพิณอันแรกที่สร้างขึ้นมาในโลก ทำมาจากกระดองเต่าและขึงด้วยเอ็น 7เส้น โดยเฮอร์แมสบุตรแห่งซุสกับมีอาหนึ่งในเจ็ดพี่น้องพรีอาเดสหรือดาวลูกไก่ แต่ภายหลังเจ้าของคือนักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่ “ออฟิอัส” ครั้งหนึ่งเฮอแมสไปขโมยฝูงวัวของอพอลโล่ แต่เมื่อได้ยินเสียงพิณ อพอลโล่เลยขอพิณจากเฮอแมสแลกกับการรับโทษ ต่อมาอพอลโล่ก็มอบพิณอันนี้ให้กับออฟิอัส นักดนตรีและกวีผู้ยิ่งใหญ่ " ออฟิอัส"  เชียวชาญการร้องเพลงและดีดพิณยิ่ง ว่ากันว่าเมื่อใดที่ได้ยินเสียงพิณของออฟิอัส สายน้ำก็หยุดไหล สัตว์ร้ายกลับเชื่อง เหล่านิมฟ์หลงไหล แม้แต่ก้อนหินยังกลับมีชีวิตชีวา ออฟิอัสเป็นหนึ่งในลูกเรื่ออาร์โกที่ช่วยเจสันตามหาขนแกะทองคำ เขาบรรเลงเพลงช่วยลูกเรือทุกคนให้รอดพ้นจากบทเพลงของไซเรนที่นำลูกเรืออาร์โกร์ไปสู่ความตาย Orpheus and...

Far, Far....away

Image
"ภูกระดึง" ภาพโดยสิทธิ สิทไทย คืนหนึ่งผมเงยหน้ามองจุดแสงพราวพรายเต็มฟ้า มีคำถามเกิดขึ้นในใจ “เรามองเห็นได้ไกลแค่ไหนหนอ?” ในปี 1943 คาร์ล เซย์เฟิร์ทพบว่ากาแลกซี่จำนวน 12 ตัวมีแกนกลางสว่างกว่าปกติ 100 เท่า กาแลกซี่กลุ่มนี้ได้รับชื่อว่ากาแลกซี่แบบเซย์เฟิร์ท เป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์รู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า “ดาราจักรกัมมันตะ - Active galaxy” ต่อมาในปี 1962 มาร์ติน ชมิดท์ ได้ใช้กล้องดูดาวขนาด 5 เมตรของหอดูดาวพาโลมาร์ศึกษาแหล่งคลื่นวิทยุที่ชื่อ 3C 48 ที่มีคลื่นวิทยุความเข้มสูงมากแผ่ออกมา แต่กลับพบดาวสีฟ้า-น้ำเงินดวงเดียว จึงได้ตั้งชื่อวัตถุนี้ว่า “ควอซาร์ - Quasar” มาจาก Quasi Stella Radio Source หรือ แหล่งคลื่นวิทยุคล้ายดาว 3C 48 อยู่ไกลมาก ห่างออกไปมากกว่า 2000 ล้านปีแสง ซึ่งแปลได้ว่าหากมองเห็นเป็นดาวหรี่จางจากโลกที่ระยะห่างขนาดนี้ วัตถุปริศนา 3C 48 ต้องสว่างกว่ากาแลกซี่ทางช้างเผือกเป็น 1000 เท่า เวลานั้นรู้จักกันว่าควอซาร์คือ “วัตถุที่หนาแน่น,แผ่พลังงานสูงและไกลมาก” ปี 1968 มีการค้นพบวัตถุอีกชนิดเรียกว่า “เบลซาร์- Blazar” เบลซาร์ยิ่งสว่างขึ้นไปอีก สว่างและแผ่พลังงาน...

NGC1535 : Cleopatra’s eye

Image
เนบูล่าดาวเคราะห์ตัวจิ๋วแต่สว่างในกลุ่มดาวอิริดานัสหรือกลุ่มดาวแม่น้ำ ห่างจากดาวแกมม่า อิริดานัส (γ Eri) 4 องศาทางทิศตะวันออก เพราะมีสีเขียวอมฟ้าจึงได้ชื่อตามราชินีคลีโอพัตราแห่งอียิปต์ที่ชอบแต้มสีฟ้าที่ขอบตา คนที่ไม่คุ้นกับกลุ่มดาวแม่น้ำคงต้องทำความคุ้นเคยกับรูปร่างที่คดเคี้ยวโค้งไปมาเหมือนสายน้ำของกลุ่มดาวกลุ่มนี้ก่อน แม้จะจางแต่ก็ไม่ยากจนเกินไปที่จะระบุดาวแต่ละจุดในโค้งน้ำ หากท้องฟ้าสว่างจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ก็สามารถใช้ไบนอคไล่ตามได้ ดาวแต่ละจุดสว่างเด่นชัดเจน γ Eri เป็นดาวลำดับที่ 5 ตามรูปร่างของกลุ่มดาว เป็นจุดหักโค้งของแม่น้ำ แม้จะจางแต่ดาวดวงนี้ผมเคยเห็นที่บางพลีด้วยตาเปล่าในคืนฟ้าใสระหว่างมองหาดาวหาง 41P/Wirtanen เมื่อปลายปี 2561 NGC1535 กับ เอสกิโม เนบูล่า คล้ายกันมากทั้งรูปร่างขนาด ครีโอพัตรา ที่กำลังขยาย 200เท่า มีลักษณะเป็นแผ่นกลมจางสีเทาขอบฟุ้ง ภายในมีวงแหวนบางซ้อนอยู่ ด้านในวงแหวนสว่างกว่าด้านนอกชัดเจน มีดาวจางอยู่ตรงกลางหนึ่งดวง ที่กำลังขยายต่ำเราจะเห็น NGC1535 เป็นจุดสีเขียว-ฟ้าคล้ายดาวเพียงแต่มีขอบฟุ้งจางบางโดยรอบ สามารถเพิ่มกำลังขยายขึ้นไปได้โดยภาพยั...

NGC2362

Image
NGC2362 สเก็ทช์จากกล้องสะท้อนแสงขนาด 8 นิ้ว ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ทีบ้านหมี่ก็มีปัญหาหมอกควัน แต่ไม่แย่เท่ากรุงเทพมหานคร ผมมองเห็น Haze โดยเฉพาะทางทิศใต้ที่หนาและสูงกว่าด้านอื่น ตอนกลางคืนเหลือกลุ่มดาวแค่บริเวณกลางฟ้าที่ยังมองเห็น คืนนี้ถึงฟ้าไม่ดีแต่ยังพอมองเห็นดาวเหนือ กลุ่มดาวแม่น้ำพอมองเห็นหรี่ๆทั้งกลุ่ม กลุ่มดาวหมาใหญ่มองไม่เห็นดาวที่เป็นส่วนหัวของหมาใหญ่ ผมใช้ไบนอคกวาดหาดาวเต๋า คานิสเมเจอริส (τ CMa) ที่มองเห็นด้วยตาเปล่าหากฟ้าดีสักหน่อย ดาวดวงนี้อยู่เหนือดาววีเซ่น (Wezen) ตรงเอวของหมาใหญ่ราว 2 องศา วันนี้มองไม่เห็นฝ้าหรือสัญญาณที่แสดงว่ามีกระจุกดาวอยู่รอบดาวดวงนี้เลย ทั้งที่จริงไบนอคจะแสดงให้เห็นว่าโดยรอบ τ CMa จะมีแสงฟุ้งต่างจากดาวดวงอื่น ผมเคยดูกระจุกดาวตัวนี้ด้วยกล้องดูดาวสองครั้งต่างกาละ ต่างเทศะ ต่างอุปกรณ์ แต่ความงามไม่ได้ต่างกันแม้น้อย ด้วยกล้องดูดาวสะท้อนแสงขนาด 8 นิ้ว NGC2362 มีดาว τ CMa เป็นประธานเด่นอยู่ใจกลาง ทำให้ดูเหมือนหัวแหวนเพชรเม็ดใหญ่ส่องประกายเด่น ล้อมรอบด้วยเพชรประดับเม็ดเล็กระยิบระยับ เมื่อใช้กำลังขยายปานกลางที่ 56 เท่า จะมองเห็นดาวฉากหลังเป็...

NGC3115 Spindle Galaxy

Image
Spindle คือหลอดด้ายที่ใช้สำหรับทอผ้า มีแกนยาวทะลุสองด้าน ด้ายที่พันบนแกนนี้จะป่องกลางจากการปั่นด้าย Burnham บอกไว้ในหนังสือ Celestial handbook ว่ารูปร่างที่เห็นในกล้องดูดาวจะเหมือนกับ Spindle NGC3115 เป็นกาแลกซี่แบบวงรีที่หันด้านข้างเข้าหาเรา เป็นตัวเดียวที่สว่างพอจะดูได้ในกลุ่มดาวเซ็กแทนด์ รูปร่างยาวรีป่องกลาง ขนาดที่เห็นในเลนส์ตาก็ใกล้เคียงกับภาพถ่ายมาก ถือว่าเป็นตัวที่สว่างจนทำให้คิดว่าเป็นไปได้ที่จะมองเห็นด้วยกล้องสองตาในคืนที่ฟ้าดี ที่กำลังขยายต่ำของกล้องสะท้อนแสง 8 นิ้ว เห็นเป็นฝ้าฟุ้งยาวเป็นขีด รายละเอียดต่างๆชัดเจนมากขึ้นเมื่อเพิ่มกำลังขยาย ส่วนของใจกลางกาแลกซี่ก็สว่างและแบ่งออกเป็นสองส่วนตั้งแต่กำลังขยายต่ำ เมื่อมาอ่านและค้นข้อมูลทีหลังทำให้ไม่แน่ใจว่าทำไมถึงมองเห็นเป็นแบบนั้น  ภาพเสก็ตช์เกือบทั้งหมดของนักดูดาวในอินเตอร์เนตจะเห็นใจกลางสว่างตรงกลางแค่จุดเดียว ทำให้ตัวนี้เป็นตัวที่ผมต้องกลับไปเช็ครายละเอียดจริงอีกคร้ัง เซ็กแทนด์เป็นกลุ่มดาวที่หรี่จาง ทำให้การเริ่มฮอพต้องไปอาศัยกลุ่มดาวไฮดร้าที่แม้จะจางเแต่ยังพอมีดาวที่มองเห็นได้ เส้นทางที่ผมแนะนำคือเริ่มจากวางดาว...

Messier 51 : Whirlpool galaxy

Image
หนึ่งในดาราจักรที่รู้จักมากที่สุด อย่างน้อยก็ต้องเคยเห็นภาพผ่านตามาบ้าง ค้นพบโดยแมสซายเออร์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1773 เป็นดาราจักรตัวแรกที่พบโครงสร้างของแขนกังหัน โดยลอร์ดโรส (William Parsons, 3rd Earl of Rosse) ในปี 1845 ตำแหน่งหาไม่ยาก หากแบ่งระยะทางจากปลายด้ามกระบวยไปดาวคอร์ คาลอรี (α CVn) ออกเป็น 3 ส่วน ระยะหนึ่งในสามคือตำแหน่งของ M51 ระยะสองในสามคือ M63 เนื่องจากมองไม่เห็นใน Finder ตำแหน่ง  M51 จะอยู่ทางทิศใต้ของ ดาวสามดวงเรียงเป็นเครื่องหมาย ”เพราะฉะนั้น”  ∴︎ ในเลนส์ตาที่กำลังขยายต่ำมองไม่เห็น M51 ผ่านไปสักพักเริ่มเห็นจุดฝ้าเล็กๆสองจุด เมื่อเพื่มกำลังขยาย คอนทราสดีขึ้น มองเห็นวงกลมฝ้าสองวงใจกลางสว่าง ดวงเล็กและดวงใหญ่ด้วยการมองเหลือบ ความสว่างใกล้เคียงกันดวงใหญ่จะสว่างกว่าเล็กน้อย และขอบของวงทั้งสองสัมผัสกัน ผมจับภาพจางๆของแขนกังหันได้หนึ่งข้าง แต่มองไม่เห็นการเชื่อมต่อของทั้งสองดาราจักรในเลนส์ตา เป็นออบเจคที่ดูค่อนข้างยากหากอยากได้รายละเอียด เพราะไวกับหมอกควันและมลภาวะทางแสง คลิกภาพเพื่อขยาย ข้อมูลทั่วไป Catalog number: Messier 51 : Whirlpool Galaxy T...

NGC2403

Image
คู่แฝดของ M33 : Pinwheel Galaxy ในกลุ่มดาวสามเหลี่ยม NGC2403 อยู่ในกลุ่มดาวจางๆชื่อคาเมลโลพาร์ลาดิสหรือยีราฟที่ติดกับกลุ่มดาวหมีใหญ่ เป็นตัวที่แมสซายเออร์พลาดไปอย่างน่าเสียดาย ไม่เช่นนั้นน่าจะเป็นกาแลกซี่ที่เป็นที่รู้จักดีอีกตัวในซีกฟ้าเหนือ ตำแหน่งของมันต้องฮอพไกลหน่อย เพราะไม่มีดาวสว่างที่มองได้ง่ายในกลุ่มดาวยีราฟ แต่การฮอพก็ไม่ได้ยากนักเพราะมีดาวสว่างแมกนิจูด 6-7 เป็นจุดหมายตลอดทาง เริ่มจากปลายจมูกของหมีใหญ่ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 3-4 ครั้งก็จะถึงเป้าหมาย ตอนที่สังเกต NGC2403 สูงกว่า 30 องศาจากขอบฟ้า แต่ก็เริ่มจมลงไปในหมอกควันที่หนาตา ที่กำลังขยาย 33 เท่าจากกล้องดูดาว 8 นิ้ว มองเห็นปื้นจางอยู่ระหว่างดาวสองดวงด้วยวิธีมองเหลือบ เมื่อเพิ่มกำลังขยายขึ้นมาเป็น 111 เท่า แม้ยังต้องมองเหลือบแต่ก็ได้รายละเอียดมากขึ้น เห็นขอบเขตว่าเป็นวงรีอยู่ระหว่างดาวสองดวง มีดาวหรี่อีกดวงอยู่ในขอบเขตของปื้นแสงจางๆ ผมมองไม่เห็นใจกลางที่มักจะเห็นเวลาดูกาแลกซี่ รวมถึงมองไม่เห็นรายละเอียดอื่นภายในด้วยเช่นกัน NGC2403 เป็นกาแลกซี่ที่มีขนาดใหญ่และค่อนข้างจาง จนทำให้ดูเหมือนเนบูล่ามากกว่...

Messier94

Image
กาแลกซี่แบบแขนกังหันในกลุ่มดาวสุนัขล่าเนื้อ พบโดยปิแอร์ เมอร์แชนด์ผู้ช่วยและเพื่อนของแมสซายเออร์เมื่อปี 1781 ห่างจากดาว α CVn ( อัลฟ่าคานุมเวอเนตติโครุม)  3 องศาทางตะวันออกเฉียงเหนือ ฮอพไม่ยาก เป็นไปได้ที่จะมองเห็นด้วยกล้องสองตาขนาด 10x50 แต่น่าจะยากสักหน่อย M94 สว่าง 8.2 แมกนิจูด เป็นดาราจักรแบบกังหันชนิดที่หายาก ที่มีโครงสร้งสองชั้น ชั้นในสว่างเต็มไปด้วยเนบูล่าและกระจุกดาวเกิดใหม่ มีแขนสว่างสองแขนที่ดูได้จากกล้องดูดาวในคืนฟ้าดี ชั้นนอกแตกต่างโดยสิ้นเชิง จางกว่ามากมีแต่ดาวสีเหลืองที่อายุมากกว่าฟุ้งกระจายโดยรอบ ผมดู M94 ในคืนที่ฟ้าไม่เป็นใจมีหมอกควันหนาตา กลุ่มดาวหมีใหญ่มองเห็นเฉพาะดาวเรียงรูปกระบวย กับปลายขา กลุ่มดาวสุนัขล่าเนื้อที่มีดาวหลักสองดวงก็เห็นแค่ α CVn ดวงเดียว แม้ว่าจะขุ่นแบบนี้แต่ในเลนส์ตา M94 สว่างมาก ดูสบายที่สุดที่กำลังขยาย 111 เท่าอาศัยการมองเหลือบช่วยแค่เล็กน้อย ภาพที่เห็นเป็นปื้นวงรีมีใจกลางสว่าง ไม่มีโครงสร้างใดๆ ผมเชื่อว่าหากฟ้าเป็นใจ น่าจะมองเห็นแขนชั้นในที่สว่างและขอบเขตของดาราจักรด้านนอกที่จางกว่าแน่นอน เป็นตัว...

RCW2 or GUM1 Head of Seagull Nebula

Image
RCW2 หรือส่วนหัวของเนบูล่านกนางนวลคือเนบูล่าที่อยู่รอบดาวกลางภาพ สเก็ทช์โดยผู้เขียน เนบูล่านกนางนวล ออบเจคยอดนิยมตัวหนึ่งของนักถ่ายภาพ อยู่ใกล้ดาวเธต้าคานิสเมเจอริส (θ CMa) หรือจมูกของหมาใหญ่ราว 3 องศาทางตะวันออก ผมเคยมาแวะแล้วครั้งหนึ่ง พบว่าเนบูล่าตอบสนองกับฟิลเตอร์ แต่ยังไม่เคยได้ดูแบบจริงจัง  เมื่อตั้งใจจะเก็บภาพลงสมุดบันทึก ทำให้รู้ว่าเป็นตัวที่ฮอพยากมากตัวหนึ่ง เหตุผลคือขนาดที่ใหญ่ราวสององศาของเนบูล่านกนางนวล การที่มองไม่เห็นตัวเนบูล่าชัดเจนแบบภาพถ่ายและบริเวณนี้อยู่บนทางช้างเผือกทำเต็มไปด้วยดาวระยิบระยับ ทำให้ต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะแน่ใจในตำแหน่งของหัวนกนางนวล ที่เป็นจุดสว่างที่สุดของเนบูล่าตัวนี้ การฮอพด้วยกล้องเล็งตามปกติไม่ช่วยอะไร เพราะดาวเยอะจนทำให้มันมองหา Marking ไม่ได้ ผมอาศัยกำลังขยายต่ำที่สุดที่มี ค่อยๆคืบทีละน้อย เมื่อไม่แน่ใจก็กลับมาเริ่มต้นใหม่ ไม่ง่าย จุดสังเกตที่สำคัญสำหรับหัวนกนางนวลก็คือ ดาวสว่างแมกนิจูด 7-8 3 ดวงเรียงเป็นเส้นตรงตามแนวเหนือใต้ มีดาวสว่างราว 6 แมกนิจูดอีกดวงชื่อ V569 Monอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออก เนบูล่าตอบสนองกับฟิลเตอร์ OIII ...

Messier 63 : Sun Flower Galaxy

Image
ดอกทานตะวันในกลุ่มดาวที่ชื่ออ่านและจำยากที่สุดกลุ่มหนึ่ง “คาเนส เวอเนตติซาย (Canes Venatici)” หรือสุนัขล่าเนื้อ ตำแหน่งประมาณหนึ่งในสามของระยะทางจากดาวอัลฟ่าคานุมเวอเนตติโครุม (α CVn) ไปที่ปลายกระบวยของกลุ่มดาวหมีใหญ่ เราเริ่มฮอพจาก α CVn เลยก็สะดวกไม่ลำบากนัก M63 ห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 5 องศา มีดาวแมกนิจูด 4-6 เป็นหมายเห็นชัดเจนในกล้องเล็ง M63 เป็นดาราจักรแบบกังหันที่เอียงเข้าหาเราทำมุมราว 30องศา มีโครงสร้างที่น่าสนใจคือแขนกังหันมีสองชั้น ชั้นในสว่าง แขนกังหันเบียดกันแน่น ส่วนชั้นนอกจางกว่าแขนกังหันจะค่อนข้างหลวม แม้ว่าฟ้าจะมีหมอกควันหนาจนท้องฟ้าทางเหนือสว่างขาว ดาวสว่างในกลุ่มดาวสุขนัขล่าเนื้อมีแค่ดวงเดียวที่มองเห็น แต่ M63 ก็ยังปรากฎในเลนส์ตา แม้จะจางมากจนต้องอาศัยการมองเหลือบและการเลื่อนภาพไปมา ที่กำลังขยายต่ำมองเห็นเป็นบางครั้ง คอนทราสดีขึ้นเมื่อเพิ่มกำลังขยาย ผมพบว่าที่กำลังขยาย 133 เท่าดูสบายที่สุดแต่ก็ยังต้องมองเหลือบ ตัวดาราจักรมีใจกลางสว่าง Halo จางแต่มีขอบเขตชัดเจน น่าเสียดายที่ไม่เห็นรายละเอียดใดๆเพิ่มเติมเลย คลิกภาพเพื่อขยาย ข้อมูลทั...

Messier 106

Image
เวลาเราดูกาแลกซี่ผ่านกล้องดูดาว ส่วนมากจะมีลักษณะเป็นฝ้ารีหรือกลม บางตัวมีใจกลางที่สว่างกว่าด้านนอก มีไม่กี่ตัวที่มองเห็นลักษณะโครงสร้างแปลกๆของกาแลกซี่ได้ หนึ่งในนั้นคือเอ็ม 106 กาแลกซี่มีขนาดจริงใกล้เคียงกับแอนโดรเมด้าแต่ไกลว่า 10 เท่า ดาราจักรตัวนี้ค้นพบโดยเมอร์แชนท์ผู้ช่วยของแมสซายเออร์เมื่อปี 1947 แต่เพิ่งจะได้รับการเพิ่มเข้าไปในแมสซายเออร์แคตตาลอคโดย เฮเลน ฮอกก์ เมื่อปี 1947 นี่เอง เอ็ม106 อยู่ในกลุ่มดาวสุนัขล่าเนื้อ ครึ่งทางระหว่างดาวที่เป็นมุมของก้นกระบวยหรือแกมม่า (γ) เออร์ซ่าเมเจอริสกับเบต้า (β) คานุม เวอแนตติโครุมพอดี ดาว γ UMa สว่างมองเห็นได้แม้จากชานเมือง ทำให้เริ่มจากด้านนี้จะสะดวกกว่าแม้จะต้องฮอพหลายรอบเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ภาพที่เห็นจากกล้องสะท้อนแสง 8 นิ้วในคืนที่ฟ้าขุ่น ยังพอมองเห็นที่กำลังขยาย 56 เท่าด้วยการมองเหลือบแต่ก็จางและดูยาก ภาพที่พอจับได้ดูแปลกกว่าดาราจักรตัวอื่น มีใจกลางที่หนาและสว่างมีแขนออกไปสองข้างทางทิศเหนือและใต้ การวางตัวของแขนทั้งสองเยี้องกันทำให้ดูเหมือนตัวอักษร S  ภาพที่เห็นทำให้เอ็ม106 เป็นดาราจักรที่ดูแปลกตาและน่าสนใจมากทีเดียว ใ...

Messier 57 : Ring Nebula

Image
ภาพเสก็ทช์เอ็ม 57 เนบูล่าวงแหวนโดยผู้เขียน “Among the curiosities of the heaven…. a nebula that has a regular concentric dark spot in the middle… and is probably a ring of stars.” “ ท่ามกลางสิ่งมหัศจรรย์ของสวรรค์…. เนบิวลาที่มีจุดมืดเป็นศูนย์กลางอยู่ตรงกลาง ... และอาจเป็นแหวนของดวงดาว” -Sir William Herschel ดาวฤกษ์ที่มีมวลใกล้เคียงดวงอาทิตย์ของเรา เมื่อแกนกลางใช้เชื้อเพลิงหมดจนไม่สามารถจุดปฎิกริยานิวเคลียร์ต่อไปได้ ในช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตขนาดของดาวจะขยายออกจนเกินกำลังที่ดาวจะยึดไว้ ผิวดาวและเนื้อสสารจะหลุดออกไปในอวกาศอันเวิ้งว้าง ทิ้งไว้แต่แกนคาร์บอนตรงกลางที่เรียกว่าดาวแคระขาว ผิวดาวและสสารที่หลุดออกมานี้เรียกว่าเนบูล่าดาวเคราะห์หรือ Planetary Nebula ที่ไม่ได้มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับดาวเคราะห์แม้แต่น้อย ที่ได้ชื่อแบบนี้เพราะภาพที่เห็นจากกล้องดูดาวมักจะเป็นฝ้ากลมขนาดราวดาวเคราะห์ ในระยะแรกฟองกาซเนบูล่ายังเรืองแสงอยู่และจะขยายตัวออกไปเรื่อยๆ จนเย็นลงและจางหายไปในที่สุด เอ็ม 57 หรือเนบูล่าวงแหวนเป็นตัวอย่างที่ดีของเนบูล่าดาวเคราะห์และมักเป็นออบเจคแรกๆที่นักดูดาวมือใหม...

Messier 22

Image
ภาพสเก็ทช์เอ็ม 22 โดยผู้เขียน “it was as if a globe had been filled with moon light and hung before them in a net of woven of the glint of frosty stars” “ราวกับโลกที่เปี่ยมด้วยแสงจันทร์และคลุมด้วยตาข่ายดวงดาว ถักทอส่องประกายระยิบตา” -J.J.R. Tolkien, The Hobbit, Ch 16, A Thief in the Night เอ็ม22 เป็นหนึ่งในห้าราชาแห่งกระจุกดาวทรงกลมบนท้องฟ้า ด้วยความสว่างแมกนิจูดที่ 5.1 ทำให้มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในที่ๆมืดดี และสว่างเป็นลำดับที่สามรองจากโอเมก้าเซนทอรี่และ 47 ทัคคาเน่ ส่วนเอ็ม13ในกลุ่มดาวเฮอร์คิวลิสเป็นลำดับที่สี่ ค้นพบในปี 1665 โดยนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันอับบราฮัม ฮิลล์ หลังจากนั้นมีนักดาราศาสตร์หลายคนได้บันทึกการสังเกตไว้ ในปี1764 แมสซายเออร์ได้บันทึกไว้ว่า “เนบูล่ากลม ไม่มีดาว ใกล้ 25 แซจิทารี” เอ็ม22 เป็นกระจุกดาวที่มีขนาดปรากฎใหญ่กว่าพระจันทร์เต็มดวงเล็กน้อย ประกอบด้วยดาวประมาณ 500,000ดวง ทั้งหมดสว่างประมาณแม่นิจูด 11 ห่างจากเราประมาณ 10,400ปีแสง ไปในทิศทางกลุ่มดาวคนยิงธนู เป็นหนึ่งในกระจุกดาวทรงกลมที่ใกล้โลกมากที่สุด และยังอยู่ใกล้เส้นสุริยวิถีทำให้ม...

Messier 11 : Wild Duck Cluster (Wide field)

Image
บ้านเราอยู่ในเขตร้อนชื้น การชื่นชมทางช้างเผือกช่วงปลายฤดูฝนอย่างเดือนกันยายนถือเป็นโอกาสที่หาได้ยาก ปีนี้โชคดีที่มีจังหวะท้องฟ้าเปิด แถมใกล้เดือนมืดไร้แสงจันทร์กวน  ในกลุ่มดาวโล่หรือสคูตัมที่วางอยู่บนทางช้างเผือกติดกับกลุ่มดาวคนยิงธนูทางทิศเหนือ มีกระจุกดาวกระทัดรัดที่อัดแน่นไปด้วยดาวตัวหนึ่งคือแมสซายเออร์ 11 มีชื่อเรียกกันว่ากระจุกดาวเป็ดป่า (Wild Duck Cluster) ที่ได้ชื่ออย่างนี้เพราะมีดาวในกระจุกเรียงตัวเป็นตัวอักษร “V” เหมือนฝูงบินของเป็ดป่าหรือห่านป่าอพยพ ผู้ที่ตั้งชื่อคือนายพลเรือนักดาราศาสตร์แห่งราชนาวีอังกฤษ “วิลเลี่ยม สมิธ” การมองหาเอ็ม11โดยอาศัยกลุ่มดาวนกอินทรีจะง่ายกว่า เพราะกลุ่มดาวโล่ค่อนข้างจาง เราจะเริ่มต้นที่ดาวที่เป็นหางนกอินทรีหรือแลมด้าอควิเล (λ Aquilae) ในฟิลด์กล้องสองตาจะเห็นดาวสว่างอีกสองดวงคือ ไอ อควิเล (i Aql) และอีต้าสคูติ ( η Sct)ทั้งสามดวงเรียงเป็นเส้นโค้ง ชี้ไปที่เอ็ม 11 ภาพในกล้องสองตากระจุกดาวเอ็ม 11 จะเป็นปื้นกลมเหมือนกระจุกดาวทรงกลม หากใช้กล้องดูดาวที่กำลังขยายปานกลางจะเปิดเผยความงาม จุดแสงละเอียดจำนวนมากเกาะตัวหนาแน่นเป็นรูปพัด ส่องประกายระยิบ...