Posts

Showing posts from July, 2019

รู้จักกับแมสซายเออร์แคตตาลอค (3/3)

Image
นอกจากจะมีวัตถุล่องหนเป็นปริศนาแล้ว ยังมีวัตถุที่น่าสงสัยว่าเหตุใดถึงรวมอยู่ในแคตตาลอค และบางตัวไม่น่าจะสบสนกับดาวหางตามจุดประสงค์ของการรวบรวมออบเจคได้เลย M73 และ M40 โดยคุณภูมิภาค เส็งสาย ตัวแรกคือเอ็ม73 มีลักษณะเป็นดาวสี่ดวงเรียงเป็นตัวอักษร Y แมสซายเออร์เป็นผู้ระบุว่ามีเนบูล่าเบาบางฟุ้งอยู่รอบดาวทั้งสี่ดวง ภายหลัง John Herschel และนักดาราศาสตร์คนอื่นตรวจสอบซ้ำก็ไม่พบเนบูล่าดังกล่าว เอ็ม73 เป็นวัตถุที่ถกเถียงและตรวจสอบกันอย่างละเอียดว่าเป็นกระจุกดาวจริงหรือไม่มายาวนาน ข้อสรุปพลิกไปพลิกมา จนล่าสุดเมื่อปี 2002 สรุปว่าไม่ใช่กระจุกดาวเพราะดาวทั้งสี่เคลื่อนที่เป็นอิสระต่อกันไปคนละทิศทาง เอ็ม40 ที่นอกจากปัญหาเรื่องพิกัดทำให้ล่องหนแล้ว เอ็ม40 ยังน่าสงสัย เพราะเป็นดาวสองดวงคู่กัน ดาวคู่นี้แมสซายเออร์สำรวจตาม Johann Hevelius ผู้ที่รายงานว่าพบเนบูล่าบริเวณนี้ แต่เมื่อแมสซายเออร์มาตรวจสอบซ้ำพบว่าไม่มีเนบูล่าแต่เป็นดาวสองดวงและยังได้อธิบายลักษณะไว้อย่างละเอียด ข้อสงสัยคือทำไมแมสซายเออร์ส่งข้อมูลตัวนี้ไปเป็นเอ็ม40 คำตอบที่เป็นไปได้คือคือแมสซายเออร์น่าจะส่งข้อมูลผิดโดยไม่ตั้งใจ วัตถุชิ้นน...

รู้จักกับแมสซายเออร์แคตตาลอค (2/3)

Image
แมสซายเออร์ ออบเจคทั้ง 110 ตัว โดยคุณภูมิภาค เส็งสาย ย้อนไปเมื่อปี 2009 ผมมีโอกาสได้จัดทำโปสเตอร์แมสซายเออร์ให้คุณภูมิภาค เส็งสาย ผู้ถ่ายรูปวัตถุในรายการของแมสซายเออร์ได้ครบถ้วน ได้พิจารณาเอ็มออบเจคแบบละเอียดครบทุกชิ้นและการค้นข้อมูลทำให้ทราบว่าแมสซายเออร์แคตตาลอคมี “วัตถุที่ผิดพลาด” อยู่ด้วย เริ่มจากเอ็ม40 William Hershel ไม่พบวัตถุใดตามพิกัดที่แมสซายเออร์ให้ไว้ เวลาผ่านไปสองร้อยปี ในปี 1966 John Mallas พบว่าคำอธิบายของแมสซายเออร์เข้ากันได้กับดาวคู่ Winnecke4 ที่ Friedrich Winnecke สำรวจไว้เมื่อปี 1863 เอ็ม40 เลยกลับมามีตัวตนใหม่อีกครั้ง ตัวที่สองเป็นกระจุกดาวเปิดในกลุ่มดาวท้ายเรือเอ็ม47 ไม่พบวัตถุใดตามพิกัดที่แมสซายเออร์ให้ไว้เช่นกัน ผู้ที่ไขความจริงว่าแมสซายเออร์ให้เครื่องหมายพิกัดผิดแบบไม่ตั้งใจ คือ T.F. Morris ในปี 1959 ตัวที่สามเอ็ม48 กระจุกดาวเปิดที่ห่างจากเอ็ม47 แค่องศาเศษ แต่ตามพิกัดที่แมสซายเออร์ให้ไว้ก็ไม่พบอะไร T.F. Morris เป็นผู้อธิบายในปี 1959 ว่ากระจุกดาวที่ติดกับเอ็ม47 นี้เข้ากันได้กับคำอธิบายของแมสซายเออร์ เรื่องนี้คาดว่าอาจเป็นข้อผิดพลาดของแผนที่ดาวที่แมสซา...

รู้จักกับแมสซายเออร์แคตตาลอค (1/3)

Image
Chales Messier (1730-1817) Cr: Wikipedia 260 ปีก่อนนักดาราศาสตร์ชื่อชาร์ล แมสซายเออร์ (Charles Messier)  เฝ้ามองหาดาวหางจากหอดูดาวมารีนในกรุงปารีสประเทศฝรั่งเศสทุกค่ำคืน ด้วย ความหวังว่าจะเป็นคนแรกที่พบดาวหางฮัลเลย์ที่วนกลับมาใกล้โลกอีกครั้งตามคำทำนายของเอ็ดมัลด์ ฮัลเลย์ จนกระทั่งคืนวันที่ 28 สิงหาคม 1758 แมสซายเออร์กวาดกล้องดูดาวไปเจอรอยแต้มใกล้ดาวซีต้า ทอรีในกลุ่มดาววัว แมสซายเออร์คิดว่าเจอดาวหางดวงใหม่ แต่แสงฟุ้งจางที่พบไม่ได้เคลื่อนที่เหมือนดาวหางทั่วไป วัตถุปริศนาตัวนี้ได้รับการบันทึกลงในสมุด “รายการเจ้าปัญหา” (Embarrassing Catalog) สิ่งที่แมสซายเออร์จดบันทึกชิ้นแรกนั้นคือ "แมสซายเออร์หมายเลข 1" หรือเนบูลาปูซึ่งปัจจุบันทราบดีว่าเป็นซากที่เหลือจากการระเบิดของดาวฤกษ์หรือซูเปอร์โนวา (supernava remnant) ในปี 1771 แมสซายเออร์เสนอรายการเจ้าปัญหาที่รวบรวมไว้ในชื่อ "Chales Messier’s Catalog of Nebulae and Star Cluster" ที่มีวัตถุจำนวน 45 ชิ้นแก่ Académie des rsciences ในกรุงปารีส จากนั้นก็ร่วมมือกับผู้ช่วยปิแอร์ มีแชนท์ (Pierre Méchain) เพิ่มวัตถุลงไปในราย...

Archimedes Crater

Image
อาร์คิมิดิสนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักฟิสิกส์ นักปรัชญาและวิศวกรชาวกรีกโบราณผู้สร้างผลงานมากมายที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน หนึ่งในนั้นคือการพิสูจน์ค่า π และพิสูจน์ว่าพื้นที่ผิวทรงกลมมีค่า 2ใน3ของพื้นที่ผิงทรงกระบอกที่บรรจุทรงกลมนั้นไว้ เพื่อเป็นเกียรติแก่อาร์คิมิดิส หลุมอุกาบาตที่ใหญ่ที่สุดในทะเลแห่งสายฝนหรือ Mare Imbrium จึงได้รับการตั้งชื่อตามชาวกรีกผู้นี้ หลุมอาคิมิดิสมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 81 กิโลเมตร ลึก 2.1 กิโลเมตร เป็นแอ่งที่ไม่มียอดเขาตรงกลาง พื้นผิวในแอ่งราบเรียบจากการท่วมของลาวา ทางทิศเหนือของหลุมอุกาบาตมีเทือกเขาขนาดเล็กที่ชื่ออาร์คิมิดิสเช่นกัน เทือกเขาอาร์คิมิดิสสูงราว 2กิโลเมตร ภาพนี้เขียนในวันที่ 11 กรกฎาคม 2562 เป็นวันที่ 8 หลังเดือนดับ นับว่าเป็นช่วงพระอาทิตย์ขึ้นที่หลุมอาร์คิมิดิสพอดี จะเห็นเงาของขอบหลุมและภูเขาทอดยาวไปทางทิศตะวันตก เกิดเป็นแสงและเงาที่น่าสนใจสำหรับคนที่ชอบดูดวงจันทร์

Messier 107

Image
กระจุกดาวทรงกลมในกลุ่มดาวออพอียูคัสหรือคนแบกงู ผู้ที่พบคือปิแอร์ เมอร์แชนด์ ผู้ช่วยของแมสซายเออร์ในปี 1782 มีความเป็นไปได้ว่าเป็นออบเจคที่ค้นพบเป็นตัวสุดท้ายในการจัดทำแมสซายเออร์แคตตาลอค แต่สุดท้ายก็ไม่ได้รับการบรรจุเพิ่มเข้าไป จนกระทั่งในปี 1947 เฮเลน ซอร์เยอร์ ฮอกส์ ได้เสนอให้เพิ่ม เอ็ม104, เอ็ม105, เอ็ม106, เอ็ม107 ในแมสซายเออร์แคตตาลอค โดยอาศัยหลักฐานเป็นจดหมายของปิแอร์ เมอร์แชนท์ที่เธอค้นพบ เอ็ม 107 สว่างแค่แมกนิจูดที่9 ทำให้ไม่เห็นด้วยตาเปล่า เหมือนเอ็ม13 หรือเอ็ม 5ที่อยู่ละแวกนั้น แต่น่าจะเห็นจากกล้องสองตาขนาด 10x50 คล้ายดาวจางหากฟ้าดี ในกล้องดูดาวขนาด 8 นิ้ว ที่กำลังขยายต่ำ(56เท่า) เอ็ม107มองเห็นเป็นฝ้ากลมจาง ดาวในกระจุกจางเกินกว่าที่กล้องดูดาวขนาดนี้จะแยกออกมาเป็นเม็ดได้ อาจต้องใช้กล้องดูดาวที่มีขนาด 12 นิ้วขึ้นไปหากต้องการแยกดาวภายในกระจุกออกมาเป็นดวงให้ชัดเจน เอ็ม107 ห่างจากดาว ซีต้า ออพอียูชิ (ζ Oph) หรือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 3 องศา อยู่ในฟิลด์ของกล้องเล็งพร้อมกันได้เลย คลิกภาพเพื่อขยาย ข้อมูลทั่วไป Catalog number: NGC6171, Messier 107 Constellat...

NGC4631 : Whale Galaxy

Image
กาแลกซี่กังหันแบบ edge-on หรือหันข้างเข้ามาหาเรา ห่างจากดาวที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวคาเนสเวอแนตติซายหรือสุนัขล่าเนื้อทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 6.5องศา ค้นพบโดย วิลเลี่ยม เฮอเชลล์ในปี 1787 NGC4631 เป็นหนึ่งใน edge-on ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนท้องฟ้า รูปร่างที่บิดเบี้ยวเล็กน้อย เหตุเพราะแรงกระทำจากกาแลกซี่ขนาดเล็ก NGC4627 ที่อยู่ใกล้ๆ จากที่มีรูปร่างที่โค้งเล็กน้อยนี่เอง ทำให้ดูคล้ายปลาวาฬหรือปลาแฮริ่งอันเป็นที่มาของชื่อ ภาพในกล้องดูดาวขนาด8นิ้ว มองเห็นแสงฟุ้งจางเป็นทางยาว ส่วนที่สว่างที่สุดจะอยู่ชิดมาทางขอบด้านทิศเหนือ ถือว่าสว่างมากทีเดียวเพราะมองเห็นแสงเป็นจุดได้หลายจุดด้วยวิธีมองเหลือบ ส่วนNGC4627จางเกินกว่าจะมองเห็นได้จากกล้องดูดาว 8 นิ้ว การสังเกตุ Whale Galaxy ให้ดีควรดูผ่านกล้องดูดาวขนาด 12 นิ้วขึ้นไปเพราะจะเห็นคู่ของมันได้ชัดเจนกว่า หากฟ้าดีพอ อาจจะได้เห็นว่ากาแลกซี่ตัวนี้บิดโค้งเล็กน้อยด้วยก็เป็นไปได้ NGC4631 ตำแหน่งอยู่ราวครึ่งทางจากดาวอัลฟ่าคาเนสเวอร์แนตติซิหรือดาวที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวสุขนัขล่าเนื้อไปดาวแกมม่าโคเม่เบอเรนิซ เนื่องจากมองไม่เห็นในกล้องเล็งจึงต้องอาศั...

Messier 5

Image
เอ็ม 5 ในกลุ่มดาวงูเซอร์เพนส์ หนึ่งในสามกระจุกดาวทรงกลมที่สวยที่สุดบนท้องฟ้าซีกเหนือ ที่มี เอ็ม13 เอ็ม3 และเอ็ม5 มีค่าความสว่าง 5.6 แมกนิจูด ทำให้มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้ในที่มืดสนิท ผู้ที่พบคนแรก ได้แก่นักดาราศาสตร์เยอรมันชื่อ Gotifried Kirch และภรรยา Maria Margarethe  ในปี 1702  ระหว่างที่ทั้งสองคนสำรวจดาวหาง Kirch อธิบายไว้ว่า “Nebulous Star” หรือ “ดาวที่ฟุ้งมัว” แมสซายเออร์พบอีกครั้งในปี 1764, วิลเลี่ยม เฮอร์เชล เป็นคนแรกที่ระบุว่าเอ็ม 5 เป็นกระจุกดาวทรงกลมด้วยกล้องดูดาวขนาด 40 ฟุตในปี 1791 แมสซายเออร์หมายเลข 5 เป็นวัตถุที่เหมาะกับกล้องดูดาวทุกขนาด ด้วยกล้องดูดาวขนาดเล็กหรือกล้องสองตาจะเห็นเป็นจุดฟุ้งขนาดเล็กคล้ายกับดาวแต่ไม่ใช่ เราจะเริ่มแยกดาวในกระจุกออกเป็นมาเป็นเม็ดได้ต้องอาศัยกล้องดูดาวที่ขนาดราว 4 นิ้วขึ้นไป กล้องดูดาวที่มีขนาดใหญ่ขึ้นรายละเอียดก็จะยิ่งมากตามไปด้วย ภาพจากกล้องดูดาว 8 นิ้ว เอ็ม5 มีขนาดใกล้กับเอ็ม 13 แต่รายละเอียดและรูปร่างต่างกัน ในขณะที่เอ็ม 13 เต็มไปด้วยระยางค์จำนวนมากทำให้คิดถึงปลาหมึกหรือแมงกระพรุน แต่เอ็ม 5 ทำให้ผมคิดถึงปูมะพร้าว แต่...