Messier 79


เอ็ม 79 ที่เห็นจากกล้องดูดาว 8 นิ้วที่กำลังขยาย 111 เท่า
ภาพสเก็ตโดยผู้เขียน

ในกลุ่มดาวลีปุสหรือกระต่ายป่ามีกระจุกดาวทรงกลมหรือ Globular Cluster ขนาดเล็กจิ๋วอยู่ตัวหนึ่ง และดูเหมือนว่าจะอยู่ผิดที่ผิดทางเพราะกระจุกดาวทรงกลมส่วนใหญ่จะกระจายตัวอยู่รอบแกนกลางทางช้างเผือก แต่ M79 อยู่ไกลออกมามาก

แมสซายเออร์ 79 ค้นพบโดยปิแอร์ เมอร์แชนในเดือนตุลาคมปี 1740 อีก 2 เดือนถัดมาแมสซายเออร์นำข้อมูลของเมอร์แชนมาตรวจสอบซ้ำอีกครั้ง แล้วบรรจุเข้าไปในแมสซายเออร์ แคตตาลอคในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั่นเอง

ผมเคยดู เอ็ม79 ด้วยกล้องดูดาวขนาด 4 นิ้วมาครั้งหนึ่ง คราวนั้นที่ปากช่องมี haze หรือหมอก ท้องฟ้าสว่าง ทำให้เพิ่มกำลังขยายแล้วภาพมืดมาก ดูลำบาก คราวนี้ฟ้าดีกว่าคราวก่อน กล้องดูดาวก็มีขนาดใหญ่ขึ้น ที่กำลังขยาย 111 เท่า เอ็ม 79 เป็นฝ้ากลมใจกลางกระจุกสว่าง มีขอบเขตที่จางลงและกว้างออกไป

เอ็ม 79 ที่ดูผ่านกล้องดูดาวขนาด 4 นิ้วที่กำลังขยาย 38 เท่า
ภาพสเก็ตโดยผู้เขียน

ใจกลางตัวกระจุกดาว ดูเหมือนมียอดแหลมยื่นออกไป 2 ข้างตรงข้ามกัน มันทำให้นึกถึงเมล็ดบ๊วยเค็ม :) ยอดแหลมที่ว่านี้ไม่เห็นในภาพถ่าย คืนนั้นผมไม่สามารถแยกดาวในกระจุกออกเป็นเม็ดได้ แม้ว่าจะใช้กล้องดูดาวขนาด 8 นิ้ว ต่างจากข้อมูลจากหลายแหล่งที่สามารถมองเห็นเม็ดดาวในกระจุกได้จากกล้องดูดาวขนาด 4 ที่กำลังขยายราว 130 เท่าขึ้นไป


เอ็ม79 อยู่ห่างจากดาวเบต้าลีปูริส (β Lep) ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 4 องศา
ทำให้ทั้งคู่อยู่ร่วมมุมมองเดียวกันจากกล้องเล็งส่วนใหญ่ได้ หาไม่ยากครับ

ข้อมูลพื้นฐาน
Name: NGC1904
Catalog Numbers: Messier 79
Type: Globular Cluster
Visual Magnitude: +7.7
Apparent Size: 9.6 arc minute
Constellation: Lepus
Distance: 4200 ly

Coordinates:
RA: 05h 24m 57.5s
Dec: -24° 30’ 35.4”

Comments

Popular posts from this blog

กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ : Boötes

Lyra, The Harp

รายชื่อและคำอ่านกลุ่มดาวภาษาอังกฤษและภาษาไทย