NGC2440
เนบิวล่าดาวเคราะห์จะมีขนาดเล็กแต่จะสว่าง ทำให้เป็นตัวเลือกเวลาจะสำรวจท้องฟ้าจากบ้านบางพลี หลายตัวทำให้ประหลาดใจแบบ NGC2240 ในกลุ่มดาวท้ายเรือ
กล้องดูดาวที่มีความยาวโฟกัสสูงๆอย่างทาคาฮาชิมิวลอน 210 ช่วยได้มากกับเพทายสีฟ้าเม็ดจิ๋วแบบนี้
ที่กำลังขยายต่ำ 2440 ก็เป็นจุดฟุ้งคล้ายดาวสีฟ้าเหมือนเนบิวล่าดาวเคราะห์ตัวอื่น สามารถไล่กำลังขยายขึ้นไปได้เรื่อยๆจนไปสุดที่ 480x ถึงภาพจะมืดมากแต่ก็ช่วยให้พอจะมองเห็นว่าเนบิวลาเป็นแสงฟุ้งทรงยาวรีไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน ที่น่าสนใจคือมีปมแสงสองจุดอยู่ภายใน
ดาวแคระขาวที่ใจกลางดูได้ยาก ผมมองไม่เห็น แต่น่าสนใจเพราะเป้นหนึ่งในดาวแคระขาวที่ร้อนที่สุดที่มีการค้นพบ (219,000 Kelvin)
ที่กำลังขยายต่ำ 2440 ก็เป็นจุดฟุ้งคล้ายดาวสีฟ้าเหมือนเนบิวล่าดาวเคราะห์ตัวอื่น สามารถไล่กำลังขยายขึ้นไปได้เรื่อยๆจนไปสุดที่ 480x ถึงภาพจะมืดมากแต่ก็ช่วยให้พอจะมองเห็นว่าเนบิวลาเป็นแสงฟุ้งทรงยาวรีไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน ที่น่าสนใจคือมีปมแสงสองจุดอยู่ภายใน
ดาวแคระขาวที่ใจกลางดูได้ยาก ผมมองไม่เห็น แต่น่าสนใจเพราะเป้นหนึ่งในดาวแคระขาวที่ร้อนที่สุดที่มีการค้นพบ (219,000 Kelvin)
ตัวเนบิวล่ามีขนาดและความสว่างใกล้เคียงกับเอสกิโมเนบิวล่าดาวเคราะห์อีกตัวในกลุ่มดาวคนคู่ ผมลองดูจาก Borg 101ED กล้องดูดาวหักเหแสงขนาด 4” คู่ชีพ ก็ดูได้ที่ 36x มองเห็นเป็นจุดฟุ้งน้อยๆ คล้ายดาวแต่ไม่ใช่ สีฟ้าไม่ชัดเจนนัก
ตำแหน่งหาไม่ยากนัก ห่างจาก M46 ไปทางทิศใต้ 4 องศา
ถึงจะไม่เป็นที่รู้จักนัก แต่ผมว่าเป็นตัวที่น่าสนใจอีกตัวสำหรับ Visual Observer แนะนำให้ใช้กำลังขยายสูงกับกล้องดูดาวขนาด 8” ขึ้นไปครับ
ถึงจะไม่เป็นที่รู้จักนัก แต่ผมว่าเป็นตัวที่น่าสนใจอีกตัวสำหรับ Visual Observer แนะนำให้ใช้กำลังขยายสูงกับกล้องดูดาวขนาด 8” ขึ้นไปครับ
![]() |
คงิกภาพเพื่อขยาย Cr : Cartes du Ceil |
ข้อมูลเบื้องต้น
Catalog No.: NGC2440
กลุ่มดาว: Puppis
ประเภท: Planetary Nebula
Visual Magnitude: +9.3
dia: 1.2x0.7 arcmin
ระยะทางจากโลก: 5400 ly
R.A.: 07h 42m 51.72s
Dec.: -18° 15’ 32.4”
อ้างอิง
http://stars.astro.illinois.edu/sow/n2440.html
Comments
Post a Comment