Messier 5
เอ็ม 5 ในกลุ่มดาวงูเซอร์เพนส์ หนึ่งในสามกระจุกดาวทรงกลมที่สวยที่สุดบนท้องฟ้าซีกเหนือ ที่มี เอ็ม13 เอ็ม3 และเอ็ม5 มีค่าความสว่าง 5.6 แมกนิจูด ทำให้มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้ในที่มืดสนิท
ผู้ที่พบคนแรก ได้แก่นักดาราศาสตร์เยอรมันชื่อ Gotifried Kirch และภรรยา Maria Margarethe ในปี 1702 ระหว่างที่ทั้งสองคนสำรวจดาวหาง Kirch อธิบายไว้ว่า “Nebulous Star” หรือ “ดาวที่ฟุ้งมัว” แมสซายเออร์พบอีกครั้งในปี 1764, วิลเลี่ยม เฮอร์เชล เป็นคนแรกที่ระบุว่าเอ็ม 5 เป็นกระจุกดาวทรงกลมด้วยกล้องดูดาวขนาด 40 ฟุตในปี 1791
แมสซายเออร์หมายเลข 5 เป็นวัตถุที่เหมาะกับกล้องดูดาวทุกขนาด ด้วยกล้องดูดาวขนาดเล็กหรือกล้องสองตาจะเห็นเป็นจุดฟุ้งขนาดเล็กคล้ายกับดาวแต่ไม่ใช่ เราจะเริ่มแยกดาวในกระจุกออกเป็นมาเป็นเม็ดได้ต้องอาศัยกล้องดูดาวที่ขนาดราว 4 นิ้วขึ้นไป กล้องดูดาวที่มีขนาดใหญ่ขึ้นรายละเอียดก็จะยิ่งมากตามไปด้วย
ภาพจากกล้องดูดาว 8 นิ้ว เอ็ม5 มีขนาดใกล้กับเอ็ม 13 แต่รายละเอียดและรูปร่างต่างกัน ในขณะที่เอ็ม 13 เต็มไปด้วยระยางค์จำนวนมากทำให้คิดถึงปลาหมึกหรือแมงกระพรุน แต่เอ็ม 5 ทำให้ผมคิดถึงปูมะพร้าว แต่ก็สวยงามทั้งคู่
การฮอบหาตำแหน่งไม่ยากเกินไป ให้เริ่มจากดาวปลายขาของกลุ่มดาวเวอร์โก้หรือหญิงสาว ที่ชื่อ 109 Vir แล้วฮอบไปทางทิศตะวันออก 4 องศาจะเจอดาวสว่างแมกนิจูด 4 ดวงนึงชื่อ 110 Vir เอ็ม 5 จะห่างจากดาวดวงนี้ไปทางตะวันออกอีก 4 องศา
เอ็ม 5 เป็นหนึ่งในกระจุกดาวทรงกลมที่เก่าแก่ที่สุดประมาณหนึ่งพันสามร้อยล้านปี เป็นไปได้ว่ามีดาวในกระจุกมากถึง 500,000 ดวง มีขนาดกว้างราว 165 ปีแสง ทำให้เป็นหนึ่งในกระจุกดาวทรงกลมที่ใหญ่ที่สุดบนท้องฟ้าอีกด้วย
นอกจากนี้ยังพบดาวแปรแสงอยู่ในกระจุกมากถึงราว 200 ดวง เรียกว่าเป็นกระจุกดาวทรงกลมที่ห้ามพลาดอีกตัว
![]() |
คลิกภาพเพื่อขยาย |
ข้อมูลทั่วไป
Catalog number: NGC5904, Messier5
Constellation: Serpens
Visual Magnitude: +5.65
Apparent Size: 23’
Distance: 24 kly
Coordinates
R.A. 15h 19m 31.50s
Dec. +02° 00’ 45.9”
Comments
Post a Comment