Posts

Showing posts from February, 2019

Messier 74

Image
พายุปาบึกที่กำลังเคลื่อนตัวมาทางเหนือในทะเลอันดามัน มีอิทธิพลให้ท้องฟ้าที่สวนป่าแม่แจ่มมีเมฆมาก คืนนั้นฟ้าไม่นิ่ง เมฆมากเมฆน้อยสลับกันไป ทำให้ทำงานได้ลำบากแต่ดวงดาวเกลื่อนฟ้าที่เห็นตามช่องว่างทำให้รู้สึกมีกำลังใจขึ้นบ้าง ที่นี่แทบจะไม่มีแสงสว่างจากมลภาวะทางแสงให้เห็นแม้แต่ที่ขอบฟ้า ฟ้าแบบนี้เป้าหมายก็ต้องเป็นกาแลกซี่ ดูจากรายชื่อและบริเวณที่ยังไม่มีเมฆผมเลือกกาแลกซี่เอ็ม74 เป็นตัวแรก ที่จริงก็ไม่ได้หายากนักเพราะห่างจากดาวอีต้า พิซเซียม (η Psc) แค่หนึ่งองศาเศษ แต่ด้วยเมฆเดี๋ยวผลุบเดี๋ยวโผล่ ทำให้ต้องคอยจังหวะฟ้าเปิดเป็นระยะ กาแลกซี่เอ็ม 74 ที่เห็นในเลนส์ตาเป็นฝ้าฟุ้งกลม ใจกลางสว่าง ถือว่าเป็นกาแลกซี่ที่สว่างทีเดียว แต่เมื่อกลับมาค้นข้อมูลผมแปลกใจที่หลายคนบอกว่าเป็นกาแลกซี่ที่จางและดูยากที่สุดของแมสซายเออร์แคตตาลอค สตีเฟ่น โอเมรา เขียนไว้ในหนังสือ “The Messier Object” ว่าเคยดูด้วยกล้องสะท้อนแสงขนาด 9” ผลคือไม่พบอะไรเลย และเป็นที่น่าประหลาดใจขึ้นไปอีก เมื่อมีคนดูได้ด้วยกล้องหักเหแสงขนาดแค่ 4 นิ้ว แม้กระทั่งกล้องสองตาขนาด 14x70 ที่เป็นแบบนี้ผมคิดว่ามีสองเหตุผล อย่างแรกความสว่างพื้นผ...

Messier 47

Image
เข้าสู่ปลายฤดูหนาว ตอนหัวค่ำจะเห็นว่ากลุ่มดาวนายพรานขยับมาอยู่ใกล้กลางฟ้า ดาวโจรหรือซิริอุสเด่นสว่างทางทิศใต้ เมื่อฟ้าใสและไร้มลภาวะทางแสงจะเห็นว่าต่ำจากซิริอุสลงไปเป็นทางช้างเผือก มีดวงดาวส่องประกายระยิบระยับกลาดเกลื่อน ก่อนศตวรรษที่ 18 ท้องฟ้าบริเวณนี้คือกลุ่มดาวเรืออาร์โก้ที่เจสันใช้เดินทางหาขนแกะทองคำ ในปี 1930 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) ย่อยกลุ่มดาวขนาดที่กินพื้นที่กว้างขวางที่สุดบนทัองฟ้าตัวนี้ออกเป็น 3 กลุ่มคือ ท้ายเรือ ท้องเรือและใบเรือ บริเวณเขตแดนติดต่อระหว่างท้ายเรืออาร์โก้ กลุ่มดาวม้ายูนิคอร์นและหมาใหญ่ มีกระจุกดาวหลายตัว แต่ที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าจากท้องฟ้าแมกนิจูด 4 อย่างบ้านหมี่ก็คือ เอ็ม 47 การหาตำแหน่งของเอ็ม 47 ด้วยกล้องสองตาไม่ยากนักหากฟ้ามืดพอที่จะมองเห็นดาวอัลฟ่ามอโนเซโรติส (α Mon) เอ็ม 47 ห่างจากดาวดวงนี้ 5 องศาไปทางทิศใต้ ข้างกันจะมีกระจุกดาวอีกตัวคือเอ็ม 46 ทั้งสองตัวจะเห็นอยู่ในฟิลด์เดียวกันของกล้องสองตา หากอัลฟ่าโมโนเซรอติส  (α Mon)  จางเกินไป ให้มองหาดาวเบต้า คานิสเมเจอริส (β CMa) ที่เป็นเท้าหน้าของหมาใหญ่ ลากเส้นสมมติจากดา...

Messier 34

Image
คืนวันขึ้น 7 ค่ำ เดือนหงายเกือบครึ่งดวงกำลังจะลับยอดไม้ ท้องฟ้าสะท้อนแสงจันทร์สว่างเรืองแปลว่ามีหมอกหรือเมฆบางอยู่ทั่วไป อากาศกำลังสบายและลมสงบ คืนนี้ที่หอดูดาวทีเจไม่ได้ยินเสียงเครื่องสูบน้ำของนาข้าวรอบๆ แต่เสียงท้องทุ่งยังดังระงมพาให้ความสุขในใจกรุ่นโชยขึ้นมาเหมือนเดิม ผมเล็งกล้องดูดาวไปที่ครึ่งทางระหว่างดาวที่เป็นตาของเมดูซ่าหรือ “อัลกอร์” กับดาวคู่สีน้ำเงิน-ส้มในกลุ่มดาวแอนดรอมีด้าชื่อ “อัลมัค” ในกล้องเล็งมองเห็นกระจุกดาวชัดเจน เอ็ม 34 เป็นกระจุกดาวที่สว่างในที่ที่มืดพอและฟ้าเป็นใจเราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีนักดูดาวหลายคนบอกว่าภาพเอ็ม 34 แบบมุมกว้างกำลังขยายต่ำดูดีกว่าใช้กำลังขยายสูง เช่นวอลเตอร์ สก๊อตบอกว่าเขาชอบดูเอ็ม 34 ที่กำลังขยายต่ำจากกล้องสองตาขนาด 15x65 มากกว่ากล้องดูดาวตัวใหญ่ สำหรับผมภาพจากกล้องสองตา 8x40 ก็ดูสวยงามทีเดียวแต่ภาพจากกล้องดูดาว 8 นิ้วกลับสร้างความประทับใจมากกว่า ที่กำลังขยาย 56 เท่ากับกล้องดูดาวสะท้อนแสง 8 นิ้ว ผมมองเห็นเครื่องบินไอพ่นอยู่ใจกลางเอ็ม 34 ลำใหญ่ทีเดียว มีลำตัว ปีกยาวสองข้างและเครื่องยนต์สองตัว ล้อมรอบด้วยดาวสว่างโดยรอบ...

Messier 31 Andromeda Galaxy

Image
แกแลกซี่ที่อยู่ใกล้เรามากที่สุดและเป็นภาพสะท้อนของทางช้างเผือกเพราะเป็นดาราจักรแบบกังหันเหมือนกัน ในที่ไร้แสงรบกวนจากเมืองเราสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าปรากฎเป็นขีดจางบนท้องฟ้าในกลุ่มดาวแอนโดรมีด้า ชาร์ล แมสซายเออร์ได้สังเกตเห็นว่ามีสองตัวอยู่ใกล้กันและกำหนดหมายเลขเป็น 31และหมายเลข 32 เมื่อปี 1764 ในปี 1773 แมสซายเออร์ส่องกล้องไปที่ M31 อีกครั้งเพื่อเสก็ตรูป M31 กับ M32 ทำให้พบวัตถุใหม่ที่จางกว่าและหลุดรอดสายตาไปทางทิศเหนือของ M31 เลยระบุหมายเลขให้เป็น M110 และเป็นตัวสุดท้ายของแมสซายเออร์แคตตาลอค ผมเคยสังเกตุได้รายละเอียดมากที่สุดที่ภูสวนทราย ด้วยกล้องดูดาวขนาด 4 นิ้ว ถึงแม้ว่าความชื้นคืนนั้นจะสูงถึง96% แต่เห็นตัวแกแลกซี่ที่ใจกลางที่สว่างและป่อง มีแขนสองข้างยืดออกไปตามแนวทิศ NE-SW ปลายแขนสองข้างเหมือนจะแยกเป็นสองแฉก มีแถบสว่างเป็นทางยาวด้านทิศ SE อีกชั้น แกแลกซี่บริวาร M32 และ M110 ทั้ง 2 ตัวก็เห็นได้ไม่ยาก เพราะว่าเห็นได้ด้วยตาเปล่า M31 ได้รับการระบุว่าเป็น “Little cloud” ในหนังสือ “Book of fixed star” ที่ออกตอนปี คศ. 964 ของนักดาราศาสตร์ชาวเปอร์เซียชื่อ อับดุลเราะห์ม...

Messier 50

Image
ใกล้วันวาเลนไทน์  SiamSkies พาชมหัวใจดวงเล็กบนท้องฟ้า กระจุกดาวแมสซายเออร์ 50 ที่มีดาวเรียงเป็นรูปหัวใจในกลุ่มดาวม้ายูนิคอร์นหรือ Monoceros เป็นไปได้ว่าคนที่ค้นพบคนแรกคือ G.D. Cassini ก่อนปี 1711 จากคำอธิบาย “Nebula in the area between Canis Major and Canis Minor” ชาร์ล แมสซายเออร์ พบอีกครั้งขณะกำลังหาดาวหาง เอ็ม 50 เป็นกระจุกดาวที่มีความหนาแน่นปานกลาง มีดาวในกระจุกเรียงเป็นรูปหัวใจซึ่งเหมาะกับเดือนกุมภาพันธ์เดือนแห่งความรักพอดี ขนาดของหัวใจประมาณ 20’x15’ จะดูให้สวยก็ต้องใช้กำลังขยายต่ำถึงกลาง ในภาพเสก็ตผมใช้เลนส์ตา Stratus 17 มม คู่กับกล้องดูดาว 8” f5 ได้กำลังขยายที่ 56 เท่า มุมมองหรือ Feild of View 1° 13’ คืนนั้นฟ้าไม่ดี ขุ่นขาวรอบด้าน แต่ก็ยังมองเห็นดาวในกระจุกราว 30ดวง ผมมองเห็นดาวดวงหนึ่งทางทิศใต้ของกระจุกที่มีสีแดง ทำให้เด่นขึ้นมาจากดาวดวงอื่นที่มีสี ฟ้า-ขาว ดาวดวงนี้มีนักดูดาวบันทึกกันไว้หลายคน แต่สตีเฟ่น โอเมร่าเขียนไว้ในหนังสือ The Messier Object ว่าเขามองไม่เห็น อาจเป็นเพราะกล้องดูดาว 4 นิ้วที่เขาใช้ขนาดเล็กไปก็เป็นไปได้ คงต้องยืนยันด้วยกล้องดูดาวขนาดเดียวกันขอ...

Messier4 Cat’s Eye Cluster

Image
ในฤดูฝนหากเทวดาเป็นใจ ท้องฟ้าทางทิศใต้จะเต็มไปด้วยดาวสว่างเกลื่อนฟ้า เป็นเวลาที่เรามองเข้าไปยังใจกลางทางช้างเผือก นอกจากดาวแล้วยังเต็มไปด้วย เนบูล่า กระจุกดาว อีกจำนวนมาก กลุ่มดาวแมงป่องหรือกลุ่มดาวประจำราศีพิจิกเป็นกลุ่มดาวที่สังเกตง่าย เพราะการเรียงคล้ายตัวแมงป่องหรือเบ็ดตกปลา มีดาวสว่างที่สุดสีออกแดงอยู่ตรงกลาง ดาวดวงนี้มีชื่อไทยว่า “ปาริชาติ” หรือ Antares เป็นตัวอย่างของดาวยักษ์แดงที่อยู่ในช่วงบั้นปลายชีวิต จากดาวปาริชาติราว 1 องศาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เมื่อดูด้วยกล้องสองตาจะมีฝ้าจางเป็นรูปทรงกลมอยู่ในฟิลด์เดียวกัน และหากดูผ่านกล้องดูดาวที่กำลังขยายที่เหมาะสม ที่เป็นฝ้าฟุ้งนั้นคือเม็ดดาวจางและเล็กเกาะรวมกันแน่นจนมองคล้ายเป็นลูกบอล นี่ก็คือสิ่งที่นักดาราศาสตร์เรียกว่ากระจุกดาวทรงกลมหรือ Globular Cluster กระจุกดาวทรงกลมเป็นกลุ่มของดาวฤกษ์ที่เกาะกันอย่างหนาแน่น จะมีดาวแน่นมากบริเวณใจกลางและจะเบาบางออกไปด้านนอก แต่ละกระจุกมีสมาชิกราว 1,000 - 1,000,000 ดวง โดนยึดกันไว้ด้วยแรงโน้มถ่วงที่สูงมาก กระจุกดาวทรงกลมมีอายุเก่าแก่ บางตัวอายุมากกว่าทางช้างเผือก เกือบทั้งหมดจะโคจรอย...

รู้จักกับ Surface Brightness

Image
ดาวหาง 46P/Wirtanen โดยคุณตระกูลจิตร จิตตะไสยะพันธ์ ความสว่างของวัตถุบนฟ้าเป็นระบบโบราณ มีหน่วยเป็นแมกนิจูด เริ่มต้นโดยฮิพพาคัสเมื่อราว 2000 ปีก่อน โดยดาวที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้าจะมีค่าเท่ากับ 1 ตัวเลขที่มากขึ้นเช่น 2, 3, 4 หมายถึงดาวที่จางลง กรณีของดาวที่เป็นจุดของแสงก็จะตรงไปตรงมา วัดค่าได้ไม่มีปัญหา แต่วัตถุคล้ายเมฆหมอกแบบเนบูล่า กาแลกซี่หรือดาวหางจะวัดแบบไหน เพราะเป็นพื้นที่สว่างมีขนาดไม่แน่นอน นักดาราศาสตร์แก้ปัญหาโดยการรวมพื้นที่ความสว่างทั้งหมดแล้วคำนวณออกมาเป็นตัวเลข หากเราเทียบระหว่างกาแลกซี่กับดาวฤกษ์ที่สว่าง 8 แมกนิจูดเท่ากัน กาแลกซี่จะจางกว่ามากเพราะมีพื้นที่ขนาดใหญ่กว่าในขณะที่ดาวฤกษ์เป็นแค่จุดแสง ในทางปฎิบัตินักดูดาวสมัครเล่นสามารถประมาณค่าความสว่างของดาวหางหรือเนบูล่าได้หลายวิธี วิธีที่ง่ายและผมใช้ประจำก็คือจำความสว่างของดาวหาง แล้วปรับโฟกัสดาวฤกษ์ที่ใช้เปรียบเทียบให้เบลอ ให้ปรับจนดาวเปรียบเทียบมีขนาดเท่ากับดาวหาง หากดาวเปรียบเทียบจางกว่าแปลว่าดาวหางสว่างกว่าดาวดวงนั้น เราจะไล่ดาวเปรียบเทียบไปทีละดวง จนเจอที่สว่างเท่ากัน แปลว่าดวงหางสว่างเท่ากับดาวดวงนั้...

Cassiopeia, The Queen

Image
ภาพแคสสิโอเปียที่ปรากฎในแผนที่ดาว  Urania's Mirror   ราชินีแคสสิโอเปียแห่งอาณาจักรเอธิโอเปีย ถ้าไม่จองหองและโอ้อวดว่านางสวยกว่าพี่น้องเนเรอิดส์ทั้ง 50 ตนที่เป็นนิมฟ์แห่งท้องทะเล ชาวเมืองเอธิโอเปียคงไม่เดือนร้อนจนต้องให้แอนดรอเมด้าสละชีวิตเป็นเครื่องสังเวยสัตว์ประหลาด “ซีตัส” ที่โพเซดอนส่งมาลงโทษที่นาง โชคดีที่เพอร์เซอุสผ่านมาช่วยแอนโดรเมด้าไว้ได้และขอนางแต่งงาน ในงานอภิเษกสมรสระหว่างแอนโดรมีด้าและเพอร์เซอุสนั้น ฟิเนอุสผู้เป็นน้องของราชาเซฟิอุสมาทวงสัญญาที่เคยรับปากว่าจะยกนางให้แก่ตนมาก่อน เพอร์เซอุสคัดค้าน ทั้งสองฝ่ายประชันหน้ากันในงานเลี้ยง แต่ฟิเนอุสอาศัยกำลังทหารที่มีมากกว่า  เพอร์เซอุสต้องอาศัยอำนาจเมดูซ่าทำให้ ฟิเนอุสและกองทหารกลายเป็นรูปปั้นหินไปสิ้น Perseus turns Phineus and his followers to stone (Luca Giordano, 17th century) เพอร์เซอุสใช้หัวของเมดูซ่าทำให้เซฟิอุสกับกองทหารกลายเป็นหิน ส่วนพี่น้องเนเรอิดส์เป็นเทพธิดาแห่งท้องทะเลหรือ Sea Nymphs เป็นลูกสาวของเนเรอัสหรือผู้เฒ่าแห่งท้องทะเล (Old Man of the Sea ในโอดิสซี่) โพเซดอนได้ลงโทษแคสสิโอ...

NGC 253 Sculptor Galaxy

Image
ตามปกติเวลาดูกาแลกซี่ด้วยกล้องดูดาวเราจะเห็นแต่ส่วนใจกลางที่สว่างที่สุด แต่สำหรับ NGC 253 ผมประหลาดใจที่เห็นทั้งใจกลางและพื้นที่โดยรอบเกือบทั้งตัว บริเวณใจกลางเป็นก้อนสว่างไม่มีจุดแสงตรงกลางอย่างเอ็ม104 จากนั้นแสงสว่างค่อยๆจางลงตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก เหมือนใครเอาชอร์คมาขีดไว้บนท้องฟ้า มีขนาดใหญ่พอควรยาวประมาณครึ่งองศา เท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางของพระจันทร์เต็มดวง หากดูด้วยกล้องดูดาวที่ขนาดใหญ่กว่าสิบนิ้วขึ้นไปจะเห็นรายละเอียดและขอบเขตรูปร่างได้ดีมากขึ้น ภาพเสก็ตจากกล้องสะท้อนแสงขนาดใหญ่ แสดงให้เห็นแถบฝุ่นและโครงสร้างชัดเจน NGC253 มีชื่อเรียกว่า Sculptor Galaxy หรืออีกชื่อก็คือ Silver Coin เป็นกาแลกซี่ที่สว่างที่สุดในกลุ่มกาแลกซี่ Sculptor อยู่ห่างออกไปไกลมากราว 11 ล้านปีแสง ตำแหน่งของ NGC 253 อยู่ในกลุ่มดาว Sculptor หรือช่างแกะสลักทางทิศใต้ ท้องฟ้าบริเวณนี้ไม่มีกลุ่มดาวสว่างที่มองเห็นได้ชัดเจน มีแต่ดาวสว่างแมกนิจูดที่ 2 ในกลุ่มดาวซีตัส ที่ชื่อ Diphda หรือ Deneb Kaitos เป็นจุดสังเกตุ NGC253 จะอยู่ห่างออกไปประมาณ 7 องศาทางทิศใต้ของดาวดวงนี้ เนื่องจากกล้องสองตาของ...

σ Orionis & Struve761

Image
หากไม่นับดาวแคระแดงที่หรี่ เล็กและจางจนยากจะดูด้วยอุปกรณ์ระดับสมัครเล่นทั่วไป ดาวที่เห็นเกลื่อนฟ้าส่วนมากไม่ใช่ดาวฤกษ์ที่โดดเดี่ยวแบบดวงอาทิตย์ของเรา แต่เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่กันเป็นคู่ที่เรียกว่า Double Star และที่มากกว่าสามดวงขึ้นไปเรียกว่าระบบดาวหลายดวงหรือ Multiple Star ซิกมาโอไรออนนิส (σ Ori) เป็นดาวแมกนิจูด 4 มองเห็นด้วยตาเปล่าจากชานเมือง อยู่ใต้ดาวอัลนิทัคหรือเข็มขัดนายพรานดวงทางฝั่งตะวันออก ดาวดวงนี้เป็นระบบที่มีดาวฤกษ์ 5 ดวงโคจรอยู่ด้วยกัน การดู σ Ori ด้วยกล้องดูดาวจะได้โบนัสแถมมาอีกตัวคือ Struve 761 เป็นอีกระบบหนึ่งที่อยู่ใกล้กันมากห่างแค่ 3 อาร์คมินิทหรือราว 0.05 องศาเท่านั้นเอง เมื่อกลางมกราคมที่ผ่านมาที่บ้านหมี่ ยังมองเห็น σ Orionis ด้วยตาเปล่าแม้ดวงจันทร์เกือบครึ่งดวงยังค้างฟ้า σ Ori แยกออกจากกันเป็น 3 ดวงได้ที่กำลังขยาย 33 เท่าบนกล้องดูดาวของผม ห่างออกไปนิดเดียวในฟิลด์ภาพเดียวกัน ระบบดาว Struve761 มี 3 ดวง ทั้งหมดจางกว่า σ Ori โชว์ตัวให้เห็นเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลม ผมค่อยไล่กำลังขยายขึ้นไปจนถึง 267 เท่า ทั้ง σ Ori และ STF 761 มีดาวเพิ่มขึ้นมาตัวละ 1 ดวงจางและบา...

Andromeda

Image
[ต่อจาก เพอร์เซอุส ] ในขณะที่เพอร์เซอุสกำลังปกป้องดาเน่แม่ของตัวเองจากราชาโพลีเดกเทส ไกลออกมาที่อาณาจักรเอธิโอเปียราชินีแคสสิโอเปียกำลังสางผมอยู่แล้วกล่าวโอ้อวดว่าตัวเธอนั้นงามนัก งามยิ่งกว่าเหล่าซีนิมฟ์ ”เนเรอิดส์” เสียอีก คำพูดของแคสสิโอเปียทำให้เนเรอิดส์ทั้ง 50 ตนไม่พอใจอย่างยิ่ง เพราะถือกันว่าเหล่านิมฟ์มีความงามเป็นอันดับหนึ่ง แอมฟิไทด์หนึ่งในพี่น้องเนเรอิสด์และเป็นชายาของโพเซดอนเจ้าแห่งท้องทะเลได้ทูลขอให้โพเซดอนลงโทษแคสสิโอเปียผู้จองหองและโอ้อวดเกินตัว โพเซดอนลงโทษแคสสิโอเปียตามคำขอโดยส่ง “ซีตัส” สัตว์ประหลาดลูกผสมที่มีคำอธิบายว่า มีหัวและฟันมหึมา มีขาหน้าเหมือนสัตว์บก ช่วงล่างลำตัวมีเกล็ดและขดม้วนไปมาเหมือนงูทะเล ซีตัสอาละวาดทำเลายบ้านเมืองตามชายฝั่งของอาณาจักรจนเกือบหมดสิ้น A ndromeda and Perseus, Pierre Mignard -1679 กษัตริย์เซฟิอุสกับราชินีแคสสิโอเปียกำลังขอบคุณเพอร์ซิอุสที่ปลดปล่อยแอนดรอมีด้า ด้วยการสังหารซีตัสสตว์ประหลาดจากท้องทะเล  ภาพนี้มีกลุ่มดาวถึง 6 กลุ่ม [ Cr:wikimedia ] ปุโรหิตให้คำแนะนำแก่ราชาเซฟิอุสผู้ครองอาณาจักรว่า หายนะครั้งนี้แก้ไขได้ด้ว...