Posts

Showing posts from December, 2018

NGC7331

Image
กาแลกซี่แบบกังหันที่เป็นที่รู้จักดีตัวหนึ่ง ค้นพบโดยวิลเลี่ยม เฮอร์เชลล์เมื่อปี 1784 บริเวณนี้มีกาแลกซี่จางๆ อยู่เป็นจำนวนมาก NGC7331 เป็นตัวที่มีขนาดใหญ่และสว่างที่สุดในกลุ่มดาวเพกาซัส กลุ่มกาแลกซี่สเตฟาน ควินเต็ดที่เป็นที่ขึ้นชื่อว่ายากสำหรับ Visual Observer ก็อยู่ห่างไปครึ่งองศาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้แค่นั้นเอง NGC7331 เป็นเหมือนคู่แฝดของกาแลกซี่ทางช้างเผือก มีรูปร่าง ขนาดและมวลใกล้เคียงกัน ทำให้เป็นตัวอย่างการศึกษาเพื่อเทียบเคียงทางช้างเผือกของเราเอง ข้อแตกต่างอย่างเดียวที่มีคือทางช้างเผือกมีบาร์สั้นๆบริเวณใจกลาง ในคืนวันที่ 6 พฤศจิกายน ที่หอดูดาว TJ อำเภอบ้านหมี่ ฟ้าค่อนข้างดี มีเมฆเล็กน้อย หลังจากปรับตั้งกล้องเล็งกล้องดูดาวสะท้อนแสงตัวใหม่เรียบร้อย "The Great Square" สี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ในกลุ่มดาวเพกาซัสก็อยู่ตำแหน่งสูงที่สุดบนฟ้าพอดี ผมมองหาดาวที่เป็นข้อเข่าหน้าของม้าเพกาซัส “อีต้า เพกาซาย” (η Peg), NGC 7331 จะห่างออกไป 4 องศาครึ่งทางทิศเหนือของดาวดวงนี้ การหาตำแหน่งไม่ยากนัก อาจจะฮอปสองครั้งโดยเปิดแผนที่ดาวช่วยก็จะง่ายขึ้น NGC7331 สว่างดีทีเดียวผมมองเ...

NGC2903

Image
ภาพสเก็ตจากกล้องดูดาว 8 นิ้ว โดยผู้เขียน แกแลกซี่กังหันที่สว่างที่สุดตัวนึงบนท้องฟ้าในกลุ่มดาวสิงโต ห่างออกไปจากเรา 30ล้านปีแสง มีความสว่างแมกนิจูดที่ 9 และมีขนาดปรากฎ 12’x5.4’ ซึ่งถือว่าใหญ่ทีเดียว อยู่ห่างจากดาวแกมม่า ลีโอนิส (γ Leonis) ไปทางทิศใต้ราวๆ 1.5° เป็นอีกออบเจคที่แมสซายเออร์พลาดไปอย่างไม่น่าเชื่อ หากเปิดแอพแผนที่ดาวดูจะพบว่าแกแลกซี่ตัวนี้มีหมายเลขกำกับอยู่สองตัวคือ NGC2903 กับ NGC2905 เหตุเพราะวิลเลี่ยม เฮอเชลล์ บันทึกไว้ในปี 1784 ว่า “Double Nebula, each having a seeming nucleus, with their apparent nebulosities running into each other” ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจว่า ทำไมเฮอเชลล์ถึงมองเห็นเป็นเนบูล่าสองตัว ภาพ NGC2903 สเก็ตจากกล้องดูดาว 4นิ้ว Borg 101ED ที่ 33 เท่า ภาพจะกว้างกว่ารูปบน ลองเปรียบเทียบกับภาพบนดูครับ สภาพท้องฟ้าที่มีมลภาวะทางแสงค่อนข้างมากที่หมูสีใกล้ๆเขาใหญ่ ทำให้ยากกับการดูกาแลกซี่เพราะท้องฟ้าสว่าง ทำให้รายละเอียดต่างๆถูกกลืนหายไปหมด ด้วยกล้องดูดาวขนาด 4 นิ้วที่กำลังขยาย 35เท่า กาแลกซี่สว่างเป็นแถบยาวคล้ายวงรี ใจกลางที่สว่างหากมอง...

NGC2169 -The 37 Cluster

Image
บนฟ้าก็มีตัวเลข NGC2169 หรือ 37 คลัสเตอร์ สเก็ตโดยผู้เขียน กลางดึกเมื่อต้นเดือนธันวาคม เสียงเครื่องสูบน้ำดังตึ๊กตึ๊กตึ๊ก เพื่อสูบน้ำเข้านาข้างหอดูดาวแว่วเสียงมาในขณะที่ผมกำลังเล็งกล้องดูดาวไปที่บริเวณมือของโอไรออนที่จับกระบองชูเหนือหัว ผมมองหานู โอไรออนนิส (ν Ori) และซาย โอไรออนนิส (ξ Ori) ในกล้องเล็ง หากใช้ดาวทั้งสองดวงเป็นฐานที่ยอดของสามเหลี่ยมจะมองเห็นจุดสว่างปนฝ้าขนาดเล็ก นี่คือเป้าหมายแรกของคืนนี้ ภาพที่เห็นในกล้องดูดาวทำให้ยิ้มกว้าง ตัวเลข 37 กลับหัวมองเห็นชัดเจนในเลนส์ตา หากไม่ได้มองเป็นตัวเลข กระจุกดาวตัวนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ผมนับได้รวมกันราว 20-30 ดวง มีราว 10 ดวงที่ต้องมองเหลือบถึงจะเห็น แม้สภาพท้องฟ้าขุ่นไม่ใส แต่ยังเห็นดาวที่เรียงเป็นตัวเลขชัดเจนทุกดวง เพราะแบบนี้กระจุกดาวตัวนี้เลยได้ชื่อเล่นว่า 37 คลัสเตอร์ไปโดยปริยาย แนะนำให้ดูด้วยกล้องสะท้อนแสงเพราะภาพที่เห็นจะเป็นภาพจริงหัวกลับทำให้เราอ่านตัวเลขได้ง่าย แต่หากใช้กล้องหักเหแสงและใช้ไดอะโกนอล จะดูตัวเลขยากกว่าเพราะเป็นภาพกลับซ้ายขวาเหมือนดูในกระจก ตามประวัติกระจุกดาวตัวนี้ค้นพบโดย วิลเลี่ยม เฮอเชลล์ เมื่อปี 1784...

Messier 79

Image
เอ็ม 79 ที่เห็นจากกล้องดูดาว 8 นิ้วที่กำลังขยาย 111 เท่า ภาพสเก็ตโดยผู้เขียน ในกลุ่มดาวลีปุสหรือกระต่ายป่ามีกระจุกดาวทรงกลมหรือ Globular Cluster ขนาดเล็กจิ๋วอยู่ตัวหนึ่ง และดูเหมือนว่าจะอยู่ผิดที่ผิดทางเพราะกระจุกดาวทรงกลมส่วนใหญ่จะกระจายตัวอยู่รอบแกนกลางทางช้างเผือก แต่ M79 อยู่ไกลออกมามาก แมสซายเออร์ 79 ค้นพบโดยปิแอร์ เมอร์แชนในเดือนตุลาคมปี 1740 อีก 2 เดือนถัดมาแมสซายเออร์นำข้อมูลของเมอร์แชนมาตรวจสอบซ้ำอีกครั้ง แล้วบรรจุเข้าไปในแมสซายเออร์ แคตตาลอคในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั่นเอง ผมเคยดู เอ็ม79 ด้วยกล้องดูดาวขนาด 4 นิ้วมาครั้งหนึ่ง คราวนั้นที่ปากช่องมี haze หรือหมอก ท้องฟ้าสว่าง ทำให้เพิ่มกำลังขยายแล้วภาพมืดมาก ดูลำบาก คราวนี้ฟ้าดีกว่าคราวก่อน กล้องดูดาวก็มีขนาดใหญ่ขึ้น ที่กำลังขยาย 111 เท่า เอ็ม 79 เป็นฝ้ากลมใจกลางกระจุกสว่าง มีขอบเขตที่จางลงและกว้างออกไป เอ็ม 79 ที่ดูผ่านกล้องดูดาวขนาด 4 นิ้วที่กำลังขยาย 38 เท่า ภาพสเก็ตโดยผู้เขียน ใจกลางตัวกระจุกดาว ดูเหมือนมียอดแหลมยื่นออกไป 2 ข้างตรงข้ามกัน มันทำให้นึกถึงเมล็ดบ๊วยเค็ม :) ยอดแหลมที่ว่านี้ไม่เห็นในภาพ...

NGC2264 Christmas Tree Cluster

Image
มองเห็นต้นคริสต์มาสกันหรือเปล่า? ดาวสว่างทางซ้ายมือคือ 15 Mon ภาพสเก็ตโดยผู้เขียน กระจุกดาวต้นคริสต์มาสหรือ NGC2264 ในกลุ่มดาวม้ายูนิคอร์น หากอยู่ไกลจากตัวเมืองและฟ้าดีสักหน่อยจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ใกล้ปลายขาของคู่แฝดพอลลักซ์หรือ ซาย เจมิโนรุม (ξ Gem) เป็นกระจุกดาวที่ดูได้สวยด้วยกล้องสองตา ดาวในกระจุกเรียงเป็นต้นคริสต์มาสหรือหัวลูกศรก็แล้วแต่จินตนาการ ดาวดวงที่สว่างที่สุดในกระจุกคือ 15 โมโนเซโรติส (15 Mon) มีความสว่าง 5 แมกนิจูด กระจุกดาวตัวนี้หากเป็นภาพถ่ายจะมองเห็นเนบูล่าสีแดงเต็มเต็มพื้นที่ สวยงาม บริเวณยอดของต้นคริสต์มาสจะมีเนบูล่าที่มีชื่อเสียงมากตัวหนึงคือเนบูล่ารูปกรวยหรือ Cone Nebula  เนบูล่าทั้งหมดรวมถึงเนบูล่ารูปกรวยไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาของเราเพราะกลุ่มกาซจางมีความเข้มของแสงน้อย ฟิลเตอร์ที่ใช้ดูเนบูล่าอย่าง OIII หรือ UHC ช่วยให้มองเห็นเนบูล่ารอบดาวสว่างได้ง่ายขึ้นแต่ก็ไม่ได้สว่างทั่วทั้งกระจุกดาวแบบในภาพถ่าย หาตำแหน่งไม่ยากแม้จะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เพราะสามารถวางให้อยู่ในฟิลด์กล้องเล็งเดียวกันกับซาย เจมิโนรุมหรือปลายขาของพอลลักซ์ ที่สว่างราวแมก...

NGC40

Image
NGC40 ภาพสเก็ตโดยผู้เขียน NGC40 หรือ Caldwell 2 เนบูล่าดาวเคราะห์ในกลุ่มดาวเซฟิอุส คนแรกที่พบคือวิลเลียม เฮอเชลล์เมื่อปี 1788 เฮอเชลล์บรรยายไว้ว่า “ดาวแมกนิจูด 9 ที่ล้อมรอบด้วยเนบูล่าสีน้ำนม” ในยุคนั้นเฮอเชลล์ใช้กล้องดูดาวขนาดหน้ากล้อง 475มม แต่ในยุคนี้คุณภาพของอุปกรณ์ดีขึ้นมาก มีรายงานว่ากล้องดูดาวขนาด 100มม ก็สามารถชมได้แล้ว ในคืนที่ผมสังเกต เป็นเวลาราวเที่ยงคืนของต้นเดือนธันวาคม กลุ่มดาวเซฟิอุส อยู่ตำแหน่งตะแคงข้างและเริ่มลับขอบฟ้า หอดูดาว TJ แม้จะอยู่ใกล้ตัวเมืองบ้านหมี่แต่แสงรบกวนจากตัวเมืองไม่มากนัก ทิศเหนือมองเห็นดาวเหนือสว่างกว่าที่เขาใหญ่เสียอีก ทำให้พอจะมองเห็นดาวแมกนิจูด 3-4 บริเวณนั้นได้อยู่ ด้วยกล้องดูดาวสะท้อนแสงขนาด 8 นิ้ว เริ่มจากกำลังขยายต่ำที่สุดคือ 33 เท่า แม้ว่าต้องใช้วิธีมองเหลือบแต่ NGC40 ก็ถือว่าเป็นเนบูล่าดาวเคราะห์ที่สว่างมากตัวหนึ่ง เมื่อเพิ่มกำลังขยายอีกขั้นหนึ่งเป็น 56เท่า เป็นเรื่องแปลกที่มองเห็นง่ายขึ้น ชัดเจนขึ้น NGC40 มีดาวสว่างดวงหนึ่งอยู่ตรงกลางแผ่นดิสก์จางขาว ลักษณะเหมือนที่เฮอเชลล์บรรยายไว้ทุกประการ เมื่อเพิ่มกำลังขยายเป็น 133 เท่...

NGC2392 Eskimo Nebula

Image
ภาพสเก็ตเอสกิโมเนบูล่า โดยชล เนบูล่าดาวเคราะห์จิ๋วในกลุ่มดาวคนคู่ ตำแหน่งใกล้กับดาวคู่ 63 เจมิโนรุมที่สว่างประมาณแมกนิจูด 5 ค้นพบโดยวิลเลี่ยม เฮอเชลล์ในปี 1787 และมีคำอธิบายโดยจอห์น เฮอเชลล์ไว้ว่า “ ดาวสว่างแมกนิจูด 9 อยู่ตรงกลางพอดีของทรงกลมสว่างที่มีบรรยากาศกระจายออกไปโดยรอบ ” สำหรับผมเอง ดูด้วยกล้องสะท้อนแสงขนาด 8 นิ้ว ความยาวโฟกัสที่ 1000 มม เริ่มจากกำลังขยาย 33 เท่า เมื่อวางดาว 63 เจมิโนรุมไว้กลางฟิลด์ ต่ำลงไปทางทิศใต้ ราวครึ่งองศา จะมองเห็นดาวสองดวงอยู่คู่กันสว่างใกล้เคียงกัน ดวงหนึ่งสีจะออกฟ้าเขียว เมื่อดูให้ดีจะเห็นว่าไม่ใช่จุดแสงแต่เป็นแผ่นกลมขนาดเล็กมาก

NGC7293 Helix Nebula

Image
เฮลิกซ์เนบูล่า ภาพกลับค่าสีจากขาวเป็นดำให้เหมือนกับภาพที่เห็นจริงผ่านกล้องดูดาว หัวค่ำวันที่ 4 ธันวาคมที่ผ่านมาเป็นโอกาสสุดท้ายของปีที่จะดู NGC7293 เนบูล่าดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้โลกและมีขนาดใหญ่ที่สุดบนท้องฟ้าในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำหรือราศีกุมภ์ เฮลิกซ์เนบูล่าหรือ NGC7293 ได้ชื่อมาจากลักษณะที่เหมือนวงกลมซ้อนกันสองวงทำให้มองเห็นเป็นเกลียว ตัวเนบูล่ามีขนาดใหญ่ราว 1/4 องศาหรือครึ่งหนึ่งของพระจันทร์เต็มดวง ตัวเนบูล่าแม้จะจางมากแต่ก็มีรายงานว่ามองเห็นได้จากกล้องสองตาขนาด 50 มม ซึ่งผมก็เชื่อว่ามองเห็นได้หากท้องฟ้ามืดและใสพอ ในวันที่ผมสังเกต เฮลิกซ์อยู่สูงจากขอบฟ้าทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 45 องศา อากาศก็ไม่ค่อยดีนักมีหมอกควันบางๆ เมื่อรวมกับแสงไฟจากตัวเมืองอำเภอบ้านหมี่ที่อยู่ด้านนี้ทำให้ท้องฟ้าดูสว่างโพลนไปหมด ดาวสว่างที่สุดที่มองเห็นราวแมกนิจูดที่ 3 ผมเริ่มต้นการเดินทางจากดาวสว่างทางทิศใต้ที่ชื่อ “ ฟอมาลฮอลท์ ” (Fomalhult) จากนั้นเปิดแผนที่ฮอปไปจนเจอดาว “ อัพซิลอน อควาริ ” (ε Aqualii)  เฮลิกซ์จะอยู่ราว 1/3 ของระยะทางไปดาว “47 อควารี ” เส้นทางการ...

46P/Wirtanen Wide field

Image
ดาวหาง 46P เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2561 ในวันนั้นอยู่บริเวณรอยต่อกลุ่มดาวซีตัสและแม่น้ำ ดาวสว่างใกล้เคียงคือ π Cet ใกล้กับโค้งของแม่น้ำ วันนั้นท้องฟ้าใสดี สามารถมองเห็นกลุ่มดาวแม่น้ำได้ทั้งกลุ่ม ทางช้างเผือกบริเวณนายพรานมองเห็นเลือนลาง

46P/Wirtanen's Core

Image
เมื่อคืนวันที่ 1 มีโอกาสได้สเก็ตดาวหาง 46P ด้วยกล้องดูดาวขนาดใหญ่ Planewave  CDK700 ขนาดกระจก 70 ซม ความยาวโฟกัส 4540  มม  ติดตั้ง บนยอดโดมที่หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฉะเชิงเทรา ที่กำลังขยาย 350 เท่า จะเห็นนิวเคลียสของ ชัดเจน มองเห็นหางสว่างเป็นสาย จากนิวเคลียส ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และมีจุดสว่างเล็กๆเกาะหลังนิวเคลียสบนแนวหางอีกจุดหนึ่ง ภาพที่เห็นสว่างมัวทั้งฟิลด์คาดว่าน่าจะเป็นเพราะโคม่าหรือหนัวของดาวหางใหญ่ล้นฟิลด์ภาพออกไป ตอนที่เริ่มต้นสเก็ต ดาวหาง อยู่กลางฟิลด์พอดี แต่เมื่อเขียนภาพเสร็จดาวหางไหลจนนิวเคลียสเกือบตกขอบภาพทางทิศเหนือ ได้ลองดูด้วยกล้องสองตาขนาด 8x40 ก็มองเห็นได้แต่ต้องอาศัยการมองเหลือบ และเห็นบ้างไม่เห็นบ้าง หากอยากสังเกตด้วยกล้องสองตาแนะนำให้หาพื้นที่ๆไร้แสงรบกวนจากเมืองครับ