Posts

Showing posts from January, 2019

NGC7789

Image
วอลเตอร์ สก๊อตคอลัมนิสต์ของ Sky & telescope บอกว่า NGC7789 เป็นที่น่าประทับใจสำหรับกล้องดูดาวทุกขนาด เมื่อมีโอกาสได้ดู กระจุกดาวตัวนี้ก็เป็นที่ตระการตาและน่าประทับใจที่สุดตัวนึงของผม ที่กำลังขยาย 21 เท่าจากกล้องดูดาวคู่ชีพ Borg101ED ต้องรอสักพักให้สายตาคุ้นเคยเสียก่อน จึงจะเห็นปื้นกลมสีเทาจางอยู่กลางเลนส์ตา  ดาวใน NGC7789 มีจำนวนมากทำให้ดูคล้ายเม็ดทรายละเอียด ด้วยกล้องดูดาวขนาด 4นิ้ว ต้องอาศัยมองเหลือบจึงจะพอเห็น ที่กำลังขยาย 38 เท่าดูได้ง่ายขึ้น ยังมองเห็นดาวในกระจุกเป็นเม็ดละเอียดด้วยการมองเหลือบและดีกว่า แต่ถึงอย่างนั้นก็รักษาภาพที่เห็นได้ไม่นาน ทำให้ยากจะระบุตำแหน่งของดาวแต่ละดวง เมื่อเปลี่ยนเลนส์ตาอีกครั้งเป็นที่กำลังขยาย 85 เท่า มองเห็นดาวในกระจุกชัดเจนขึ้นแต่ภาพมืดลงไปมาก  NGC7789 เป็นกระจุกดาวเปิดที่ดาวในกระจุกก็สว่างใกล้เคียงกัน สำหรับผมแล้วมันดูคล้ายกระจุกดาวทรงกลมมากกว่ากระจุกดาวเปิด เวลาดูที่กำลังขยาย 38x มีความรู้สึกเหมือนดูเพชรพลอยเม็ดเล็กๆจำนวนมากที่เปล่งประกายระยิบระยับอยู่ในหีบสมบัติใต้ท้องทะเล ความรู้สึกที่เกินกว่าจะวาดออกมาเป็นภาพ เป็นออบเจค...

The Trapezium

Image
Huygeniun region และ Trapezium ภาพสเกตที่กำลังขยาย 400 เท่าโดยผู้เขียน 13 มกราคม 2562 ท้องฟ้าไม่เป็นใจเท่าคืนวานที่ฟ้าเปิดครั้งแรกหลังจากปิดมาตลอดสัปดาห์จากอิทธิพลของพายุปาบึก คืนนี้ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน ดวงจันทร์วันพระขึ้น 8 ค่ำสว่างค้างอยู่บนฟ้า เมื่อรวมกับฝ้าหมอกบางทำให้ฟ้าสว่างฟุ้งกระจายไปทั่ว กลุ่มดาวนายพรานขึ้นมาสูงราว 60 องศาจากขอบฟ้า กลุ่มดาวหมาใหญ่ตามติด ทางเหนือเพอร์ซิอุสมองเห็นไม่เต็มกลุ่ม เมอร์เฟคและอัลกอร์ไม่สดใสอย่างเคย พรานเบ็ดต้องดูสถานที่ ประเมินอุปกรณ์และเหยื่อที่จะใช้ นักดูดาวก็คล้ายกัน ต้องเลือกขนาดกล้องดูดาว ประมินสภาพท้องฟ้าเพื่อเลือกออบเจคเป้าหมาย และคืนนี้ผมต้องอาศัยโชคมากสักหน่อย บริเวณที่ยังดูดีที่สุดคือกลุ่มดาวนายพราน เป้าหมายคืนนี้จำต้องเป็นกระจุกดาวหรือระบบดาวหลายดวง เพราะสภาพท้องฟ้าบังคับ ที่ใจกลางของแมสซายเออร์ 42 เนบูล่าที่สว่างที่สุดบนฟ้า มีระบบดาวหลายดวงที่น่าสนใจและผมยังไม่เคยได้สำรวจแบบจริงจัง เอ็ม 42 หรือโอไรออน เนบูล่าเป็นออบเจคที่ทุกคนที่มีกล้องดูดาวนึกถึงเมื่อได้กล้องดูดาวมาครั้งแรก มันไม่ต้องอาศัยแผนที่ช่วยเพราะ “ดาบของนายพราน” โดดเด่นจ...

Messier 41

Image
เมื่อสายลมหนาวเริ่มพัดโชยจากทิศเหนือ ยามดึกคืนนั้นเราจะเห็นดาวสว่างสีอมฟ้าสดใสทางทิศตะวันออก ดาวซิริอุสหรือดาวโจรตามที่คนไทยเรียก ซิริอุสเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้า เป็นประธานเด่นในกลุ่มดาวหมาใหญ่หรือ Canis Major ต่ำลงมาจากซิริอุสไปทางทิศใต้ 4 องศา ถ้าฟ้ามืดพอเราอาจมองเห็นรอยแสงฟุ้งจางด้วยหางตา นี่คือกระจุกดาวเปิดแมสซายเออร์ 41 หากใช้กล้องสองตาช่วยจะยิ่งง่าย เป็นไปได้ว่าเอ็ม 41 จะเป็นวัตถุที่จางที่สุดที่มีการค้นพบในยุคโบราณ เพราะอริสโตเติ้ลเขียนไว้ใน “Meteorologiga” เมื่อราว 325 ปีก่อนคริสตศักราชเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างที่อยู่ใต้ซิริอุสไว้ว่า “…some of the fixed stars have tails. And for this we need not rely only on the evidence of the Egyptians who say they have observed it; we have observed it also ourselves. For one of the stars in the thigh of the Dog had a tail, though a dim one: if you looked hard at it the light used to become dim, but to less intent glance it was brighter. จากช้อความนี้เป็นไปได้ว่า อริสโตเติ้ลอาจจะเห็นเอ็ม41 ดาวหาง หรืออาจจะเป็นทางช้าง...

NGC55 The Whale Galaxy

Image
กลุ่มดาวช่างแกะสลักหรือ Sculptor เป็นกลุ่มดาวจางและเล็กแต่มีกาแลกซี่น่าสนใจหลายตัวสำหรับ Visual Observer หนึ่งในนั้นก็คือ NGC55 วอลเตอร์ สก็อตเขียนไว้ในหนังสือ Deep Sky Wonder ชนิดที่เป็นออบเจคที่ห้ามพลาด “Some deep-sky objects offer beautiful, breathtaking visual experiences. NGC55 is one such object” NGC 55 ก็อยู่ในลิสท์รายชื่อออบเจคของผม ในวันพ่อที่ผ่านมา (5 ธันวาคม 2561) หัวค่ำมีแนวเมฆหนาที่ขอบฟ้าทางทิศใต้ เมื่อตรวจสอบภาพดาวเทียมพบว่าที่หอดูดาว TJ น่าจะอยู่ในแนวการเคลื่อนที่ของเมฆเหมือนกัน เวลาผ่านไปท้องฟ้าเริ่มมีเมฆบางส่วน แนวเมฆที่ขอบฟ้าก็สูงขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ยังพอมองเห็นกลุ่มดาวช่างแกะสลักที่ไม่มีดาวสว่างเลย ดาวสว่างที่ใกล้ NGC55 ที่สุดคือดาวอัลฟ่า ฟินิซิส (α Phe) ดาวสว่างที่สุดในกลุ่มดาวนกฟินิกซ์ วางดาว α Phe ไว้ในกล้องเล็ง ขยับไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว 4 องศาจะเป็นตำแหน่งของ NGC55 สามารถวางทั้ง α Phe และ NGC55 ไว้ในฟิลด์ของกล้องเล็ง 8x50 ได้ แม้ว่าจะมีรายงานว่าสามารถมองเห็น NGC55 ได้ด้วยกล้องสองตา แต่วันนั้นผมมองไม่เห็นแม้แต่ในกล้องเล็ง ภาพในกล้องดูดาวขนาด 8 นิ้ว...

NGC1532

Image
การดูกาแลกซี่กลายเรื่องท้าทายและยากขึ้นเรื่อยๆตามสภาพท้องฟ้าที่มี Light Pollution กับ Haze ที่มากขึ้นทุกวัน เนืองจากส่วนมากค่อนข้างจางทำให้ต้องการท้องฟ้าที่มืดสนิทเพื่อขับให้ตัวกาแลกซี่เด่นขึ้นมา NGC1532 ในกลุ่มดาวแม่น้ำเป็นกาแลกซี่ที่เกือบจะหันข้างเข้าหาเรา มีแขนด้านหนึ่งที่รูปร่างบิดเบี้ยวมองเห็นได้จากกล้องดูดาวขนาด 10 นิ้วขึ้นไป มีคู่บริวารคือ NGC1531 เป็นกาแลกซี่แคระที่โคจรรอบ NGC1532 คล้ายกับ M110 ที่เป็นบริวารของ M31 แอนโดรมีด้ากาแลกซี่ ในคืนที่ผมดู ออกจะช้าไปแล้วสำหรับ NGC1532 เพราะเริ่มต่ำและหายเข้าไปในโดมแสงจากตัวเมืองทางทิศตะวันตก ทำให้ต้องเปรียบเทียบการเรียงตัวของดาวกับแผนที่เพื่อยืนยันตำแหน่ง ตัวกาแลกซี่ที่จางมากต้องอาศัยการมองเหลือบเพียงอย่างเดียว ผมมองไม่เห็น NGC1531 ทั้งที่ควรจะเห็นเนื่องจากใจกลางสว่างใกล้เคียงกัน แม้ว่าจะจางแต่การหาตำแหน่งไม่ลำบากนักเพราะมีดาว υ4 Eri อยู่ห่างไป 1.5 องศาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ NGC1531/1532 และ υ4 Eri อยู่ในฟิลด์เดียวกันของกล้องเล็งได้เลย ให้สังเกตดาวสว่างแมกนิจูด 7-10 ที่เรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลม NGC1532 ...

NGC3242 Ghost of Jupiter

Image
NGC3242 ในกลุ่มดาวงูไฮดราเป็นเนบูล่าดาวเคราะห์ที่รู้จักกันในชื่อ Ghost of Jupiter เพราะมีขนาดที่เห็นในกล้องดูดาวใกล้เคียงดาวพฤหัส ทั้งที่ความจริงแล้วขนาดต่างกันแบบเทียบกันไม่ได้ Ghost of Jupiter มีขนาดกว้างราว 1 ปีแสงและห่างออกไปราว 3600 ปีแสง ค้นพบโดยวิลเลี่ยม เฮอเชลล์เมื่อปี 1785 เป็นหนึ่งในเนบูล่าดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุดตัวหนึ่งสว่างราว 8 แมกนิจูด ทำให้สามารถดูได้จากกล้องสองตาและกล้องดูดาวทุกขนาด ด้วยกล้องดูดาวขนาด 8 นิ้วที่กำลังขยาย 33 เท่า มองเห็น NGC3242 เป็นแผ่นกลมสว่างสีฟ้าอมเขียวซีด ดูเหมือนเป็นดาวเคราะห์เพราะไม่ใช่จุดแสงแบบดาวฤกษ์ทั่วไป และสามารถอัดกำลังขยายขึ้นไปได้อีก ที่กำลังขยาย 133 เท่ายังสว่างชัดเจน มองเห็นเป็นแผ่นกลมสีฟ้าอมเขียว ไม่เห็นโครงสร้างด้านในและดาวแคระขาวที่อยู่ตรงกลาง เป็นออบเจคที่สว่างและน่าดูตัวหนึ่ง ตำแหน่งหาง่ายอยู่ห่างจาก มิว ไฮเดร ไปทางทิศใต้ราว 2 องศา คำว่าเนบูล่าดาวเคราะห์หรือ Planetary Nebula ได้รับการเรียกชื่อแบบนี้ก็เพราะลักษณะที่ดูคล้ายดาวเคราะห์ ทั้งที่ความจริงไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกันเลย เช่น NGC3242 เกิดมาจากดาวฤกษ์ที่คล้ายดวงอาทิตย...

Messier52 & NGC7635

Image
M52 เป็นกระจุกดาวอยู่ทางซ้ายมือ ส่วนNGC7635 เป็นเนบูล่าแถบยาวแนวตั้งทางขวามือ ภาพสเก็ตโดยผู้เขียน แมสซายเออร์หมายเลข 52 หรือ NGC7654 เป็นกระจุกดาวเปิดบนขอบทางช้างเผือก ใกล้เขตติดต่อระหว่างกลุ่มดาวคาสสิโอเปียและเซฟิอัส เป็นกระจุกดาวที่ค้นพบโดยแมสซายเออร์เองและได้ให้หมายเลข 52 เมื่อ 7 กันยายน 1774 เมื่อจบจากสเก็ตเฮลิกซ์ ท้องฟ้าทางใต้เริ่มขุ่นและมีเมฆบาง หันมองทางทิศเหนือยังดูดี เปิดดูรายชื่อออบเจคเป้าหมายเจอเอ็ม52 ในกลุ่มดาวแคสสิโอเปียที่เวลานั้นเพิ่งข้ามเส้นเมอริเดียนพอดี ตำแหน่งของเอ็ม52 ให้ลากเส้นสมมติเป็นระยะทางที่เท่ากันจากดาวอัลฟ่า แคสสิโอปี (α Cas) ไปเบต้า แคสสิโอปี (β Cas) หากฟ้าดีพอก็จะมองเห็นได้ด้วยกล้องสองตา ถ้าจะใช้วิธีฮอปด้วยกล้องเล็งก็เริ่มจาก β Cas ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 6 องศา ต้องฮอปสองครั้ง ไม่ยากจนเกินไปครับ เราจะมองเห็นเอ็ม 52 ในกล้องเล็งเป็นฝ้าฟุ้งขนาดเล็ก ที่กำลังขยาย 33 เท่าจากกล้องดูดาว 8” f5 กระจุกดาวมีขนาดใหญ่พอสมควร มองเห็นดาวเป็นเม็ดได้ราว 20 ดวง และน่าจะมีอีกมากที่มองไม่เห็นเป็นดวงแต่เห็นเป็นแสงฟุ้งรอบกระจุกดาว ดาวดวงที่สว่างที่สุดจะอยู่ปล...