Posts

Showing posts from June, 2020

Messier 87 : Virgo A

Image
เมื่อปีที่แล้วนักดาราศาสตร์เผยภาหลุมดำเป็นครั้งแรก หากยังจำกันได้เป็นภาพหลุมดำในกาแลกซี่วงรี “แมสซายเออร์ 87” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “Virgo A” หรือ “3C 274” ที่เป็นแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุกำลังแรงอันมีที่มาจากหลุมดำที่ถ่ายรูปมาได้นั่นเอง เอ็ม 87 เป็นกาแลกซี่วงรีขนาดใหญ่และสว่างที่สุดในกระจุกกาแลกซี่เวอร์โก้ มีรูปร่างเกือบกลม ค้นพบโดยแมสซายเออร์ในปี 1781 เรื่องที่น่าสนใจนอกจากขนาดที่ใหญ่มากแล้ว ยังพบว่ามีกระจุกดาวทรงกลมโคจรเป็นบริวารโดยรอบมากกว่า 12,000 ดวง เทียบกับทางช้างเผือกของเราที่มีราว 150-200 ดวงเท่านั้นเอง กาแลกซี่ตัวนี้สว่างจนมองเห็นได้จากบางพลีด้วยกล้องดูดาวขนาด 4” ใจกลางสว่าง มองเห็นขอบเขตฟุ้งออกไปโดยรอบขนาดใหญ่พอสมควรด้วยการมองเหลือบ นับว่าเกินความคาดหมาย ตำแหน่งของเอ็ม 87 อยู่กลางทางระหว่างดาวแอพซิลอนเวอร์จินิสกับหางสิงโต-เดเนบโบล่า บริเวณนั้นเป็นดงกาแลกซี่ ต้องเทียบดาวที่เห็นกับแผนที่ให้ดี ไม่เช่นนั้นอาจดูผิดตัวได้ จากเอ็ม 87 ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 1 องศามีกลุ่มของกาแลกซี่เกือบ 10 ตัวที่เรียงตัวเป็นเส้นโค้งที่เรียกว่า “มาร์คาเรี่ยนเชน” เป็นเป้าหมายที่น่าสนใ...

Porrima : The Perfect Twins

Image
“พอร์ริม่า” หนึ่งในสองพี่น้องเทพธิดาพยากรณ์ในยุคเทพปกรนัม พอร์ริม่าเป็นผู้รู้อนาคตส่วนโพสท์เวอร์ต้าเป็นผู้รู้อดีต สองพี่น้องนอกจากจะเป็นเทพธิดาพยากรณ์แล้วในสมัยโรมันยังเป็นเทพธิดาแห่งการกำเนิดทารก สำหรับหัวเด็กออกก่อนก็คือพอร์ริม่า หากเท้าออกก่อนคือโพสท์เวอร์ต้า บริเวณเอวของกลุ่มดาวหญิงสาวหรือเวอร์โก้มีดาวสว่างที่อยู่ในตำแหน่งใกล้จุดให้กำเนิด จึงได้รับชื่อว่า “พอร์ริม่า” ช่างเป็นความบังเอิญที่ปัจจุบันทราบกันว่า “พอร์ริม่า” เป็นดาวคู่แฝดงามหมดจดเหมือนสองพี่น้องเทพธิดาพยากรณ์ พอร์ริม่าและโพสท์เวอร์ต้า แผนที่กลุ่มดาวเวอร์โก้ในยูราโนเมเตรียโดยโยฮานน์ โบนด์ปี 1801 Credit :  The sky tonight “พอร์ริม่า” หรือ “แกมม่า (γ) เวอร์จินิส” ตำแหน่งอยู่ราวครึ่งทางระหว่างสไปก้ากับเดเนบโบล่า(หางสิงโต) ดาวคู่นี้ห่างจากโลก 38 ปีแสง สเปคตรัม F0 สีขาวเหมือนกัน มีค่าความสว่างใกล้กันมากคือ 3.48 และ 3.50 เรียกว่าเป็นคู่แฝดที่เหมือนกันเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ทั้งความสว่างและสี คืนฟ้าดีที่บางพลีผมมองเห็นพอร์ริม่าด้วยตาเปล่าเป็นดาว สว่างแมกนิจูด 3  ดวงหนึ่ง ภาพจาก Borg ตัวเดิมที่กำลังขยาย 8...

Messier 83 : Southern Pinwheel Galaxy

Image
แมสซายเออร์ 83 มีจุดสังเกตคือดาวจางสามดวงที่เรียงเป็นแถวทางทิศใต้ เอ็ม83 จะอยู่บนดวงกลางพอดี ค่ำวันที่ 11 มิถุนายน 2563 ที่บางพลีอากาศดี ใสกระจ่าง ไร้เงาจากจันทร์บนพื้น ลมโชยเป็นระยะ ท้องฟ้าฝั่งทะเลทางทิศใต้ไร้เมฆแม้สักน้อย เสียแต่ว่ายุงเยอะเป็นพิเศษเหตุจากฝนที่ตกต่อเนื่องกันมาเป็นสัปดาห์ ต้องอาศัยยากันยุงและพัดลมเป็นตัวช่วย เซ็นทอรัสหรือคนครึ่งม้ามองเห็นได้เต็มตัวเหนือหลังคาบ้านตรงข้าม สูงขึ้นไปเป็นหางของงูไฮดร้า-กลุ่มดาวที่มีพื้นที่มากที่สุดบนฟ้า บริเวณเขตติดต่อระหว่างเซ็นทอร์กับไฮดร้ามีกาแลกซี่ที่สว่างที่สุดตัวหนึ่งในท้องฟ้าใต้ “แมสซายเออร์ 83” หรือ Sourthern Pinwheel ที่ได้ชื่อนี้เพราะ ได้มาจากลักษณะที่ดูคล้ายเอ็ม101 หรือ Pinwheel Galaxy ตรงหางของหมีใหญ่ แม้ท้องฟ้าใส แต่ด้วยมลภาวะทางแสงที่สูง ทำให้ชานเมืองหลวงยังไม่ดีพอที่จะมองเห็นเอ็ม 83 ผ่านกล้องสองตา สำหรับใครที่อยู่ไกลจากตัวเมืองผมชวนให้หยิบกล้องสองตาออกมาลอง วิธีการฮอบจะเริ่มจากทางไฮดราหรือเซ็นทอร์ก็ได้ แต่วันนี้ผมขอเริ่มข้อศอกข้างซ้ายของเซ็นทอร์หรือดาว “อิโอต้า เซ็นทอรี่” เพราะมองเห็นชัดเจนดี เอ็ม 83 จะห่างออกไปราว...

Messier 64 : Black Eye Galaxy

Image
แมสซายเออร์ 64 หรือ Black-Eye เป็นดาราจักรแบบแขนกังหัน Sb ที่มี Feature น่าสนใจคือแถบฝุ่นขนาดใหญ่ทางทิศตะวันออกไปถึงทิศเหนือใกล้ใจกลาง ทำให้ดาราจักรตัวนี้ดูคล้ายดวงตาที่เหลือบมองต่ำ มีเปลือกตาปิดลงมาครึ่งหนึ่งคล้ายพระเนตรของพระพุทธรูปที่มองเห็นตาดำอยู่เล็กน้อย ลองดูภาพที่คุณกีรติหนึ่งในแอดมินเคยถ่ายไว้ [คลิ๊ก] ดาราจักรตัวนี้อยู่ใน กลุ่มดาวผมของเบเรนิซเป็น บริเวณที่มีดาราจักรหนาแน่นที่สุดจุดหนึ่งบนฟ้า ผมของเบเรนิซเป็นกลุ่มดาวจางๆ มีกระจุกดาวขนาดใหญ่ที่ใกล้โลกที่สุดตัวหนึ่งชื่อว่า “เมลล๊อตต์111” ในที่ๆมืดสนิทกระจุกดาวตัวนี้จะระยิบระยับส่องประกายงามจนลืมหายใจเมื่อดูด้วยตาเปล่า การหาตำแหน่งเอ็ม 64 เป็นความยากขึ้นมาอีกขั้นเพราะกลุ่มดาวผมของเบเรนิซค่อนข้างจาง อันดับแรกเราต้องหาตำแหน่งของ “อัลฟ่าโคเม่เบเรนิซ” เสียก่อน ดาวสว่างแมกนิจูด 4 ดวงนี้อยู่ครึ่งทางระหว่างอาร์คตุรุสกับเดเนบโบล่า(หางสิงโต) เมื่อยืนยันตำแหน่งอัลฟ่าโคเม่เบเรนิซได้แล้ว ก่อนที่จะไปต่อลองแวะชมเอ็ม 53 ที่อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไม่ถึงหนึ่งองศาของอัลฟ่า เอ็ม53 ต้องอาศัยกำลังขยายกลางถึงสูงเป็นกระจุกดา...

Algieba : Gamma Leonis

Image
ภาพสเก็ทช์และสีของแกมม่าลีโอนิส สีที่มองเห็น ไม่เหมือนกับสีจริงที่ควรเป็น มีบางคนที่เห็นเหมือนผู้เขียนแบบในภาพนี้ กลุ่มดาวลีโอหรือสิงโต กลุ่มดาวจักราศีประจำเดือนสิงหาคม มองเห็นได้ง่ายแม้จากในเมืองโดยเฉพาะดาวเรียงส่วนหัวของสิงโตที่เป็นรูปเคียวหรือเครื่องหมายคำถามกลับด้าน ปลายด้ามของเคียวเป็นดาวสว่างที่สุดในกลุ่มดาวลีโอชื่อว่าเรกูลัส ส่วน “อัลจีบ้า” เป็นดาวสว่างที่อยู่ในตำแหน่งคมเคียว อัลจีบ้าดาวสว่างแมกนิจูด 2 ที่สว่างเป็นอันดับ 3 ในกลุ่มดาวสิงโตจึงได้ชื่อตามระบบเบเยอร์ว่า “แกมม่าลีโอนิส” คำว่า”อัลจีบ้า” “ Algieba” มาจากภาษาอาราบิก “Al Jabhah” หมายถึงแผงคอสิงโตซึ่งก็เป็นตำแหน่งของดาวดวงนี้พอดี ดาวที่เห็นด้วยตาเปล่าว่าเป็นดวงเดียวดวงนี้ แท้จริงเป็นดาวคู่ที่สวยที่สุดคู่หนึ่งบนท้องฟ้า อยู่ไกลจากเราไปราว 130 ปีแสง อัลจีบ้า เอ มีค่าความสว่าง 2.28 แมกนิจูด สว่างกว่าดวงอาทิตย์ 180 เท่า ขนาดใหญ่กว่า 23 เท่า สเปคตรัม K1 ให้สีเหลืองอมส้ม ส่วนอัลจีบ้า บี มีค่าความสว่าง 3.51 แมกนิจูด สว่างกว่าดวงอาทิตย์ 50 เท่า ใหญ่ว่า 50 เท่า สเปคตรัม G7 สีเหลืองอมส้ม ความจริงแล้วทั้งคู่นี้มีสี “เหลืองอมส้ม” ท...