Sunday, June 4, 2023

กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ : Boötes


ภาพจาก SkySafari



…นั่นแน่แม่ดูดาวจระเข้
ศีรษะเหหกหางขึ้นกลางหาว
ดาวนิดทิศพายัพดูวับวาว
เขาเรียกดาวยอดมหาจุฬามณี...

-พระอภัยมณี 


บทกลอนที่คุ้นเคยเป็นอย่างดี เป็นตอนที่นางสุวรรณมาลีกำลังสอนอรุณรัศมีและสินสมุทรดูดาว กลุ่มดาวในกลอนทั้งจระเข้หรือหมีใหญ่ ดาวยอดมหาจุฬามณีหรือดาวดวงแก้วก็กำลังปรากฎให้เห็นในเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคมพอดี

ดาวดวงแก้วมีชื่อตามดาราศาสตร์สากลว่าอาร์คทูรัส เป็นดาวสว่างลำดับที่ 4 บนท้องฟ้าและสว่างที่สุดในซีกฟ้าเหนือและยังเป็นยอดของดาวเรียงรูปเจดีย์อันเป็นที่มาของชื่อยอดมหาจุฬามณี

กลุ่มดาวกลุ่มนี้รู้จักกันในดาราศาสตร์สากลในชื่อโบโอทิสหรือคนเลี้ยงสัตว์ เป็นกลุ่มดาวที่มีเรื่องเล่าหลากหลายตามอายุของกลุ่มดาวที่สืบย้อนไปได้ถึงยุคเมโสโปเตเมีย

เรื่องเล่าแบบแรกคือ อาร์คัสบุตรชายของซูสและคาลิสโต หลังจากที่เฮราสาบให้คาลิสโตกลายเป็นหมี วันหนึ่งอาร์คัสก็มาเจอกับแม่หมีคาลิสโต แต่จำไม่ได้จึงหมายจะสังหาร

ซูสยอมให้อาร์คัสทำเช่นนั้นไม่ได้จึงส่งทั้งคู่ไปเป็นกลุ่มดาวหมีใหญ่และโบโอทิสที่ตามติดหมีใหญ่ขึ้นมาทางทิศตะวันออก

เรื่องเล่าอีกแบบ,uว่าโบโอทิสคืออิคารัสเจ้าของไร่องุ่น วันหนึ่งอิคารัสเชิญไดโอไนซิสเทพแห่งไวน์มาที่ไร่ ไดโอไนซิสมอบเคล็ดลับในการทำไวน์กับเขา

ด้วยความดีใจที่มีเครื่องดื่มชนิดใหม่ อิคารัสเชิญเพื่อนมาดื่มเครื่องดื่มชนิดนี้จนเมามาย ตื่นขึ้นมาตอนเช้าพร้อมอาการปวดหัวจากเมาค้าง

เพื่อนของอิคารัสไม่เคยกินไวน์มาก่อน ต่างเข้าใจว่าโดนอิคารัสวางยาพิษ จึงได้รุมทำร้ายอิคารัสจนตาย

ไอโอไนซิสที่อาลัยต่อการตายของอิคารัสได้ส่งเขาไปเป็นกลุ่มดาวโบโอทิสบนฟ้า


Böotis, Canes Vanatici, Coma Berenices and Quadrans Muralis
Plate 10, Sydney Hall - Urania's Mirror 1825, Cr: Wikipedia

โบโอทิสในแผนที่ดาวยุคเก่าจะเป็นรูปผู้ชายที่ชูเคียวในมือข้างขวาส่วนมือข้างซ้ายจะถือไม้พลองหรือกระบองไว้แนบตัว แผนที่บางฉบับมือซ้ายจะถือเคียวด้ามยาวแทนกระบอง แสดงว่าโบโอทิสเป็นตัวแทนของเกษตรกรเต็มที่

หากเราอยู่ละติจูดที่สูงพอ เราจะเห็นทั้งกลุ่มดาวหมีใหญ่และโบโอทิสวนอยู่รอบดาวเหนือ จากภาพกระบวยและยอดเจดีย์ เมื่อกลับหัวลงมาอยู่ใต้ดาวเหนือกลายเป็น รถเข็นและคนเข็นรถได้เหมือนกัน 

ในพื้นที่กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ไม่ค่อยมีกระจุกดาว ดาราจักรหรือเนบิวลาที่โดดเด่น แต่กลับมีดาวคู่ที่น่าสนใจหลายดวง เช่น ไอซาร์ อัลคารูลอปส์ ซีโบโอทิส ฯลฯ

Böotes Chart - Cr:Cart du Ceil 


ภาพสเก็ตช์อัลคารูลอปส์ (μ Bootis) โดยผู้เขียน


ภาพสเก็ตช์ซีโบโอทิส (ξ Bootis)โดยผู้เขียน


ภาพสเก็ตช์ไอซาร์ (ε Bootis) โดยผู้เขียน





Friday, May 26, 2023

Messier 101 : Pinwheel


ภาพสเก็ตช์ M101 โดย Chol



ตอนนี้มีข่าวโนวาในดาราจักรเอ็ม101 เรามาทำความรู้จักกับดาราจักรตัวนี้กันหน่อยไหม? เป็นตัวที่ยากในเมซิเยร์แคตาล็อคตัวหนึ่ง

เอ็ม 101 อยู่ในพื้นที่ของกลุ่มดาวดาวหมีใหญ่ ค่าความสว่างมัคนิจูด 8 ที่เหมือนจะมองเห็นจากกล้องสองตาได้สบาย แต่เนื่องจากดาราจักรตัวนี้มีขนาดใหญ่ราว 1/4 องศา ทำให้ความสว่างที่ 8 มัคนิจูดถูกกระจายออกไปเต็มพื้นที่ จากที่เหมือนง่ายกลายเป็นยากขึ้นมาทันที

ผมพยายามสังเกตดาราจักรตัวนี้หลายครั้งแต่ก็เห็นแค่ใจกลางขนาดเล็กเป็นฝ้าฟุ้งจางๆ พยายามมองหาแขนกังหันก็ไม่เคยได้เห็นจนกระทั่งมีโอกาสไปดอยอินทนนท์

คืนนั้นเอ็ม101 ที่มองเห็นในเลนส์ตาที่กำลังขยาย 140 เท่า ผมจับภาพฝ้าจางทรงกลมขนาดใหญ่เกือบเต็มเลนส์ตา สักพักก็เห็นแขนกังหันสองแขนจางๆ พร้อมกับปมแสงจางของเนบิวลา NGC5450 ที่ปลายแขนกังหันข้างหนึ่ง

นักดูดาวบางคนรายงานว่าเห็นแขนกังหัน 3 แขนพร้อมกับเนบิวลาบนแขนกังหันอีกสองสามตัว

ตำแหน่งของดาราจักรเอ็ม101 ห่างจากดาวไมซาร์ไปทางทิศตะวันออกราว 6 องศา เหมาะกับกล้องดูดาวขนาดสัก 8 นิ้วขึ้นไป แต่หากต้องการดูรายละเอียดใช้กล้องดูดาวขนาด 12 นิ้วขึ้นไปน่าจะดีกว่า


M101 Finder Chart


Monday, May 15, 2023

ทิศบนท้องฟ้า



เรื่องที่ชวนสับสนสำหรับคนที่เริ่มหัดดูดาวก็คือเรื่องของทิศบนท้องฟ้าที่ดูเหมือนแตกต่างจากทิศที่เราคุ้นเคยอยู่ทุกวัน

การระบุทิศโดยปกตินั้นเราจะใช้ตัวเราเองเป็นศูนย์กลาง แต่การบอกทิศในการดูดาวเราจะใช้ดาวหรือจุดนั้นเป็นศูนย์กลางแทน

เราจะเริ่มจากทิศตะวันตก ซึ่งก็คือทิศที่ดาวเคลื่อนไป จากนั้นระบุทิศเหนือโดยทวนเข็มมาฬิกาไป 90 องศา ทิศที่เหลือจะตรงข้ามกับสองทิศที่ระบุไว้แล้ว

ส่วนการระบุทิศในกล้องดูดาวหากใช้ไดอะกอนอลหรือกระจกสะท้อน 90 องศาที่ให้ภาพกลับซ้ายขวา การระบุทิศเหนือให้ตามเข็มนาฬิกาแทนที่จะทวนเข็มตามปกติ

/ชล

Saturday, May 13, 2023

Gemini : กลุ่มดาวคนคู่




สองสามวันก่อนขณะที่เงยหน้ามองดาวศุกร์ที่สว่างใสทางทิศตะวันตก ผมก็มองหาดาวสว่างและกลุ่มดาวบริเวณนั้นด้วยความเคยชิน


เหนือดาวศุกร์ขึ้นไป มีดาวสองดวงคู่กัน ห่างกันราว 5 องศา มองเห็นได้ตั้งแต่ฟ้านยังไม่มืดสนิทดาวสองดวงนี้คือพอลลักซ์กับแคสเตอร์คู่แฝดคนละพ่อที่ไม่ยอมแยกจากกัน


พอลลักซ์ที่เป็นบุตรแห่งซูส (อีกแล้ว) ถึงกับขอให้บิดาแบ่งชีวิตที่เป็นอมตะของเขาให้กับแคสเตอร์ผู้เป็นมนุษย์ธรรมดาและเป็นบุตรแห่งทินดาเรียส ท้ายที่สุดซูสก็ส่งทั้งคู่ไปเป็นกลุ่มดาวเจมินีคู่กันบนฟ้า

 

กลุ่มดาวเจมินีหรือกลุ่มดาวคนคู่เป็นกลุ่มดาวจักรราศีเมถุนหรือเดือนมิถุนายน มองเห็นได้ง่ายตลอดช่วงฤดูหนาวไปจนถึงเดือนพฤษภาคม ก่อนที่จะเริ่มดูยากเพราะเริ่มลับฟ้าไปพร้อมกับดวงอาทิตย์ในช่วงกลางเดือนมิถุนายนเป็นไป


กลุ่มดาวคนคู่ค่อนข้างสว่างดูไม่ยาก มีดาวสว่างมัคนิจูด 1 สองดวงพอลลักซ์กับแคสเตอร์ที่อยู่ในตำแหน่งหัวของคนคู่ หากฟ้ามืดพอจะลากเส้นกลุ่มดาวได้ง่ายเป็นคนสองคนยืนกอดคอกันอยู่


พอลลักซ์คือดาวดวงทางตะวันตกสีอมเหลืองมากกว่าเล็กน้อย ส่วนแคสเตอร์ทางตะวันออก

แคสเตอร์เป็นดาวพหุ คือเป็นระบบดาวหลายดวง แต่ที่สังเกตได้จากกล้องดูดาวทั่วไปจะมี 3 ดวงคือ แคสเตอร์ A และ B ส่วน C ค่อนข้างจางสักหน่อย


นอกจากนั้นพอลลักซ์กับแคสเตอร์ยังเป็นดาว 2 ใน 7 ดวงของวงกลมฤดูหนาว เครื่องหมายของฤดูหนาวบนท้องฟ้า


ในกลุ่มดาวคนคู่ยังมีเนบิวลาแอสกิโม เนบิวลาดาวเคราะห์ที่แม้จะเล็กแต่ก็สว่างมากจนดูได้จากกล้องดูดาวทั่วไปแม้จากชานเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพ


ลองออกไปดูฟ้าหัวค่ำนี้ อย่างน้อยก็น่าจะเห็นแคสเตอร์และพอลลักซ์คู่กันทางทิศตะวันตกเหนือ-ของดาวศุกร์ แถมด้วยดาวอังคารดวงแดงอีกดวงทางทิศใต้ของพอลลักซ์ด้วยครับ



ภาพสเก็ตช์กระจุกดาว M35 โดยผู้เขียน





ภาพสเก็ตช์เอสกิโมเนบืวลา NGC2392
โดยผู้เขียน



ภาพสเก็ตช์ แคสเตอร์ โดยผู้เขียน


รอจังหวะฟ้าเปิดกันครับ
ขอให้โชคดี :)
/ชล

Thursday, April 6, 2023

 M96 Group of Galaxies

 บางส่วนของ M96 Group
สเก็ตช์จาก Borg 101ED ที่ 27x ในคือฟ้าดี



ผมชอบดูภาพมุมกว้างที่เห็น DSO หลายๆตัวท่ามกลางทะเลดาว มันพราวพราย ใจพองฟูดี แต่ไม่ค่อยได้สเก็ตช์เก็บไว้แม้ว่าจะชอบมากก็ตาม


อุปสรรคเพียงอย่างเดียวคือใจของเรานี่เอง เห็นดาวเยอะๆเต็มเลนส์ตาก็ท้อเสียแล้ว แต่หากพอได้เริ่มพล๊อตดาวดวงแรกก็ไปได้จนจบแบบไม่รู้ตัวทุกที


ภาพนี้เป็นบริเวณใต้ท้องของสิงโต ตรงนี้มีกลุ่มดาราจักรที่ค่อนข้างกระจัดกระจายโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เอ็ม 96 จึงชื่อว่ากลุ่มดาราจักรเอ็ม 96 ไปด้วย


กลุ่มดาราจักรกลุ่มนี้มีสมาชิกที่ดูได้จากกล้องดูดาวราว 8-9 ตัว ตัวที่สว่างที่สุดก็คือ 4 ตัวในภาพนี้


ภาพนี้ผมใช้กล้องดูดาวตัวเล็กขนาด 4” กับเลนส์ตา 24มม  ได้กำลังขยายที่ 27 เท่า  FOV ราว 2.5 องศา


คราวหน้าจะพาชมทีละตัวที่กำลังขยาย 140 เท่าจากกล้องดูดาวอีกตัว จะได้เห็นรายละเอียดที่มากขึ้นครับ

Tuesday, April 4, 2023

 Leo Triplet

ภาพสเก็ตช์ Leo Triplet จากดอยอินทนนท์


Siamskies กลับมา on track แล้ว!


เวลานี้เข้าเดือนเมษายนแล้ว ท้องฟ้าเปลี่ยนจากกลุ่มดาวที่คุ้นเคยอย่างโอไรออน หมาใหญ่ วัว สารถี คนคู่ มาเป็นสิงโต หมีใหญ่ ท้ายเรือ คนเลี้ยงสัตว์ หญิงสาว


บริเวณนี้ของท้องฟ้าเป็นทุ่งดาราจักร เมื่อก่อนผมไม่รู้สึกสนุกกับการดูกาแลกซี่ แต่เมื่อมีกล้องดูดาวที่ใหญ่ขึ้น ดีขึ้น ทำให้ดาราจักรเป็นหนึ่งในวัตถุที่ชอบดูที่สุด


ที่ผ่านมาผมเคยดู Leo Triplet หลายรอบจาก Borg 101ED กับนิวโตเนี่ยน 8” M65 กับ M66 ก็ชัดเจนดี รายละเอียดดีไม่มีปัญหา แต่ NGC3862 จางมาก จนจับรายละเอียดไม่ได้ เห็นแต่เป็นแถบแสงจางยาว


คราวนี้ดูด้วย Takahashi Mewlon210 กับเลนส์ตา Pentax XW40 แม้ว่า NGC3862 ยังจาง ก็เห็น Dust lane ที่บางเฉียบ ยาวตรงกลาง แถบยังขนาบข้างด้วยเส้นสว่างสองเส้น ที่กำลังขยายเพียงแค่ 60 เท่า


เมื่อมีอุปกรณ์ชั้นเยี่ยมแล้วแล้ว ฟ้าก็ต้องดีด้วย แล้วก็ฟ้าที่อินทนนท์น่าทึ่งจริงครับ

Sunday, July 24, 2022

The Summer Triangle and Chinese Valentines Day

The Summer triangle and the Chinese Valentines Day - Qixi (七夕 )

Look up into the sky on a mid-summer evening, and you will find the summer triangle shining brightly overhead. The Summer Triangle is formed by the bright stars Vega, Altair and Deneb, the Milky Way makes its way through the summer triangle like a stream that splits the triangle into two sides.There is a romantic folklore that involves stars in the Summer Triangle, the stars of this love story are Vega (Zhinü [ü is pronounced like "ee + oo" - see https://www.newconceptmandarin.com/chinese-pronunciation/] 織女), representing a beautiful weaver girl, and Altair (Niulang 牛郎), representing a cowherd.



The love story starts off with Zhinü and Niulang being gods in the heavens, Zhinü is youngest of the six daughters of the Heavenly Queen Mother and the Jade Emperor, whereas Niulang is in charge of the celestial herd. Niulang and Zhinü both fell in love, which went against the heavenly laws, and Niulang was banished to earth, where he became an orphan cowherd living with his brother and sister. A god spoke up to the Queen and Emperor for Zhinü and Niulang but was turned into an old cow and banished to earth together with Niulang. As for Zhinü, she was punished to weave colorful clouds all day long, but she was sad as she had lost her beloved man. 


One day, Zhinü and her sisters obtained permission from the Heavenly Queen Mother to go down to earth and bathe in the river. Niulang so happened to be passing by the river and spotted Zhinü and became very happy. He stole Zhinü’s clothes and told Zhinü that he will give her back her clothes if she married him. Zhinü soon figured out the earthly Niulang was the man she had loved and agreed to marry him. Zhinü and Niulang lived a happy life on earth where Zhinü gave birth to two children.


Unfortunately the happiness did not last, soon the Heavenly Queen Mother found out about Zhinü’s marriage and sent heavenly troops to capture Zhinü. Upon returning home and finding his dear wife missing, Niulang was very sad, but he remembered the old cow who was banished together with him, the old cow had died, but before he died, he told Niulang to keep his cow hide, the cow hide is magic and will make Niulang be able to fly. So Niulang took the magic cow hide and his two children and flew into the sky after Zhinü. However, the Queen Mother used her golden hairpin to create a celestial river (the Milky Way) that separated Zhinü on one side, Niulang with their children on the other side…



And so goes the sad love story between Zhinü and Niulang, and according to the folklore, we can see the lonely seamstress with her sisters (Vega and the constellation Lyra) on one side of the Milky Way looking longingly across the celestial river at Niulang and their two children (Altair, beta and gamma Aquila). However the story doesn’t end here and all is not lost, the deep love between Zhinü and Niulang moved a flock of magpies and every year on the seventh day of the seventh month of the lunar calendar, the magpies flocked together to form a bridge across the celestial river so that the lovers and their children can reunite, and this is the origin of the Chinese Valentine’s Day or Qixi festival.     


* Although the story of Zhinü and Niulang is Chinese folklore, the story has spread to many other countries in Asia as well including Japan, Korea, Vietnam, Thailand etc., where each locale may have its own form of the story. 


References:


[1] https://www.siamskies.com/2020/07/blog-post.html

[2] https://www.travelchinaguide.com/essential/holidays/chinese-valentines-day-story-cowherd-weaver-girl.htm

* photo of the Summer Triangle taken by Dr. Derrick Lim using a Fuji X-H1 and a Samyang 12mm f2 lens

กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ : Boötes

ภาพจาก Sky Safari …นั่นแน่แม่ดูดาวจระเข้ ศีรษะเหหกหางขึ้นกลางหาว ดาวนิดทิศพายัพดูวับวาว เขาเรียกดาวยอดมหาจุฬามณี... -พระอภัยมณี  บทกลอนที่คุ...