Posts

Showing posts from March, 2019

Messier104 : Sombrero Galaxy

Image
กลุ่มดาวเวอร์โก้หรือกลุ่มดาวราศีกันย์เป็นดงกาแลกซี่ เฉพาะแค่แมสซายเออร์ออบเจคก็มีกาแลกซี่ถึง 11 ตัว มีอยู่ตัวหนึ่งที่น่าสนใจทั้งประวัติการค้นพบและรูปร่างที่แปลกตา แมสซายเออร์ 104 หรือ Sombrero Galaxy อยู่ใกล้เขตติดต่อกับกลุ่มคอร์วัสหรือนกกา ทำให้เราฮอพจากกลุ่มดาวคอร์วัสหรือนกกาจะสะดวกกว่า คอร์วัสเป็นกลุ่มดาวขนาดเล็กที่สังเกตง่าย มองเห็นแม้แต่ชานเมืองกรุงเทพอย่างบางพลี มีดาวสว่างสี่ดวงเรี่ยงเป็นรูปสี่เหลี่ยมทางซีกฟ้าใต้ หากพอคุ้นกับนิทานกลุ่มดาว คอร์วัสเป็นอีกาที่เฝ้าคอยจะจิบน้ำในถ้วยทองที่งูไฮดราเฝ้าไว้ เอ็ม104 ค้นพบโดยปิแอร์ เมอร์แชนท์ผู้ที่เป็นทั้งเพื่อนและผู้ช่วยของแมสซายเออร์ในปี 1767 แต่ไม่ได้ถูกรวมไว้ในรายชื่อแมสซายเออร์ออบเจคที่ตีพิมพ์เมื่อปี 1771 เพิ่งจะได้รับการเพิ่มเข้าไปอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1926 โดย Camille Flammarion ผู้พบบันทึกส่วนตัวของแมสซายเออร์ที่กล่าวถึง Object นี้ว่า "Very faint nebula" ผมดูครั้งแรกเมื่อปลายปี2009 ที่บางพลีด้วยกล้องดูดาวหักเหแสง 4” ที่กำลังขยายราว 40เท่าต้องใช้วิธีมองเหลือบอย่างเดียว มีลักษณะเป็นขีดจาง ขอบทางเหนือโค้งเล็กน้อย...

Messier93

Image
หลังจากที่เสร็จจาก NGC2362 ในกลุ่มดาวหมาใหญ่ ผมขยับมาที่ดาวซี พัพพิส (ξ Pup) ในกลุ่มดาวท้ายเรือที่ห่างออกมาทางทิศตะวันออกราว 6 องศา แม้จะมีหมอกควันบังตาแต่ยังพอมองเห็น ξ Pup ด้วยตาเปล่าจางๆ กระจุกดาว M93 สว่างและห่างจาก ξ Pup แค่องศาครึ่ง ทำให้หาง่ายเพราะมองเห็นในฟิลด์ทั้งของกล้องสองตาและกล้องเล็งเป็นปื้นกลมขนาดเล็กใกล้ดาว ξ Pup ที่กำลังขยายปานกลาง(56x) กับกล้องดูดาวสะท้อนแสง 8 นิ้ว M93 สว่างเด่นท่ามกลางดาวด้านหลังที่พราวพรายระยับเป็นพิเศษ เพราะบริเวณนี้อยู่บนทางช้างเผือกพอดี ดาวที่ใจกลางกระจุกเรียงเป็นรูปสามเหลี่ยม และมีระยางค์ยืดยาวออกมาหลายกิ่งรอบด้าน ดาวสว่างสองดวงในกระจุกอยู่ฝั่งทางทิศตะวันตก สองดวงนี้มีสีส้มเหลือง ชัดมาก ผมประทับใจกระจุกดาวตัวนี้เป็นพิเศษ มีความน่ารักในตัวดูคล้ายแมลงอะไรสักอย่าง แต่สุดท้ายที่คิดถึงที่สุดคือตัวการ์ตูนที่ชื่อ Fido Dido ตัวการ์ตูนหน้าเป็นสามเหลี่ยมสีขาว ผมตั้งเป็นไม้กวาด แขนขายาวเป็นเส้น M93 เป็นกระจุกดาวที่ดูด้วยตาดีกว่ามองเห็นผ่านรูปถ่าย และยังส่งเสริมจินตนาการได้ดี ในหนังสือหลายเล่มบอกว่าคนมองเห็นเป็นรูปร่างต่างกันไปเช่น...

แมกนิจูดมาตรวัดความสว่างของดาว

Image
Hipparchus 190-120 BC Cr: Wikipedia มาตราวัดความสว่างของดาวเราใช้ระบบแมกนิจูดหรือโชติมาตร เชื่อหรือไม่ว่าระบบนี้คิดมาตั้งแต่ 129 ปีก่อนคริสตศักราชโดยฮิพพาร์คัส (Hipparchus) นักดาราศาสตร์ชาวกรีก ฮิพพาร์คัสจัดทำรายการดาวที่รู้จักโดยเรียกดาวที่สว่างที่สุดว่า “of the first magnitude” แปลว่า “ใหญ่ที่สุด” หรือ “สว่างที่สุด” ดวงที่สว่างรองลงมาเรียกว่า “of the secound magnitude” หรือสว่างอันดับสอง เรื่อยไปจนถึงดาวหรี่ที่สุดที่เขามองเห็นได้เรียกว่า “of the sixth magnitude” เวลาผ่านไปเกือบสามร้อยปีในปี คศ. 140 คลาวดิอัส พโตเลมี (Claudius Ptoleme) นำระบบนี้มาใช้ในรายชื่อดาวของเขาด้วย วิธีการและระบบที่มีดาวเล็กที่สุดคือ “แมกนิจูดที่หก” นี้ใช้งานได้ดีมาถึง 1400ปี จนกระทั่ง... กาลิเลโอได้ใช้กล้องดูดาวที่สร้างขึ้นมาส่องดูท้องฟ้าแล้วพบว่ายังมีดาวที่สว่างน้อยกว่าตามองเห็นหรือแมกนิจูดที่หก ตั้งแต่นั้นมาอุปกรณ์ดูดาวก็มีขนาดใหญ่ขึ้นและคุณภาพดีขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้กล้องสองตาที่ใช้ทั่วไปก็ไปได้ถึงแมกนิจูดที่ 9 กล้องดูดาวสะท้อนแสงขนาด 6 นิ้วก็อาจดูได้ถึงแมกนิจูดที่ 13 ส่วนกล้องฮับเบิ้ลที่ลอยอยู่ใ...

β Orionis : Rigel

Image
ภาพไรเจลที่กำลังขยาย 56 เท่า ไรเจลบีเป็นจุดเล็กข้างไรเจลเอ ภาพเล็กที่มุมขวาบนเป็นภาพที่กำลังขยาย 400 เท่า มองเห็น airy disk* รอบไรเจลเอ ดาวฤกษ์สีฟ้า-ขาวที่แม้จะได้ชื่อตามระบบเบเยอร์ว่า “เบต้า” หมายถึงสว่างเป็นลำดับที่สองรองจาก “อัลฟ่า” แต่ปัจจุบันกลับเป็นดวงสว่างที่สุดในกลุ่มดาวนายพราน ในหนังสือ Celestial Handbook, Burnham บอกไว้ว่า ไรเจลมาจากภาษาอาหรับ “Rigl Jauzah al Yusra” คำแปลคือ “เท้าซ้ายของยักษ์” ซึ่งตำแหน่งของดาวก็เป็นตามชื่อคือเท้าซ้ายของโอไรออน ใกล้ไรเจลมีดาวสว่างอีกดวงชื่อ “เคอร์ซ่า” (เบต้า อิริดานิ : β Eri) ดาวดวงนี้เป็นเหมือนตาน้ำ เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มดาวแม่น้ำและอีกนัยยะหนึ่งคือ เป็นที่รองเท้าของโอไรออน (Orion’s footstool) และเป็นดาวที่สว่างและใกล้เส้นศูนย์สูตรฟ้าทำให้มีความสำคัญต่อการระบุตำแหน่ง (ดาวที่ใกล้เส้นศูนย์สูตรฟ้ามากและดูได้ง่ายก็คือ “มินทักกา : Mintaka - δ Ori) ไรเจลเป็นดาวชนิดที่เรียกว่า blue-white super giant สว่างรองจากคาเพลล่าในกลุ่มดาวสารถี และสว่างเป็นลำดับที่ 7 บนท้องฟ้า มีความสว่างแมกนิจูด 0.34 ห่างจากเรา 860 ปีแสง ร้อนกว่าดวงอาทิตย์ ม...

NGC 2261 : Hubble’s Variable Nebula

Image
ระหว่างกลุ่มดาวนายพราน คนคู่ หมาเล็ก และหมาใหญ่ เป็นเหมือนที่ว่างเพราะไม่มีดาวสว่างให้เป็นจุดสังเกต ตรงนี้มีกลุ่มดาวจางกลุ่มหนึ่งที่มองยากแม้จากฟ้าชานเมืองขนาดเล็กอย่างบ้านหมี่ กลุ่มดาวโมโนเซรอสหรือม้ายูนิคอร์น โมโนเซรอสที่แม้จะจาง แต่มีเนบูล่าเล็กจิ๋วที่ไม่ค่อยเด่นดังเหมือนเพื่อนบ้านอย่างกระจุกดาวต้นคริสตมาส เนบูล่ารูปกรวย และเนบูล่าดอกกุหลาบ แต่ก็มีความน่าสนใจที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบตลอดเวลา NGC2261 เป็นเนบูล่าสะท้อนแสงที่ดูคล้ายดาวหาง ตรงจุดสว่างที่คล้ายหัวดาวหางคือดาวแปรแสงความสว่าง 12-14 แมกนิจูด ชื่อ R Monocerotis เนบูล่าตัวนี้อยู่ห่างจากกระจุกดาวต้นคริสมาสแค่องศาเศษทางทิศใต้ แต่มีขนาดเล็กมากทำให้พลาดได้ง่ายหากไม่รู้จักหรือไม่ตั้งใจไปเยี่ยม ผู้ที่พบคนแรกคือเซอร์วิลเลี่ยม เฮอร์เชลล์เมื่อปี 1783 ต่อมาในปี 1861 นักดาราศาสตร์ที่หอดูดาวเอเธนส์พบว่า R Mon เป็นดาวแปรแสงที่มีความสว่างต่างกัน 2 แมกนิจูด เฮ็ดวิน ฮับเบิ้ล ตรวจเจอว่าตัวเนบูล่าเปลี่ยนแปลงได้ในปี 1916 ไม่ใช่แค่รูปร่างและความสว่าง แม้แต่รายละเอียดภายในเนบูล่าก็เปลี่ยนไป เนบูล่าตัวนี้นักดาราศาสตร์ทำการศึกษากันมายาวน...