Thursday, February 21, 2019

Messier 31 Andromeda Galaxy




แกแลกซี่ที่อยู่ใกล้เรามากที่สุดและเป็นภาพสะท้อนของทางช้างเผือกเพราะเป็นดาราจักรแบบกังหันเหมือนกัน ในที่ไร้แสงรบกวนจากเมืองเราสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าปรากฎเป็นขีดจางบนท้องฟ้าในกลุ่มดาวแอนโดรมีด้า

ชาร์ล แมสซายเออร์ได้สังเกตเห็นว่ามีสองตัวอยู่ใกล้กันและกำหนดหมายเลขเป็น 31และหมายเลข 32 เมื่อปี 1764 ในปี 1773 แมสซายเออร์ส่องกล้องไปที่ M31 อีกครั้งเพื่อเสก็ตรูป M31 กับ M32 ทำให้พบวัตถุใหม่ที่จางกว่าและหลุดรอดสายตาไปทางทิศเหนือของ M31 เลยระบุหมายเลขให้เป็น M110 และเป็นตัวสุดท้ายของแมสซายเออร์แคตตาลอค

ผมเคยสังเกตุได้รายละเอียดมากที่สุดที่ภูสวนทราย ด้วยกล้องดูดาวขนาด 4 นิ้ว ถึงแม้ว่าความชื้นคืนนั้นจะสูงถึง96% แต่เห็นตัวแกแลกซี่ที่ใจกลางที่สว่างและป่อง มีแขนสองข้างยืดออกไปตามแนวทิศ NE-SW ปลายแขนสองข้างเหมือนจะแยกเป็นสองแฉก มีแถบสว่างเป็นทางยาวด้านทิศ SE อีกชั้น แกแลกซี่บริวาร M32 และ M110 ทั้ง 2 ตัวก็เห็นได้ไม่ยาก

เพราะว่าเห็นได้ด้วยตาเปล่า M31 ได้รับการระบุว่าเป็น “Little cloud” ในหนังสือ “Book of fixed star” ที่ออกตอนปี คศ. 964 ของนักดาราศาสตร์ชาวเปอร์เซียชื่อ อับดุลเราะห์มาน อัล-ซูฟิ (Abd-al-Rahman Al-Sufi) และเป็นที่เชื่อว่านักดาราศาสตร์เปอเซียน่าจะรู้จักอย่างน้อยก็ตั้งแต่ปี คศ.905

นักดาราศาตร์ได้สังเกตุ M31 เรื่อยมาแต่ยังไม่ปักใจเชื่อว่าเป็นแกแลกซี่ พวกเขายังเรียกว่า “Great Andromeda Nebula” มาจนกระทั่งในปี 1923 Edwin Hubble ได้พบดาวแปรแสงเซฟิอิดใน M31 ทำให้ระบุได้ชัดเจนว่า Andromeda อยู่ไกลออกไปมาก จนอยู่นอกทางช้างเผือก ดังนั้นจึงไม่ใช่เนบูล่าอย่างที่เข้าใจ

กาแลกซี่แอนโดรเมด้ามีขนาดปรากฏใหญ่กว่าพระจันทร์เต็มดวงคือประมาณ 1x3 องศา แต่ที่มองเห็นได้จะเป็นส่วนใจกลางที่สว่าง นอกจากนี้แอนโดรมีด้ายังมีกาแลกซี่เกี่ยวเนื่องกันในกลุ่มกาแลกซี่จำนวนมาก ปัจจุบันพบว่ามีกาแลกซี่แคระอยู่ 11 ตัวรวมถึง “เอ็ม 33” หรือ Pinwheel และกาแลกซี่ทางช้างเผือกของเราด้วย

ส่วนกระจุกดาวทรงกลมที่อยู่รอบแอนโดรเมด้าพบแล้ว 430 ตัว ตัวที่สว่างที่สุดเรียกว่า MayaII หรือ G1 สามารถใช้กล้องดูดาว 10” ขึ้นไป แต่ก็มีภาพสเก็ตจากกล้องดูดาวขนาดแค่ 6” แปลว่ากล้องดูดาวขนาด 6 นิ้วก็มีโอกาสครับ

ตำแหน่งของแอนโดรเมด้าจะอยู่ทางตะวันตกของดาวแมกนิจูด 3  มิว แอนโดรมีเมเด (μ And) แต่วิธีที่ง่ายที่สุดคือ M31 จะอยู่ประมาณครึ่งทางบนเส้นลากเส้นระหว่างดาวเชด้า (Shedar -ดวงที่เป็นยอดแหลม) ในกลุ่มดาวแคสสิโอเปีย ไปดาวแกมม่าแอนโดรเมเด (γ And)

หากอยู่ชานเมืองไม่เห็นด้วยตาเปล่าก็ใช้กล้องสองตาช่วยได้ครับ


คลิกภาพเพื่อขยาย


ข้อมูลทั่วไป
Name: Andromeda Galaxy
Catalog number: M31, NGC224
Type: Galaxy
Constellation: Andromeda
Visual Magnitude: 3.36
Apparent Size: 177.8’ x 69.2’
Distance: 2,500,000 ly

Coordinates
R.A. 00h 43m 46.58s
Dec. +41° 22’ 18”

No comments:

Post a Comment

กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ : Boötes

ภาพจาก Sky Safari …นั่นแน่แม่ดูดาวจระเข้ ศีรษะเหหกหางขึ้นกลางหาว ดาวนิดทิศพายัพดูวับวาว เขาเรียกดาวยอดมหาจุฬามณี... -พระอภัยมณี  บทกลอนที่คุ...